- ซีอีโอ JP Morgan ชี้โควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจถดถอยรุนแรง ซึ่งทางธนาคารอาจจะต้องพิจารณางดจ่ายเงินปันผล หากเกิดกรณีที่ GDP สหรัฐฯ ลดลงอย่างหนัก (ที่ 35%) ในไตรมาสที่ 2 และอยู่ในระดับดังกล่าวจนถึงสิ้นปี
- วานนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงข่าวถึงมาตรการช่วยเหลือ SME ในประเทศเพิ่มเติม หวังช่วยสร้างเสถียรภาพทางการเงิน เสริมสภาพคล่อง ลดโอกาสการเกิดการผิดนัดชำระหนี้ ประกอบไปด้วย มาตรการที่ 1: เลื่อนกำหนดชำระหนี้สำหรับธุรกิจ SME วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง, มาตรการที่ 2: ออกสินเชื่อใหม่ (Soft Loan) ให้กับธุรกิจ SME วงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 และไม่คิดดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก, มาตรการที่ 3: จัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องตราสารหนี้ภาคเอกชน และมาตรการที่ 4: ปรับลดอัตราการนำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (สถาบันการเงิน) เพื่อลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้
- ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น อนุมัติงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่โดยมีวงเงินเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการอนุมัติงบประมาณที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยงบในส่วนนี้ครอบคลุมถึงมาตรการทางการคลังราว 39 ล้านล้านเยน นอกจากนี้ยังมีการปรับลดภาษีและค่าใช้จ่ายประกันสังคมเพิ่มด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วงบประมาณในส่วนนี้มีขนาดมากถึง 20% ของ GDP
- ไมเคิล เบอร์รี นักลงทุนชื่อดังที่เคยทำนายวิกฤตการเงินปี 2008 อย่างแม่นยำออกมาเตือนว่า การปิดเมืองหรือล็อกดาวน์ในเมืองและประเทศต่างๆ นั้นสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจมากกว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เสียอีก เนื่องจากเป็นการทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลง โดยสิ่งที่แนะนำคือการทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงยารักษาได้ง่าย ในราคาที่ถูก กักตัวเฉพาะเด็กหรือผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ไปพร้อมๆ กับการปูพรมตรวจหาโรคทั่วโลก ขณะที่ประชาชนทั่วไปควรกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติ แต่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นด้วยการล้างมืออย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวอีกครั้ง ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในระดับที่ต่ำประมาณ 0.2% เท่านั้น
- โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวระหว่างแถลงข่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า สหรัฐฯ เตรียมระงับเงินสนับสนุนจำนวน 58 ล้านดอลลาร์ให้กับองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยให้เหตุผลว่า WHO ดำเนินการผิดพลาดหลายอย่าง จนเป็นเหตุให้สถานการณ์การแพร่กระจายของไวรัสในสหรัฐฯ รุนแรงมากกว่าที่ควรจะเป็น
ภาวะตลาดวานนี้
- ตลาดหุ้นทั่วโลกยังอยู่ในความผันผวนระดับที่สูง โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ เปิดทำการด้วยการปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังเกี่ยวกับจำนวนที่ลดลงของผู้ติดเชื้อ ก่อนที่จะปรับตัวลงในช่วงท้ายตลาดจากแรงเทขายทำกำไร ประกอบกับความกังวลกรณีราคาน้ำมันปรับตัวลงกว่า 9% สืบเนื่องจากการปรับลดคาดการณ์ความต้องการบริโภคน้ำมันของ EIA ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปและเอเชียสามารถยืนอยู่ในแดนบวกได้จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมันในช่วงก่อนตลาดปิดและขานรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ
- ด้านราคาทองคำยังคงทรงตัวอยู่ในระดับ 1,650 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ Dollar Index ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 100 จุด จากการเข้าซื้อในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยของนักลงทุน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันในตลาดโลก
สหรัฐฯ
- Dow 30 อยู่ที่ 22653.86 ลดลง -26.13 (-0.12%)
- S&P 500 อยู่ที่ 2659.41 ลดลง -4.27 (-0.16%)
- Nasdaq อยู่ที่ 7887.26 ลดลง -25.98 (-0.33%)
ยุโรป
- DAX อยู่ที่ 10356.7 เพิ่มขึ้น 281.53 (2.79%)
- FTSE 100 อยู่ที่ 5704.25 เพิ่มขึ้น 162.15 (2.93%)
- Euro Stoxx 50 อยู่ที่ 2857.67 เพิ่มขึ้น 61.7 (2.21%)
- FTSE MIB อยู่ที่ 17411.72 เพิ่มขึ้น 372.41 (2.19%)
เอเชีย
- Nikkei 225 อยู่ที่ 18950.18 เพิ่มขึ้น 373.88 (2.01%)
- S&P/ASX 200 อยู่ที่ 5252.3 ลดลง -34.5 (-0.65%)
- Shanghai อยู่ที่ 2820.76 เพิ่มขึ้น 56.78 (2.05%)
- SZSE Component อยู่ที่ 10428.91 เพิ่มขึ้น 318.8 (3.15%)
- China A50 อยู่ที่ 12928.52 เพิ่มขึ้น 230.4 (1.81%)
- Hang Seng อยู่ที่ 24253.29 เพิ่มขึ้น 504.17 (2.12%)
- Taiwan Weighted อยู่ที่ 9996.39 เพิ่มขึ้น 177.65 (1.81%)
- SET อยู่ที่ 1214.95 เพิ่มขึ้น 76.11 (6.68%)
- KOSPI อยู่ที่ 1823.6 เพิ่มขึ้น 31.72 (1.77%)
- IDX Composite อยู่ที่ 4778.64 ลดลง -33.19 (-0.69%)
- BSE Sensex อยู่ที่ 30067.21 เพิ่มขึ้น 2476.26 (8.97%)
- PSEi Composite อยู่ที่ 5650.01 เพิ่มขึ้น 79.2 (1.42%)
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 24.64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง -2.34 (-8.67%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 32.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง -0.92 (-2.77%)
- ราคาทองคำ อยู่ที่ 1648.84 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง -13.79 (-0.83%)
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
- Reuters