วานนี้ (13 มิถุนายน) กระทรวงการท่องเที่ยวและโบราณวัตถุอียิปต์เปิดเผยว่า ทีมโบราณคดีอียิปต์-เยอรมนีขุดพบก้อนหินแกรนิต ซึ่งมีความเก่าแก่ย้อนกลับไปถึงสมัยฟาโรห์คูฟู (2589-2566 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ทางตะวันออกของกรุงไคโร เมืองหลวงของประเทศ
แถลงการณ์จากกระทรวงฯ อ้างอิง มอสตาฟา วาซิรี เลขาธิการใหญ่ของสภาสูงด้านโบราณคดีอียิปต์ ระบุว่า การค้นพบดังกล่าวนับเป็นการค้นพบโบราณวัตถุยุคฟาโรห์คูฟูครั้งแรกในพื้นที่ Ain Shams ซึ่งแปลว่าดวงตาแห่งพระอาทิตย์ในภาษาอาหรับ และเป็นหนึ่งในเขตที่เก่าแก่ที่สุดของไคโร
วาซิรีเสริมว่า ก้อนหินที่ถูกค้นพบใหม่ชุดดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งปลูกสร้างอันไม่เป็นที่รู้จัก หรืออาจถูกเคลื่อนย้ายสู่ที่ราบสูงพีระมิด (Pyramids Plateau) ในเมืองกิซา เพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างในยุครามเสสช่วง 1292-1069 ปีก่อนคริสต์ศักราช
นอกจากนี้ทีมโบราณคดียังค้นพบชิ้นส่วนรูปแกะสลักหินแกรนิตของฟาโรห์เปปิที่ 1 เมริเร พร้อมจารึกเทพฮอรัส ซึ่งมีลักษณะเป็นเหยี่ยว ฐานของรูปแกะสลักของฟาโรห์อามาซิสที่ 2 และชิ้นส่วนรูปแกะสลักสฟิงซ์หลายชิ้นด้วย
แถลงการณ์ยังรายงานการขุดพบพระศพของฟาโรห์หลายพระองค์ อาทิ ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2, 3 และ 5 ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ฟาโรห์ทุตโมสมหาราช ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 และฟาโรห์เซติที่ 2
อ้างอิง:
- สำนักข่าวซินหัว