×

แนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก กับภาวะการเปิดเมืองที่แตกต่างกัน

09.07.2021
  • LOADING...
การเปิดเมือง

ในช่วงไตรมาสที่ 3/2021 SCBS Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1. ความเร็วในการเปิดเมืองยังมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้การฟื้นตัวมีความแตกต่างกันตามไปด้วย 2. นโยบายภาครัฐโดยเฉพาะในสหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลายน้อยลง และ 3. หุ้นกลุ่ม Growth at Reasonable Price (GARP) มีความน่าสนใจมากขึ้น

 

SCBS CIO ประเมินว่าแนวโน้มสำคัญของเศรษฐกิจโลกประกอบไปด้วย การเปิดเมืองที่ยังมีความแตกต่างกัน เศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ ผ่านจุดเติบโตสูงสุด ในขณะที่ยุโรปและญี่ปุ่นเริ่มฟื้นชัด และนโยบายภาครัฐเริ่มผ่อนคลายลดลง  

 

โดยในรายละเอียดการเปิดเมืองยังมีความแตกต่างกันตามความคืบหน้าการฉีดวัคซีน ซึ่งเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ ผ่านจุดเติบโตสูงสุด ในขณะที่ยุโรปและญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่อง 

 

ส่วนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (EMs) ยังแตกต่างกันมาก ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลงหลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชะลอลง และท่าทีของ Fed ที่มีแนวโน้มพร้อมปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าคาด (Hawkish) โดยตัวเลขตลาดแรงงานและการสื่อสารของ Fed จะมีความสำคัญต่อตลาดมากขึ้น เราคงมุมมอง Fed ส่งสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไปในการทำ QE Taper ในช่วงปลายไตรมาส 3/2021F และขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกปี 2023F 

 

นอกจากนั้น แรงกระตุ้นทางการคลังเริ่มแผ่วลงในกลุ่มประเทศพัฒนา (DMs) แล้ว โดยเฉพาะในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ขนาดของโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เล็กกว่าคาดจะทำให้การขึ้นภาษีเพื่อโครงการเหล่านั้นน้อยกว่าคาดด้วย โดยปัจจัยเสี่ยงหลักในไตรมาสที่ 3/2021 ประกอบด้วย 1. Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด 2. ความเสี่ยงด้านนโยบายต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และ 3. การกลับมาของความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน

 

สำหรับแนวโน้มตลาดการเงินโลก SCBS CIO ประเมินว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้นอย่างช้าๆ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัว และราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มชะลอลงจากอุปทานที่ฟื้นตัว โดยจากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่กำลังจะผ่านจุดเติบโตสูงสุด และสัญญาณการปรับนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไปของ Fed น่าจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้นแบบช้าๆ โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว ซึ่งจะทำให้ Yield Curve ของสหรัฐฯ มีลักษณะแบน Flattening ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัว อย่างน้อยจนกว่า ECB จะปรับท่าทีแบบผ่อนคลายนโยบายน้อยลง โดยจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ฟื้นตัวบวกกับอุปทานที่ฟื้นตัว ราคาสินค้าโภคภัณฑ์น่าจะเริ่มชะลอลง ยกเว้นสินค้าที่ต้องใช้เวลาในการเพิ่มอุปทาน เช่น Semiconductors  

 

สำหรับกลยุทธ์ในการจัดพอร์ตการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลก (Asset Allocation Portfolio Strategy) SCBS CIO คงมุมมองบวกต่อหุ้นพัฒนาแล้ว ปรับน้ำหนักหุ้นกลุ่ม Value/Growth เป็น 60/40 เน้นกลุ่ม GARP: ปรับน้ำมันเป็น Neutral และ ปรับทองคำเป็น Negative โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

 

  • ด้วยอัตราเงินเฟ้อและอัตราผลตอบแทนที่ยังปรับขึ้นแม้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เรายังคงชอบหุ้นมากกว่าพันธบัตรและเงินสด 

 

  • เรายังคงเน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐฯ และปรับน้ำหนักหุ้นกลุ่ม Value/Growth เป็น 40/60 (จากเดิม 80/20) โดยเน้นหุ้นกลุ่ม Growth at Reasonable Price (GARP หุ้นกลุ่มเติบโตที่มีมูลค่าสมเหตุสมผล) 

 

  • ความกังวลเรื่อง QE Taper อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อหุ้นในกลุ่ม EMs โดยเฉพาะประเทศที่มีการขาดดุลการคลังและดุลบัญชีเดินสะพัดสูง (Large Twin Deficit)

 

  • คงมุมมอง Slightly Positive จากมูลค่าที่น่าสนใจต่อหุ้นจีนและญี่ปุ่น นอกจากนั้นเราเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนได้มีการ Priced-in ความเสี่ยงด้านนโยบายไปบ้างแล้ว ส่วนการฟื้นตัวของหุ้นญี่ปุ่นน่าจะเริ่มชัดเจนขึ้นตามความคืบหน้าการฉีดวัคซีนที่กำลังดีขึ้น 

 

  • คงมุมมองเวียดนามยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจลงทุนที่สุดในอาเซียน เราปรับมุมมองตลาดหุ้นไทยเป็น Slightly Positive จากมูลค่าหุ้นที่กลับมาน่าสนใจ เน้นกลยุทธ์ Selective Buy 

 

  • จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่เริ่มฟื้นตัว และอุปทานที่เริ่มกลับมา เราปรับมุมมองน้ำมันเป็น Neutral และจาก Bond Yield ที่มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่ม เราปรับมุมมองต่อทองคำเป็น Negative 

 

  • ก่อนหน้านี้เรามีการปรับมุมมองต่อ DM REITs เป็น Slightly Negative เนื่องจากมูลค่าที่ตึงตัวและความกังวลการกลับมาขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดของ Fed อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุมมอง Slightly Positive กับ Asian REITs  จากความคืบหน้าในการเปิดเมืองในช่วงครึ่งหลังปี 2021F มูลค่าที่ยังน่าสนใจ และการขึ้นดอกเบี้ยที่น่าจะช้ากว่าในกรณีของประเทศ DMs
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising