ช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาเป็นเวลาที่ตลาดหุ้นโลกและตลาด หุ้น ไทยผันผวนสูงต่อเนื่อง จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่รุมเร้าเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน, เงินเฟ้อ, ดอกเบี้ย, การระบาดระลอกใหม่ในประเทศจีน และการเผชิญความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession Risk) ในระยะ 12 เดือนข้างหน้าที่เพิ่มสูงขึ้น จนดัชนีตลาดหุ้นโลกอย่าง MSCI AC World Index ปรับลดลดแรงกว่า 13.5% ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2022 ทำให้การจับจังหวะการลงทุนทำได้ค่อนข้างยากและต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง นักลงทุนจำเป็นต้องรู้จักวิเคราะห์ผลตอบแทนของสินทรัพย์และแยกองค์ประกอบของผลตอบแทน เพื่อให้เห็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและผลตอบแทนว่ามาจากอะไรบ้าง และนำไปสู่การเลือกส่วนผสมและกลยุทธ์ที่เหมาะสม พร้อมบริหารความเสี่ยงการลงทุนได้ตามเป้าหมาย
Factor Investing จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการคัดเลือกหุ้นในเชิงปริมาณ เพราะมีการนำข้อมูลงบการเงินของทุกบริษัทที่อยู่ในขอบเขตการลงทุนมาพิจารณา แล้วจำแนกหุ้นออกเป็นหลากหลายสไตล์ เช่น กลุ่มหุ้นที่มีคุณภาพของสถานะทางการเงินที่ดี (Quality) อาจวัดจากกระแสเงินสดที่มาก หรือดูที่ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูง (ROE), กลุ่มหุ้นเน้นคุณค่า (Value) อาจวัดจาก Price to Book หรือ Price to Earning ที่ต่ำ, กลุ่มหุ้นที่มีผลตอบแทนที่ดี (Momentum), กลุ่มหุ้นเน้นการเติบโต (Growth) อาจวัดจากอัตราเติบโตของกำไรสุทธิ และกลุ่มหุ้นที่มีความผันผวนด้านราคาต่ำ (Low Volatility) วัดจากความผันผวนของราคาหุ้น ซึ่ง Factor แต่ละกลุ่มจะหมุนเวียนสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป
หลายคนคงเกิดคำถามว่า แล้วกลุ่มหุ้นแบบไหนที่เหมาะกับการลงทุนในสภาวะตลาดหมี หรือ Bear Market ที่กำลังเผชิญความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์และราคาหุ้นลดลงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ปริมาณการซื้อขายมีน้อย ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็เป็นไปในทิศทางลบ หากพิจารณาจากเครื่องมือ Factor Investing ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่น่าสนใจในการคัดสรรหุ้นกลุ่ม Quality ที่ยังมีปัจจัยพื้นฐานดี มีความเป็นผู้นำตลาด และสามารถสร้างผลกำไรที่เติบโตได้อย่างสม่ำเสมอเข้าพอร์ตลงทุน ขณะเดียวกัน นักลงทุนอาจลองมองหากองทุนหุ้นที่มีการบริหารแบบเชิงรับ หรือ Passive Fund ที่ใช้เครื่องมือวิเคราะห์คัดสรรหุ้นเข้าพอร์ต และนอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมบริหารจัดการที่ถูกลงอีกด้วย
โดย บลจ. มองว่า ปัจจุบันนี้มีนักลงทุนจำนวนมากที่พยายามค้นหากองทุนต่างประเทศที่คัดสรรหุ้นกลุ่ม Quality เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการคัดเลือกหุ้นที่ต้องใช้ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ตัดสินใจเข้ามาเกี่ยวข้อง ทาง บลจ. จึงออกกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Quality Equity (SCBGQUAL) ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดหุ้นโลก ด้วยโครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่ง จากสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ที่จะสามารถทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อสูงได้ดี และที่สำคัญ กอง SCBGQUAL เป็นการลงทุนแบบ Factor Investing ที่มีการคัดเลือกหุ้นด้วยระบบวิเคราะห์เชิงปริมาณที่เน้น 3 ปัจจัย คือ ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูง (ROE), ระดับหนี้ที่ต่ำ รวมถึงมีความผันผวนของกำไรบริษัทที่ต่ำ นอกจากนี้ กองทุนยังมีการบริหารแบบเชิงรับที่มีค่าธรรมเนียมที่ถูกลง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนได้ดี
โดยตัวกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ จึงเกิดเป็นวินัยในการเลือกกองทุนจาก Performance ของหุ้นเท่านั้น นักลงทุนจึงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดหุ้นโลก ซึ่งกองทุน SCBGQUAL จะลงทุนในกองทุน iShares Edge MSCI World Quality Factor UCITS ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว และบริหารโดย BlackRock Asset Management Ireland Limited
ทั้งนี้ ปัจจุบันตลาดหุ้นมีการปรับตัวลดลงมากว่า 13% จากความกังวลต่อเงินเฟ้อ ทิศทางอัตราดอกเบี้ย ภาวะสงคราม และโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทาง บลจ. มองว่านักลงทุนได้ซึมซับข่าวร้ายมาพอสมควรแล้ว และหากมองจากมูลค่าพื้นฐาน (P/E Ratio) ที่ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้หุ้นบางกลุ่มมีมูลค่าอยู่ในระดับที่เข้าทยอยเก็บสะสมเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มคุณภาพที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความเป็นผู้นำตลาด และสามารถสร้างผลกำไรที่เติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ