×

หาก Fed เลื่อนการหั่นดอกเบี้ยออกไปเรื่อยๆ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ

28.04.2024
  • LOADING...

ในสัปดาห์หน้านี้ (30 เมษายน – 1 พฤษภาคม) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) จะมีการประชุมกันเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ข้อมูลเงินเฟ้อ PCE ซึ่ง Fed ให้ความสำคัญกลับเร่งตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความคาดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ริบหรี่ลงไปเรื่อยๆ

 

โดยปัจจุบันตลาดเอนไปทางคาดว่า Fed จะเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุม FOMC ในเดือนพฤศจิกายนนี้ นับว่าแตกต่างจากการคาดการณ์เมื่อช่วงต้นปีอย่างมาก (โดยตอนนั้นตลาดต่างเดิมพันว่า Fed จะลดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึง 6 ครั้งในปีนี้)

 

Higher for Longer กระทบเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไร

 

สำหรับผลกระทบในประเทศ หาก Fed ปรับดอกเบี้ยสูงขึ้นนานขึ้น (Higher for Longer) ก็ย่อมส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมในทุกช่วงอัตรา

 

โดยจากการส่งสัญญาณของเจอโรม พาวเวลล์ ประธาน Fed เมื่อกลางเดือน แสดงให้เห็นว่า Fed อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับปัจจุบัน (5.25-5.5%) ต่อไป 

 

หมายความว่าดอกเบี้ยสินเชื่อต่างๆ เช่น บ้านและรถยนต์ จะยังคงสูงกว่าที่เคยเป็นในช่วงก่อนที่ Fed จะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 ต่อไป โดยอัตราดอกเบี้ยกู้บ้านโดยเฉลี่ยในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นเกิน 7% ในสัปดาห์นี้เป็นครั้งแรกในปีนี้ ซึ่งต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นได้ขัดขวางโมเมนตัมตลาดที่อยู่อาศัย เนื่องจากผู้ซื้อยังรอจนกว่าต้นทุนทางการเงินจะลดลง

 

ดอกเบี้ย Fed กระทบส่วนอื่นๆ ของโลกอย่างไร?

 

สำหรับผู้กำหนดนโยบาย หรือธนาคารกลาง หากเดินหน้าลดดอกเบี้ยก็เสี่ยงที่จะกดดันค่าเงินของตนให้อ่อนลง ทำให้ราคานำเข้าสูงขึ้น และอาจบ่อนทำลายความคืบหน้าในการลดอัตราเงินเฟ้อที่ผ่านมา แต่การไม่ลดดอกเบี้ยก็อาจเสี่ยงต่อการสูญเสียการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

ในส่วนของ ECB กำลังวางแผนปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมเดือนมิถุนายน ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ BOE มีแนวโน้มที่จะใช้เวลานานขึ้น

 

ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg ระบุว่า ตั้งแต่ปีจนถึงเดือนเมษายน กองทุนต่างประเทศขายหุ้นตลาดเกิดใหม่เอเชีย (ไม่รวมจีน) มูลค่ากว่า 7 พันล้านดอลลาร์แล้ว ท่ามกลางการอ่อนค่าของสกุลเงินเอเชียและราคาพันธบัตรที่มีแนวโน้มแย่ลง

 

เนื่องจากการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไป ในระยะยาวหมายความว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะยังคงมีความน่าดึงดูดเหนือคู่ค้าต่างประเทศ

 

โดยล่าสุดจะเห็นว่าธนาคารอินโดนีเซียต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากค่าเงินรูเปียห์อ่อนค่าหนักทะลุ 16,000 รูเปียห์ต่อดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X