×

ESA เผยภาพขั้วเหนือดาวพุธ ที่อาจมีน้ำแข็งอยู่ในหลุม จากยาน BepiColombo

11.01.2025
  • LOADING...

องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA เผยภาพถ่ายชุดล่าสุดของดาวพุธ จากกล้องบนยาน BepiColombo ระหว่างบินเฉียดใกล้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2025 เวลา 12.59 น. ตามเวลาไทย ที่ระยะห่างเพียง 295 กิโลเมตรเหนือพื้นผิว

 

การบินผ่าน (Flyby) ดาวพุธครั้งที่ 6 ของภารกิจ จะเป็นการบินผ่านครั้งสุดท้ายของยาน BepiColombo ก่อนเดินทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพุธในปลายปี 2026 ทำให้เป็นโอกาสสุดท้ายในการสำรวจบางส่วนของดาวเคราะห์ดวงนี้ รวมถึงการบินเฉียดพื้นผิวขั้วเหนือเพื่อบันทึกภาพเหนือหลุมอุกกาบาตในระยะใกล้

 

หลังจากโฉบผ่านเหนือเส้น Terminator ที่แบ่งแยกระหว่างช่วงกลางวันและกลางคืน กล้อง M-CAM 1 ได้โอกาสบันทึกภาพเหนือบริเวณขั้วเหนือดาวพุธ ซึ่งมีหลุมอุกกาบาตบางส่วนที่ขอบหลุมมีความสูงเพียงพอ จนทำให้พื้นที่เบื้องล่างอยู่ในเงามืดตลอดเวลา

 

บริเวณเบื้องล่างของหลุมอุกกาบาต Prokofiev, Kandinsky, Tolkien, และ Gordimer ณ ขั้วเหนือดาวพุธ อาจเป็นหนึ่งในจุดที่หนาวเหน็บที่สุดในระบบสุริยะ แม้จะอยู่บนดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ที่สุดก็ตาม โดยนักดาราศาสตร์เรียกบริเวณดังกล่าวว่า ‘Permanently Shadowed Crater’ หรือหลุมอุกกาบาตที่อยู่ในเงามืดตลอดกาล

 

ปัจจุบันนักดาราศาสตร์มีหลักฐานว่าอาจมีน้ำแข็งอยู่ใต้หลุมเหล่านี้ ซึ่งยาน BepiColombo มีภารกิจในการตามหาน้ำในหลุมอุกกาบาตบนดาวพุธ เมื่อครั้งที่ยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรรอบดาว และเริ่มภารกิจสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในช่วงต้นปี 2027

 

Geraint Jones นักวิทยาศาสตร์ประจำภารกิจของยาน ระบุว่า “แม้ภารกิจหลักของ BepiColombo จะเริ่มขึ้นในอีก 2 ปีจากนี้ แต่ข้อมูลที่ได้จากการบินผ่าน 6 ครั้งก่อนหน้า ช่วยให้เราได้พบสิ่งใหม่ๆ ของดาวเคราะห์ที่ไม่ค่อยได้รับการสำรวจดวงนี้ โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่จะมาถึง ทีมภารกิจบนโลกจะศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากการบินผ่านรอบนี้ เพื่อไขปริศนาดาวพุธให้ได้มากที่สุด”

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X