- จับตาตัวเลขเศรษฐกิจ โดยวันนี้ญี่ปุ่นมีกำหนดประกาศดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน ซึ่งคาดว่าจะติดลบ 9.1%(MoM) โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องเดือนที่ 2 และเป็นการหดตัวแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 สืบเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ที่สร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ส่วนฝั่งยุโรปก็จะมีการประกาศดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป ซึ่งคาดว่าจะติดลบ 20%(MoM) หดตัวแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ สืบเนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงที่ผ่านมา
- สตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์ว่า การล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 2 ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เพราะจะสร้างผลเสียในทุกๆ ด้านต่อชาวอเมริกันมากกว่าผลดี โดยก่อนหน้านี้เขาแย้มว่า จะผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม แต่ยังไม่ระบุแน่ชัดว่าจะมาในรูปแบบใด
- วานนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกประจำสัปดาห์ ออกมาที่ 1.542 ล้านตำแหน่ง ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 1.550 ล้านตำแหน่ง หลังรัฐบาลคลายมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่อง ส่วนภาคการบริการก็เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวของการจ้างงาน
- Regeneron บริษัทยาในสหรัฐฯ แถลงว่า จะเริ่มทดลองยารักษาโรคโควิด-19 ในมนุษย์เร็วๆ นี้ โดยยาดังกล่าวเป็นการนำแอนติบอดี 2 ชนิดเข้ามารวมกันซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าสู่ร่างกาย ต่างจากยาต้านไวรัสทั่วไปที่ใช้จัดการกับไวรัสภายหลังเชื้อได้เข้าสู่ร่างกายแล้ว แต่อาจต้องได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากทดลองสำเร็จ ก็อาจมีการนำมาใช้เป็นกรณีพิเศษได้ภายในปลายปีนี้
- Starbucks เผย อาจปิดร้าน 400 สาขาในสหรัฐฯ ตอบรับ New Normal หลังการระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้เชนร้านกาแฟดังดังกล่าวยังประกาศแผนชะลอการเปิดสาขาเพิ่มในปีนี้จากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 600 แห่ง เหลือ 300 แห่ง โดยสาขาใหม่ที่เปิดจะมุ่งเน้นไปที่บริการซื้อกลับ เช่น บริการ Drive-Thru การจอดรถรอหน้าร้านและมีพนักงานบริการนำสินค้าไปส่ง รวมถึงการสั่งซื้อออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ด้าน เควิน จอห์นสัน ซีอีโอ Starbucks กล่าวเพิ่มเติมว่า การระบาดของไวรัส เป็นการเร่งให้บริษัทเปิดร้านแบบซื้อกลับมากขึ้น อีกทั้งยังมีการคาดการณ์เพิ่มเติมว่า รายได้ในไตรมาส 3 ของ Starbucks อาจลดลงเหลือ 3,000-3,200 ล้านดอลลาร์จากผลของโรคระบาด
ภาวะตลาดวานนี้
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง หลังจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในสหรัฐฯ พุ่งทะลุ 2 ล้านราย ประกอบกับแรงกดดันจากถ้อยแถลงของ Fed ที่ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้เป็น -6.5% ซึ่งสร้างความกังวลให้นักลงทุนเทขายหุ้นที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปก็ปรับตัวลงเช่นกันจากความกังวลว่าอาจเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ครั้งใหญ่อีกรอบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากที่ก่อนหน้านี้เศรษฐกิจหดตัวมานาน ทำให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมา
- สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวลงจากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่ออุปสงค์น้ำมันที่ลดลง รวมไปถึงสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่ออกมาเพิ่มขึ้นสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะน้ำมันล้นตลาดได้ ด้านสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นจากความกังวลที่เศรษฐกิจอาจชะลอตัวไปอีกระยะ สร้างความกังวลให้นักลงทุนกลับเข้ามาซื้อทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
สหรัฐฯ
- Dow Jones อยู่ที่ 25128.17 ลดลง -1861.82 (-6.9%)
- S&P 500 อยู่ที่ 3002.1 ลดลง -188.04 (-5.89%)
- Nasdaq อยู่ที่ 9492.73 ลดลง -527.62 (-5.27%)
ยุโรป
- DAX อยู่ที่ 11970.29 ลดลง -559.87 (-4.47%)
- FTSE 100 อยู่ที่ 6076.7 ลดลง -252.43 (-3.99%)
- Euro Stoxx 50 อยู่ที่ 3144.57 ลดลง -149.14 (-4.53%)
- FTSE MIB อยู่ที่ 18806.86 ลดลง -951.15 (-4.81%)
เอเชีย
- Nikkei 225 อยู่ที่ 22472.91 ลดลง -652.04 (-2.82%)
- S&P/ASX 200 อยู่ที่ 5960.6 ลดลง -187.8 (-3.05%)
- Shanghai อยู่ที่ 2920.21 ลดลง -0.68 (-0.02%)
- SZSE Component อยู่ที่ 11243.62 ลดลง -92.25 (-0.81%)
- China A50 อยู่ที่ 13670 ลดลง -209.69 (-1.51%)
- Hang Seng อยู่ที่ 24480.15 ลดลง -569.58 (-2.27%)
- Taiwan Weighted อยู่ที่ 11535.77 ลดลง -184.39 (-1.57%)
- SET อยู่ที่ 1396.77 ลดลง -22 (-1.55%)
- KOSPI อยู่ที่ 2176.78 ลดลง -18.91 (-0.86%)
- IDX Composite อยู่ที่ 4854.75 ลดลง -65.93 (-1.34%)
- BSE Sensex อยู่ที่ 33538.37 ลดลง -708.68 (-2.07%)
- PSEi Composite อยู่ที่ 6476.24 เพิ่มขึ้น 36.87 (0.57%)
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 35.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง -2.97 (-7.69%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 38.33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง -3.04 (-7.35%)
- ราคาทองคำ อยู่ที่ 1726.77 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง -8.89 (-0.51%)
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
- Reuters