ค้าปลีกยุโรปปาดเหงื่อ หลังติดหล่มวิกฤตค่าครองชีพ เงินในกระเป๋าผู้บริโภคลดลง รอลุ้นยอดขายช่วงคริสต์มาส ฝั่ง Amazon ชี้ผู้บริโภครัดเข็มขัดจับจ่าย
Reuters รายงานว่า ในช่วงโค้งท้ายของปี ซึ่งตรงกับเทศกาลสำคัญอย่าง คริสต์มาส และปีใหม่ นับเป็นความหวังของธุรกิจค้าปลีกที่จะช่วงชิงเม็ดเงินจากบรรดานักช้อปที่เตรียมจับจ่ายของขวัญ อาหาร และเครื่องดื่มกันอย่างเต็มที่
แต่กลับไม่เป็นอย่างนั้น เนื่องจากวิกฤตค่าครองชีพกระทบรายได้ผู้บริโภคลดลง และอาจทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถทำยอดขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสปี 2022 ได้ ทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกในยุโรปหลายรายเริ่มออกมาแสดงความกังวลต่อทิศทางธุรกิจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ค้าปลีก ฟิลิปปินส์ โตพุ่ง ‘Mitsukoshi’ จากญี่ปุ่น ปักหมุดเป็นรายแรกหวังชิงกำลังซื้อชนชั้นกลาง คาดเปิดตัวปลายปีนี้
- เศรษฐกิจโลก กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มี 7 ปัจจัย ที่รอบนี้แตกต่างจากวิกฤตการเงินปี 2008
- นักเศรษฐศาสตร์ฟันธง เงินเฟ้อ ทั่วโลกผ่านจุดพีค แต่จะไม่กลับไปต่ำเท่ากับช่วงก่อนโควิด
Amazon ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการชะลอตัวของการจับจ่ายสินค้าในช่วงเทศกาลดังกล่าว โดยถ้าเทียบกับช่วงสถานการณ์ปกติแล้ว นับเป็นช่วงที่สร้างรายได้สูงสุด สำหรับค้าปลีก ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่าย โดยปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคชาวยุโรปใช้จ่ายน้อยกว่าชาวอเมริกัน
แม้แต่บริษัทใหญ่ในยุโรปยังเตือนว่าเป็นช่วงที่ยากลำบากของการดำเนินธุรกิจ และต้องปรับตัว ยกตัวอย่างค้าปลีกแฟชั่นอันดับ 2 ของโลก H&M ได้เปิดตัวไดรฟ์ที่ประหยัดต้นทุนกว่า 177 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Ciaran Callaghan หัวหน้าฝ่ายวิจัยหุ้นยุโรปของ Amundi ผู้จัดการสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของยุโรป กล่าวว่า ผู้บริโภคอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างมาก และกำลังลดการใช้จ่ายลง ขณะที่ต้นทุนผู้ประกอบการค้าปลีกก็สูงขึ้น และคาดว่าอัตรากำไรจะลดลงในปี 2023 เนื่องจากแรงกดดันด้านต้นทุนและค่าเงินบาทอ่อนจะรุนแรงขึ้น
ขณะนี้ค้าปลีกหลายรายเริ่มจัดรายการส่งเสริมการขาย ลดราคาเพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่ออัตรากำไรขั้นต้น ขณะที่อีกด้านหนึ่ง บริษัทหลายแห่งได้วางแผนจ้างพนักงานในช่วงคริสต์มาสเป็นการชั่วคราว อย่าง Boots ร้านค้าปลีกในอังกฤษ และ John Lewis ประกาศรับสมัครพนักงานรวมๆ แล้ว10,000 คน
ด้าน Trevor Green หัวหน้าฝ่ายตราสารทุนของสหราชอาณาจักรที่ Aviva Investors กล่าวว่า ยังไม่เห็นสัญญาณบวกในธุรกิจค้าปลีก เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และวิกฤตค่าครองชีพก็ส่งผลกระทบอย่างหนัก
ด้วยเหตุนี้จึงต้องมาดูกันว่า ค้าปลีกในยุโรปจะปรับกลยุทธ์หาหนทางสร้างรายได้ในช่วงโค้งสุดท้าย ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันในการจับจ่ายได้มากน้อยแค่ไหน
อ้างอิง: