รายงานการประชุม Fed เดือนกันยายน ระบุว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะคงอยู่ต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลง
รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประจำเดือนกันยายนที่ผ่านมา ระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป และอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะคงอยู่ต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลง หรือจนกว่า Fed เห็นสัญญาณว่าปัญหาเงินเฟ้อได้รับการแก้ไขแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เศรษฐกิจโลก กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มี 7 ปัจจัย ที่รอบนี้แตกต่างจากวิกฤตการเงินปี 2008
- เปิด 5 สัญญาณอันตรายเศรษฐกิจ บ่งชี้โลกเสี่ยงเผชิญภาวะถดถอย
- นักเศรษฐศาสตร์ฟันธง เงินเฟ้อ ทั่วโลกผ่านจุดพีค แต่จะไม่กลับไปต่ำเท่ากับช่วงก่อนโควิด
โดยระหว่างการประชุมเมื่อเดือนกันยายน ที่นำไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เจ้าหน้าที่ Fed ยังตั้งข้อสังเกตว่า อัตราเงินเฟ้อกำลังส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ต่ำ
“ผู้เข้าร่วมประชุมตัดสินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) จำเป็นต้องเคลื่อนไหวไปในทิศทางดังกล่าว และรักษาจุดยืนของนโยบายที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อบรรลุข้อบังคับทางกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจ้างงานสูงสุด และเสถียรภาพด้านราคา” รายงานสรุปการประชุมระบุไว้
รายงานการประชุมดังกล่าวระบุอีกว่า “ผู้เข้าร่วมหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงในปัจจุบัน เป็นเรื่องสำคัญในการปรับจังหวะของนโยบายการเงินที่เข้มงวดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบสำคัญต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจ”
ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพุธตามเวลาท้องถิ่น หลังการเผยแพร่รายงานการประชุมดังกล่าว เนื่องจากตลาดมองว่าเป็นสัญญาณว่า Fed สามารถลดการคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างรวดเร็วได้ หากความผันผวนของตลาดการเงินมากขึ้น
การประชุมดังกล่าวยังเกิดขึ้นก่อนกระแสข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าจะไม่สูงเท่าเมื่อต้นปีนี้ก็ตาม โดยดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภค (Consumer Price Expenditures) ซึ่ง Fed ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 6.2% จากปีที่แล้ว ขณะที่ดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 4.9% ในเดือนสิงหาคม ยังสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของ Fed
ขณะที่รายงานวันพุธที่ผ่านมา (14 ตุลาคม) แสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ก็เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกันยายน
“ผู้เข้าร่วมประชุมตั้งข้อสังเกตว่า อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงอย่างไม่อาจยอมรับได้ และสูงกว่าเป้าหมายระยะยาวของคณะกรรมการฯ ที่ 2%” รายงานระบุอีกว่า “ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความเห็นว่า ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเหนือความคาดหมาย และอัตราเงินเฟ้อก็ลดลงช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ด้วย”
FOMC ตั้งข้อสังเกตในการประชุมอีกว่า เศรษฐกิจจำเป็นต้องชะลอตัวเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเย็นลง พร้อมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง โดยคาดว่า GDP สหรัฐฯ จะเติบโตเพียง 0.2% ในปี 2022 และขยายตัวเพียง 1.2% ในปี 2023 ซึ่งต่ำกว่าแนวโน้มก่อนหน้านี้ และลดลงอย่างมากจากปี 2021 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 1984
อ้างอิง: