×

ภาวะ เงินเฟ้อ สุดขั้ว กับตลาดคริปโตขาลง

24.06.2022
  • LOADING...
เงินเฟ้อ

ถ้าพูดถึงการเทรดสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงเรื่อง เงินเฟ้อ ในยุคนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนคงต้องนึกถึง Bitcoin เป็นตัวเลือกแรกๆ อย่างแน่นอน หลายๆ คนพูดถึง Bitcoin ว่าเป็น Store of Value แต่ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันที่เงินเฟ้อมีค่าเพิ่มขึ้นสูงถึง 8.6% ในสหรัฐอเมริกา และ 9.1% ในอังกฤษ นับได้ว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 1982 ทำไมราคา Bitcoin รวมถึงคริปโตเคอร์เรนซีตัวอื่นๆ ถึงเละเทะได้ขนาดนี้ ในบทความนี้เราจะมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของเรื่องนี้กันครับ

 

เงินเฟ้อคืออะไร ทำไมมันถึงสูงนัก?

 

เงินเฟ้อ คือ สภาวะที่มูลค่าของเงินมีค่าลดลง ทำให้สินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้น ถ้าเราเปรียบเทียบราคาของก๋วยเตี๋ยวในอดีตกับปัจจุบัน เราจะเห็นว่าราคาก๋วยเตี๋ยวทุกวันนี้แพงกว่าสมัยก่อนค่อนข้างมาก นี่ยังรวมไปถึงราคาบ้าน ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน จนทำให้ 100 บาทที่เรามีทุกวันนี้ แทบจะออกไปเที่ยวที่ไหนไม่ได้เลย 

 

ถึงตรงนี้หลายคนคงมองเงินเฟ้อเป็นตัวร้ายในระบบเศรษฐกิจ ที่ทำให้เราต้องกินก๋วยเตี๋ยวในราคาที่แพงขึ้น และเงินของเรามีค่าน้อยลง แต่ความเป็นจริงแล้วการที่เรามีเงินเฟ้อนิดหน่อยในแต่ละปี โดยที่เราแทบจะไม่สามารถสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนนัก เป็นปัจจัยที่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดียิ่งขึ้น การที่สินค้าราคาเพิ่มขึ้นนั้นส่งผลให้ผู้ผลิตอยากผลิตสินค้า ขยายโรงงาน รวมถึงขยายธุรกิจมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มตาม อันจะทำให้เพิ่มผลลัพธ์และการเติบโตในเชิงเศรษฐกิจ

 

อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงนี้มีค่าพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าปกติ จนเราเริ่มจะรู้สึกได้ถึงผลกระทบอย่างทันที ข้าวของในตลาดแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ค่าครองชีพเพิ่มสูงมากขึ้น สาเหตุหนึ่งที่มีส่วนให้เกิดการพุ่งขึ้นสูงในครั้งนี้เป็นผลมาจากโรคระบาดโควิด เนื่องจากการที่หลายประเทศประกาศมาตรการล็อกดาวน์ รวมถึงหลายๆ บริษัทหรือโรงงานต้องปิดตัวลงหรือลดการผลิต ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสินค้าอย่างหนัก มิหนำซ้ำการเกิดสงครามยูเครน-รัสเซีย ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ยิ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น เพราะน้ำมันเป็นปัจจัยหลักของการขนส่ง และถือเป็นต้นทุนสำคัญของการขายสินค้า

 

อีกทั้งยังมีเรื่องของการกีดกันทางการค้า รวมไปถึง Brexit ที่ทำให้ต้นทุนการผลิตและการนำเข้า-ส่งออกสูงขึ้นอีกด้วย 

 

ผลกระทบจากเงินเฟ้อต่อตลาดคริปโต

 

เทคนิคที่ธนาคารกลางทั่วโลกมักจะใช้ในการจัดการกับภาวะที่เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว คือการเพิ่มดอกเบี้ย ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) หรือมักเรียกสั้นๆ ว่า Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยถึง 0.75% ซึ่งเป็นการขึ้นดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่ปี 1994 และจากการที่แนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์ว่า อาจจะเพิ่มดอกเบี้ยอีก 0.5-0.75% ในเดือนหน้า และเพิ่มดอกเบี้ยรวม 1.75% ภายในสิ้นปี ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมีค่าสูงกว่า 3% เลยทีเดียว 

 

การที่ดอกเบี้ยมีค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งต่อคนทั่วไป กลุ่มบริษัท รวมไปถึงกลุ่มนักลงทุน ในมุมบุคคลทั่วไป เมื่อดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสูงขึ้นจะส่งผลโดยตรงต่อรายจ่าย ทั้งดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ยรถ รวมไปถึงบัตรเครดิตปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งการเพิ่มดอกเบี้ยมักจะตามมาด้วยอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ตำแหน่งงานที่เปิดรับลดน้อยลง รายได้ต่อหัวน้อยลง เงินส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการดำรงชีพมากกว่าเก็บออม ทั้งยังต้องรัดเข็มขัดมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนลดลงด้วย 

 

ในมุมของบริษัท เมื่อดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้บริษัทเหล่านี้ลดการขยายกิจการลง เนื่องจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายล้วนเป็นต้นทุนสำคัญในการขยายธุรกิจ ซึ่งสภาวะเหล่านี้เป็นแรงกดดันให้เกิดความกลัวของสภาวะเศรษฐกิจถดถอย และมักจะส่งผลในทางลบอย่างรุนแรงต่อตลาดทุน โดยจากสถิติที่ผ่านมาเรา

 

ภาวะซ้ำเติมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเป็นโดมิโน

 

นอกจากเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจัดการกับอัตราเงินเฟ้อที่สูง ยังมีเรื่องการล่มสลายของ Stablecoin UST และเหรียญ LUNA จาก Terra หรือแพลตฟอร์มฝากเงินอย่าง Celsius Network ที่ปิดการถอนเงิน ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่กำลังกดดันตลาดคริปโต อีกทั้งยังมีเรื่อง Three Arrows Capital เฮจด์ฟันท็อป 5 ของโลกที่เคยมีทรัพย์สินรวมมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ กำลังประสบปัญหาจากการที่ลงทุนเกินตัว โดยนำสินทรัพย์คริปโตที่ตัวเองถืออยู่อย่าง Bitcoin, Etheruem หรือ Altcoins ต่างๆ ไปวางค้ำเป็นหลักประกัน เพื่อยืมเอาเงินออกมาลงทุนเพิ่ม เมื่อตลาดเป็นขาลง ทำให้หลักประกันที่วางไว้มีมูลค่าลดลง ส่งผลให้ต้องเพิ่มหลักจะเห็นว่า Bitcoin มีการเคลื่อนที่ของราคาที่ไปในทางเดียวกันกับดัชนี S&P 500 กับ Nasdaq ดังนั้นภาวะความกลัวของสภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ จึงส่งผลทางด้านลบมายังตลาดคริปโตด้วย 

 

ในมุมของนักลงทุน เมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มสูงมากขึ้น นักลงทุนจะมองหาทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงน้อยลงและรอบคอบกับการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากเงินที่นำมาลงทุนในแต่ละครั้งก็มีต้นทุน ซึ่งก็คือดอกเบี้ย และการลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยงสูงอาจจะไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีมากนักเมื่อเทียบกับทรัพย์สินเสี่ยงต่ำ ทำให้เหล่านักลงทุนเริ่มมองหาการลงทุนในบริษัท หรือทรัพย์สินที่ดูมีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนกลับมาแน่นอนใน 1-2 ปี ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เหรียญคริปโตหรือโปรเจ็กต์ DeFiประกันอย่างต่อเนื่องและขาดสภาพคล่องอย่างหนัก ยิ่งไปกว่านั้น หลายๆ บริษัทขนาดใหญ่ทางฝั่งของคริปโต ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มฝากเงินอย่าง BlockFi หรือตลาดแลกเปลี่ยนคริปโตอย่าง Coinbase ก็ต่างประกาศลดจำนวนพนักงานถึง 20% นี่ยังไม่นับตลาดคริปโตแพลตฟอร์มอื่นที่มีการระงับบริการการเทรด และปิดการถอนเหรียญเพื่อป้องกันการไหลออกของเงิน 

 

อย่างไรก็ตาม หลายๆ คนอาจจะมีมุมมองว่า การที่มูลค่าของเหรียญในตลาดคริปโตลงมามากถึง 70% หรือกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากในช่วงพีคในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมา น่าจะซึมซับข่าวร้ายไปมากพอสมควรแล้ว ถ้าสถานการณ์ต่อไปไม่เลวร้ายกว่าที่คาดไว้ ก็อาจจะเป็นแรงผลักดันให้สภาพตลาดฟื้นคืนขึ้นมาได้ นับว่าเป็นบททดสอบสำคัญต่อทั้งตลาดคริปโตและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในการจัดการกับวิกฤตเงินเฟ้อรุนแรงในรอบนี้ โดยส่งผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมไปถึงตลาดทุนให้น้อยที่สุด

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising