×

ค่าไฟฟ้างวด ก.ย.-ธ.ค. 67 อาจแพงสุดที่ 6.01 บาทต่อหน่วย! ‘กกพ.’ ชำแหละ 3 ทางเลือก ปรับค่า Ft ปี 2567

13.07.2024
  • LOADING...
ค่าไฟฟ้า

ประเด็นร้อนที่คนไทยต้องจับตา เพราะอาจส่งผลต่อค่าครองชีพไม่น้อยสำหรับค่าไฟฟ้าเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 เมื่อล่าสุด กกพ. เสนอ 3 ทางเลือกปรับค่า Ft งวดสุดท้ายของปี 2567 ซึ่งอาจทำให้ค่าไฟฟ้าพุ่งสูงถึง 6.01 บาทต่อหน่วย สาเหตุหลักๆ มาจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง และราคาก๊าซธรรมชาติเหลวในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อ

 

ค่าไฟฟ้า

 

วันที่ 12 กรกฎาคม ที่สำนักงาน กกพ. พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงสูงขึ้น และจะนำมาพิจารณาค่าไฟฟ้าในขณะนี้ คือ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงแตะระดับ 36.63 บาทต่อดอลลาร์ กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำและถ่านหินที่ลดลง และราคาก๊าซธรรมชาติเหลวในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น 3.2 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว ส่งผลให้อาจปรับขึ้นค่าไฟฟ้างวดสุดท้ายของปีนี้

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ทั้งนี้ ระหว่างนี้ กกพ. จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับทางเลือกในการปรับค่าไฟฟ้า 3 ทางเลือก เพื่อหาข้อสรุปเร็วๆ นี้ โดยวางไว้ 3 แนวทาง

 

กรณีที่ 1: จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างทั้งหมดโดยเร็ว

กรณีนี้จะเป็นการพิจารณาจากเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 98,495 ล้านบาท และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วยในงวดปัจจุบัน

 

ส่วนกรณีที่ 2: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 3 งวด

จะเป็นกรณีที่ทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 เป็น 3 งวด งวดละจำนวน 32,832 ล้านบาท เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น ลดภาระดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้สิ้นเดือนธันวาคม 2567 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนที่ 65,663 ล้านบาท เมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากงวดปัจจุบันสุดท้าย

 

กรณีที่ 3: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 6 งวด

หากทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ออกเป็น 6 งวด งวดละจำนวน 16,416 ล้านบาท เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องเดือนธันวาคม 2567 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. แบกรับเหลืออยู่ที่ 82,079 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากงวดปัจจุบัน

 

หมายความว่า จาก 3 แนวทางข้างต้น เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่อนหน้า ส่งผลให้ค่าไฟในช่วงปลายปีนี้อาจต้องปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ขึ้นในระดับ 46.83-182.99 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2567 อาจขยับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65-6.01 บาทต่อหน่วย จากงวดก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย

 

อย่างไรก็ตาม หากภาครัฐต้องการตรึงค่าไฟในอัตราเดิมที่ 4.18 บาทต่อหน่วย จำเป็นต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 28,000 ล้านบาท ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ กฟผ. จะต้องแบกรับหนี้เท่าเดิมไปก่อน

 

“กกพ. ทราบดีถึงผลกระทบทั้งในส่วนของผลกระทบของค่าไฟฟ้าต่อค่าครองชีพ และความสำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความมีเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าของประเทศ เพราะนอกจากไฟฟ้าจะเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญค่าครองชีพ ไฟฟ้ายังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของประเทศ” พูลพัฒน์กล่าวทิ้งท้าย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising