- จับตาแถลงการณ์จากประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) หลังเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0% พร้อมทั้งเลื่อนกำหนดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากเดิมกลางปีนี้ออกไปเป็นกลางปี 2020 แทน และปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้น พร้อมกับปรับประมาณการเงินเฟ้อลง 0.1% โดยในวันนี้ มาริโอ ดรากี ประธาน ECB มีกำหนดแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งเกี่ยวกับนโยบายการเงิน รวมไปถึงเหตุผลของการตัดสินใจด้านอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
- เวียดนามดึงดูดเงินนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่อง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ผ่อนคลายกฎระเบียบเรื่องสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทจดทะเบียน และลดสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทจดทะเบียนบางกลุ่มของภาครัฐ ล่าสุดวันนี้ได้เดินหน้าออกใบสําคัญแสดงสิทธิ์อนุพันธ์ (Covered Warrant) 6 บริษัทใหญ่เพื่อเสริมสภาพคล่องในตลาดหลักทรัพย์ คาดหวังการเข้าเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในดัชนี MSCI ซึ่งจะส่งเสริมเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศในอนาคต
- มาคาน เดลราฮิม ผู้ช่วยอัยการสูงสุด ให้ความเห็นถึงกรณีข้อกล่าวหาละเมิดกฎหมายผูกขาดต่อ 4 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Facebook, Apple, Google และ Amazon ว่า ควรใช้กรณี AT&T และ Microsoft เป็นกรณีศึกษา ว่ารัฐบาลนั้นประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการผูกขาดของบริษัทที่นำเสนอสิ่งใหม่ๆ มาก่อน ซึ่งจะช่วยเป็นแนวทางในการพิจารณา 4 ข้อกล่าวหาปัจจุบันได้ และจะทำให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้นและนำไปสู่เทคโนโลยีที่ดีกว่า และถูกกว่าได้ในอนาคต
- British Insurer Legal & General บริษัททางการเงินจากสหราชอาณาจักร จับมือ Amazon ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนจัดการระบบบำเหน็จบำนาญของบริษัทที่อยู่ภายใต้การดูแล โดยระบุว่าบล็อกเชนมีความเหมาะสมในการใช้กับธุรกิจที่มีการจ่ายเงินเป็นรายงวด และกินระยะเวลานานอย่างบำเหน็จบำนาญของบริษัท เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลทุกธุรกรรมอย่างละเอียด และสามารถดำรงอยู่ได้ไปอีกกว่า 50 ปี
- จับตาประกาศอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ซึ่งเป็น 1 ในเกณฑ์การประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ทรงตัวอยู่ระดับเหนือกว่า 2% ถึง 13 เดือนต่อเนื่อง ในครั้งนี้นักวิเคราะห์คาดว่ารัฐบาลจะประกาศออกมาที่ระดับ 2.1% (YoY) เท่ากับเดือนเมษายน และขยายตัว 0.1% (MoM) ลดลงจากเดือนเมษายนที่ 0.3% ซึ่งจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันการลดอัตราดอกเบี้ยมากยิ่งขึ้น หลังจากที่นักลงทุน 83% คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมที่จะมาถึง
สภาวะตลาดวานนี้
- ทรัมป์ทวีตข้อความกดดันธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ว่า สหรัฐฯ มีความเสียเปรียบเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ขณะอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงเกินไป แต่ Fed กลับไม่แสดงท่าทีรับรู้ พร้อมทั้งแสดงความเห็นผ่านสื่อ CNBC ว่า สกุลเงินสหรัฐฯ ควรที่จะแข็งค่าได้อย่างเต็มที่ แต่นโยบายของ Fed กลับเป็นตัวขัดขวาง แต่ถึงกระนั้นสหรัฐฯ กำลังได้เปรียบจากการเก็บภาษี ถือเป็นการออกมากดดัน Fed ก่อนที่จะมีการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 18-19 มิถุนายนนี้
- สหรัฐฯ ประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งเป็นไปตามคาด แต่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 0.2%
- อังกฤษประกาศตัวเลขรายได้เฉลี่ย (รวมโบนัส) เดือนเมษายน ขยายตัว 3.1% สูงกว่าที่คาดไว้ที่ระดับ 2.9% แต่เป็นแนวโน้มที่ชะลอตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ที่ขยายตัว 3.5% เรามองว่าเป็นการชะลอตัวตามรอบวัฏจักรของทุกปี ซึ่งจะกลับไปขยายตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาส 3-4 ในส่วนอัตราการว่างงานในอังกฤษยังอยู่ในระดับต่ำสุดที่ระดับ 3.8% นับตั้งแต่ปี 1975 แม้สถานการณ์ Brexit ยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่การขยายตัวในตลาดแรงงานยังคงเติบโตได้ดี
ยุโรป
- STOXX600 ปิดที่ 380.90 เพิ่มขึ้น 2.62 (+0.69%)
- DAX ปิดที่ 12,157.72 เพิ่มขึ้น 112.34 (+0.93%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7,396.75 เพิ่มขึ้น 21.21 (+0.29%)
- FTSE MIB ปิดที่ 20,613.50 เพิ่มขึ้น 128.51 (+0.63%)
เอเชีย
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6,546.30 เพิ่มขึ้น 102.4 (+1.59%)
- Shanghai ปิดที่ 2,925.72 เพิ่มขึ้น 73.59 (+2.58)
- Hang Seng ปิดที่ 27,789.34 เพิ่มขึ้น 210.70 (+0.76)
- KOSPI ปิดที่ 2,111.81 เพิ่มขึ้น 12.32 (+0.59%)
- BSE Sensex ปิดที่ 39,950.46 เพิ่มขึ้น 165.94 (+0.42%)
- Nikkei ปิดที่ 21,204.28 เพิ่มขึ้น 69.86 (+0.33%)
- SET ปิดที่ 1,670.41 เพิ่มขึ้น 5.68 (+0.34%)
อเมริกา
- DOW30 ปิดที่ 26,048.51 ลดลง 14.17 (-0.05%)
- S&P500 ปิดที่ 2,885.88 ลดลง 0.85 (-0.03%)
- NASDAQ ปิดที่ 7,822.57 ลดลง 0.60 (-0.01%)
Commodities
- ราคาน้ำมัน WTI ปิดที่ 52.82 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 0.44 (-0.83%)
- ราคาน้ำมัน BRENT ปิดที่ 62.08 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 0.21 (-0.34%)
- ราคาทองคำ COMEX ปิดที่ 1,331.55 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 6.85 (+0.52%)
ติดตามข่าวสารการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่ finno.me/dailyupdate
อ้างอิง: Infoquest, Bloomberg, Investing
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า