×

เทียบ F-16 vs. Gripen กองทัพอากาศไทยจะเลือกเครื่องบินขับไล่แบบไหนในฝูงบิน 102 และ 103

10.06.2024
  • LOADING...
กองทัพอากาศ F-16 และ Gripen รุ่นใหม่

กองทัพอากาศกำลังตัดสินใจเลือกแบบเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-16 Block 15 ในฝูงบิน 102 และ 103 ที่ใช้งานมาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว โดยโครงการแบ่งเป็นสามระยะเพื่อจัดหาเครื่องบิน 12 ลำ มูลค่ารวมเกือบ 60,000 ล้านบาท ครั้งนี้มีตัวเลือกคือ F-16 Block 70 รุ่นใหม่ล่าสุดที่ผลิตโดยบริษัท Lockheed Martin (สหรัฐอเมริกา) และ Gripen E/F รุ่นใหม่ที่ผลิตโดยบริษัท Saab AB (สวีเดน)

 

INFO

 

เครื่องบินทั้งสองแบบมีสมรรถนะไล่เลี่ยกัน และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป รวมถึงประเทศผู้ผลิตที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสวีเดนต่างเป็นประเทศในกลุ่ม NATO ซึ่งประเทศไทยก็ใช้งานระบบอาวุธและหลักนิยมในการรบของกลุ่มประเทศ NATO เช่นกัน แม้ว่าจะมีผู้ผลิตรายอื่นพยายามนำเสนอเครื่องบินเพื่อให้กองทัพอากาศพิจารณา แต่ก็ยังมีข้อจำกัดมากกว่าเครื่องบินทั้งสองแบบที่กล่าวมา เช่น FA-50 ที่ผลิตโดยบริษัท KAI ของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีราคาถูกกว่าเกือบครึ่งหนึ่ง แต่ก็มีสมรรถนะต่างกันเพราะมีพื้นฐานมาจากเครื่องบินฝึก หรือ FC-31 ของ Shenyang Aircraft Corporation ประเทศจีน ที่มีข้อจำกัดคือเครื่องบินใช้ระบบอาวุธ ระบบสื่อสาร และระบบสนับสนุนที่แตกต่างกับระบบกองทัพอากาศอย่างสิ้นเชิง

 

สิ่งที่แตกต่างจากการจัดซื้ออาวุธในรอบอื่นคือกองทัพอากาศกำหนดให้ผู้ผลิตต้องส่งมอบผลตอบแทนทางเศรษฐกิจหรือ Defense Offset ให้กับประเทศไทย โดยอาจจะเป็นทั้งการจัดหาหรือผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในประเทศไทย หรือให้ผู้ผลิตนำบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ เข้ามาลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงานในประเทศไทย เช่น อิเล็กทรอนิกส์, ไซเบอร์, การเกษตร, ยานยนต์ หรือการขนส่ง นี่ถือเป็นมิติใหม่ของการจัดหาอาวุธของไทยที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งตัวตัดสินว่าผู้ผลิตค่ายไหนจะได้รับคัดเลือก

 

ปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้งาน F-16 รวม 27 ชาติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, บาห์เรน, เบลเยียม, ชิลี, อิยิปต์, กรีซ, อินโดนีเซีย, อิรัก, อิสราเอล, จอร์แดน, โมร็อกโก, โอมาน, ปากีสถาน, โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, สิงคโปร์, สโลวาเกีย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ไทย, ตุรกี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เวเนซุเอลา, อาร์เจนตินา, บัลแกเรีย และยูเครน ส่วน Gripen มี 6 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน, บราซิล, สาธารณรัฐเช็ก, ฮังการี, แอฟริกาใต้ และไทย

 

สำหรับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการขึ้นบินต่อชั่วโมง นักวิเคราะห์ระบุว่าประเมินได้ยาก แต่มีข้อมูลอ้างกันว่า F-16 น่าจะมีค่าใช้จ่ายราว 3 แสนบาทต่อชั่วโมง ส่วน Gripen อยู่ที่กว่า 2 แสนบาทต่อชั่วโมง

 

ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X