แม้ว่ายอดผลิตและยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง แต่กระแสการซื้อยานยนต์ไฟฟ้าของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับกลุ่มยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่า ปีนี้จะมีการจดทะเบียน EV เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1 แสนคันตามอัตราการผลิต เพื่อชดเชยการนำเข้า 1:1 ที่มีจำนวน 8-9 หมื่นคัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- อีกนานไหม กว่าไทยจะมีเหมืองลิเธียม? เจาะเบื้องลึกอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่: https://thestandard.co/when-will-thailand-have-a-lithium-mine/
- เปิดชื่อแบรนด์รถยนต์ EV จีน ที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในไทย เริ่มเดินสายพานปี 2567-2568 กำลังผลิตเท่าไร ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง: https://thestandard.co/chinese-evs-production-in-thailand/
- 10 อันดับเหมืองลิเธียมที่ใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ที่ไหน ทุนชาติไหนเป็นเจ้าของ
ถือเป็นจังหวะและโอกาสในการต่อยอดอุตสาหกรรม EV ทั้งห่วงโซ่ให้ครบวงจร เมื่อล่าสุด เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และประธานบอร์ด EV ไฟเขียว 2 มาตรการเพิ่มเติม โดยสนับสนุนการผลิต EV เชิงพาณิชย์ รถโดยสารไฟฟ้า (e-Bus) และรถบรรทุกไฟฟ้า (e-Truck) พร้อมออกแพ็กเกจสนับสนุนผู้ผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ป้อนรถยนต์ไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อเดินหน้าสู่การเป็นฐานผลิต EV ภูมิภาคอาเซียน
THE STANDARD WEALTH สรุปมาตรการส่งเสริมจากมติบอร์ด EV ครั้งแรกของปี 2567 ต่อนโยบายส่งเสริมรถบัส-รถบรรทุกไฟฟ้า และแบตเตอรี่ มีอะไรเพิ่มเข้ามาเพิ่มเติม ใครได้ประโยชน์อะไร
อ่านบทความต่อ: https://thestandard.co/4-ev-battery-factory-investment-conditions/
ภาพประกอบ: พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์