×

รู้จัก ‘Eatable’ แพลตฟอร์มช่วยเจ้าของร้านอาหารทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลจาก ‘กสิกรไทย’ และ ‘KBTG’ [Advertorial]

10.07.2020
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 MINS. READ
  • บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ภายใต้ธนาคารกสิกรไทย ได้เปิดตัว ‘Eatable’ แพลตฟอร์มสั่งอาหารรูปแบบใหม่ เพื่อช่วยให้เจ้าของร้านอาหารในประเทศไทยสามารถทรานส์ฟอร์มสู่โลกดิจิทัล
  • Eatable คือโซลูชันแพลตฟอร์มสั่งอาหารรูปแบบใหม่ที่ KBTG ได้พัฒนาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารแบบ 3D รองรับตั้งแต่ Dine-in การนั่งรับประทานในร้าน Dine-out รับกลับไปรับประทานที่บ้าน และ Delivery ส่งถึงบ้าน
  • เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป บอกว่าจุดประสงค์การพัฒนา Eatable คือเพื่อให้เจ้าของร้านอาหารทรานส์ฟอร์มธุรกิจตัวเอง เป็นผู้ชนะที่อยู่รอดในยุคโควิด-19 และ New Normal

ภายใต้ความปกติใหม่ (New Normal) ของวิถีชีวิตผู้คนในโลกยุคหลังโควิด-19 ไลฟ์สไตล์ด้าน ‘อาหารการกิน’ เป็นอีกหนึ่งแง่มุมที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และยังต้องปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ที่ต่างออกไปจากเดิมพอสมควร 

 

ทั้งการที่ร้านอาหารต้องหันมาให้บริการแบบฟู้ดเดลิเวอรีมากขึ้นตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง การลดจำนวนโต๊ะตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ไหนจะต้องมากังวลเรื่องยอดขาย ความสามารถในการจ้างพนักงาน ไปจนถึงการทรานส์ฟอร์มธุรกิจตัวเองให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้นเพื่อสลัดหนีการถูก ‘ดิสรัปต์’

 

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยในประเด็นการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่ คาดการณ์ว่าธุรกิจร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าราว 3.8 แสนล้านบาท ‘หดตัวเกือบ 10%’ จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้าระมัดระวังการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคบางส่วนเปลี่ยนแปลงไป ใช้บริการเดลิเวอรีในการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านหรือที่ทำงานแทนมากขึ้น ดังนั้นร้านอาหารยุคใหม่จะต้องผสมผสานการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทั้งที่รับประทานที่ร้านและเดลิเวอรีไปพร้อมๆ กัน

 

เพราะเล็งเห็นแล้วว่าปัญหาทั้งหมดเป็นเรื่องที่หนักและเหนื่อยมากๆ หากต้องปล่อยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยกัดฟันสู้ตามลำพัง เมื่อเร็วๆ นี้บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ภายใต้ธนาคารกสิกรไทย จึงได้เปิดตัว ‘Eatable’ (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มสั่งอาหารรูปแบบใหม่ เพื่อช่วยให้เจ้าของร้านอาหารในประเทศไทยสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องเปลืองแรงและทุ่มทุนทรัพย์

 

ที่สำคัญ Eatable ยังช่วยตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างเราๆ ในด้านอาหารการกินได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าจะรับประทานในร้าน สั่งกลับไปรับประทานที่บ้าน หรือวอล์กอินเข้าไปรับอาหารที่หน้าร้าน ทั้งยังลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี

 

 

‘วงการร้านอาหารไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป’ Eatable ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างไรบ้าง 

Eatable คือโซลูชันแพลตฟอร์มสั่งอาหารรูปแบบใหม่ที่ KBTG ได้พัฒนาออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยความเจ๋งคือการที่มันเป็นแพลตฟอร์มแบบ 3D รองรับรูปแบบการรับประทานอาหารที่หลากหลาย ตั้งแต่ Dine-in การนั่งรับประทานในร้าน Dine-out รับกลับไปรับประทานที่บ้าน และ Delivery บริการส่งอาหารถึงบ้าน

 

เริ่มต้นที่การนั่งรับประทานอาหารในร้านแบบ Dine-in ซึ่งใน Eatable จะมีฟีเจอร์หลากหลายที่ทาง KBTG ได้ออกแบบผ่านการทำงานและศึกษาอย่างใกล้ชิดร่วมกับพาร์ตเนอร์ร้านอาหารเจ้าต่างๆ จนเกิดเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจ เช่น

 

‘QR Ordering’ ฟีเจอร์การสั่งอาหารผ่านเมนูแบบดิจิทัลด้วยการสแกน QR Code ซึ่งยังสามารถเปลี่ยนสมาร์ทโฟนของเราเป็นอุปกรณ์เรียกพนักงานในร้านได้อีกต่างหาก และเพราะว่าเมนูอาหารอยู่บนสมาร์ทโฟนของเราเอง มันจึงช่วยลดโอกาสในสัมผัสความเสี่ยงจากเชื้อโรคและสิ่งต่างๆ ที่ปะปนมากับสมุดเมนูแบบเดิมๆ ได้เป็นอย่างดี

 

ตามมาด้วย ‘Order Along’ หรือฟีเจอร์ที่ช่วยให้คนที่อยู่บนโต๊ะอาหารเดียวกันสามารถกดสั่งอาหารพร้อมกันโดยไม่ต้องขอเมนู ซึ่งข้อมูลออร์เดอร์ที่ผู้ร่วมโต๊ะอาหารสั่งก็จะอัปเดตโชว์ได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้การสั่งอาหารพร้อมกับคนอื่นๆ สนุกมากขึ้น 

 

และ ‘Inspirer Menu’ ที่ช่วยให้เจ้าของร้านอาหารสามารถอัปโหลดภาพถ่าย สร้างสรรค์เมนูร้านอาหารแบบดิจิทัลให้น่ารับประทาน ดึงดูดลูกค้า หรือจะใส่เรื่องราวในแต่ละเมนูลงไปก็สามารถทำได้

 

 

สำหรับการให้บริการผ่านรูปแบบ Delivery และ Dine-out จะช่วยให้เจ้าของร้านอาหารสามารถนำลิงก์หน้าร้านของตัวเองบน Eatable หรือที่เรียกว่า ‘Online Order Link’ ไปวางบนช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกชมเมนูและสั่งอาหารด้วยตัวเองได้ทันที ไม่ต้องรอแอดมินของร้านมาตอบ

 

นอกจากนี้ยังมี ‘Express Link’ ตัวช่วยที่จะทำให้ร้านสามารถเลือกส่งอาหารให้กับลูกค้าผ่านผู้ให้บริการหลากหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็นร้านดำเนินการจัดส่งเอง, Grab, Lalamove หรือ Skootar เพื่อให้สามารถเลือกพาร์ตเนอร์สายส่งที่มีค่าจัดส่งถูกที่สุด ซึ่งจะทำให้เจ้าของร้านไม่ต้องขึ้นราคาค่าอาหาร เพราะไม่ถูกหักส่วนแบ่ง GP เหมือนการอยู่บนแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีเจ้าอื่นๆ ตัวลูกค้าที่สั่งอาหารเองก็ไม่ต้องจ่ายค่าอาหารแพงกว่าเดิม แต่ยังได้รับปริมาณอาหารในเกณฑ์ปกติ

 

ที่สำคัญ ฟีเจอร์ทั้งหมดของ Eatable นั้นล้วนแล้วแต่เป็นบริการที่เปิดให้ร้านอาหารสามารถใช้งานได้แบบฟรีๆ ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น (ร้านอาหารที่สนใจอยากลองใช้ Public Beta สามารถลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่วันนี้ผ่าน https://eatable.kasikornbank.com) ซึ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบในช่วงเดือนตุลาคมนี้

 

ส่วนผู้ใช้งานก็ไม่ต้องไปโหลดแอปพลิเคชันเพิ่มเติมให้วุ่นวาย เปลืองพื้นที่บนหน้าจอ เพราะสามารถเข้าใช้งาน Eatable ได้ผ่านทั้งการสแกน QR Code และการคลิกที่ลิงก์ URL หน้าเว็บไซต์

 

ขณะที่ในอีก 2-3 เดือนต่อจากนี้ Eatable ก็จะรองรับการทำธุรกรรม เป็นช่องทางการชำระเงินเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถจ่ายค่าอาหารได้ทันทีผ่านการสแกน QR Code เพื่อเติมเต็มนิยามการเป็นแพลตฟอร์มสั่งอาหารแบบ End-to-End

 

รวมถึงเตรียมให้บริการผ่านแพลตฟอร์มของ WeChat ในชื่อ Kai Tai Dian Cai (ไค ไท่ เตี่ยน ไช่) เพื่อรองรับการเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีน แถมยังสามารถจ่ายเงินค่าอาหารบน WeChat ได้แบบเบ็ดเสร็จ จบในที่เดียว (คาดว่าจะพร้อมใช้งานช่วงปลายปีนี้)

 

 

‘สะดวก’ และช่วยให้การจัดการภายในร้านง่ายขึ้น เสียงสะท้อนผู้ประกอบการถึง Eatable

ในช่วงที่ทีมงาน KBTG ได้นำ Eatable ไปทดสอบการใช้งานในช่วงแรกๆ กับพาร์ตเนอร์ร้านอาหารเพื่อศึกษาช่องโหว่ในการปรับปรุง พัฒนาแก้ไข ร้านอาหารชื่อดังที่สร้างตำนานความอร่อยมายาวนานกว่า 5 ทศวรรษอย่าง ‘เรือนเพชรสุกี้’ ก็เป็นหนึ่งในพาร์ตเนอร์ที่มีโอกาสทดลองใช้งานแพลตฟอร์มสั่งอาหารดังกล่าวด้วย

 

โดย พงศ์ธรรศ เลิศธนพันธุ์ ผู้จัดการแผนกพัฒนาธุรกิจ (Business Development Manager) ร้านเรือนเพชรสุกี้ เปิดเผยว่าเขาได้เริ่มนำ Eatable ไปใช้งานกับร้านใน 2 สาขาคือ เซ็นทรัล บางนา และเซ็นทรัล พระราม 2 โดยพบข้อดีหลายข้อ

 

หนึ่งในนั้นคือการช่วยลด Human Error หรือข้อผิดพลาดของพนักงานและการสั่งอาหาร เนื่องจากวิธีการรับออร์เดอร์ของร้านเรือนเพชรสุกี้จะทำผ่านกระดาษที่ใช้สั่งอาหาร เมื่อลูกค้าต้องการเปลี่ยนเมนูหรือสั่งไม่ถูก การที่พนักงานคนกลางต้องแก้ไขกระดาษออร์เดอร์แผ่นดังกล่าวด้วยตัวเอง ซึ่งอาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ กลายเป็นต้นทุนที่เสียเปล่า

 

 

แต่หลังจากเริ่มมาทดลองใช้ Eatable กลายเป็นว่าลูกค้าที่เข้าใช้บริการในร้านก็สามารถสแกน QR Code เพื่อสั่งอาหารได้เลย โดยในกรณีที่มาหลายคนก็สามารถสั่งพร้อมๆ กันได้อีกต่างหาก ทำให้ลูกค้าได้รับอาหารที่ถูกต้อง แม่นยำ ตรงตามความต้องการ 

 

หรือในช่วงที่กลับมาเปิดให้บริการรับประทานในร้านระยะแรกๆ เมื่อเจอปัญหาพนักงานไม่เพียงพอต่อการให้บริการ (พนักงานบางส่วนเดินทางกลับบ้านเกิดในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ) Eatable ก็จะช่วยให้ระบบของร้านสามารถไปต่อได้ โดยใช้พนักงานแคชเชียร์เพียงคนเดียวในการจัดการออร์เดอร์ของลูกค้าทั้งร้าน ส่วนพนักงานที่เหลือก็สามารถหันไปโฟกัสการให้บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น

 

ที่สำคัญที่สุดคือการที่ตัวอินเทอร์เฟซของแพลตฟอร์มมีหน้าตาคล้ายแอปพลิเคชันสั่งอาหาร พนักงานในร้านจึงไม่จำเป็นต้องปรับตัวให้ยุ่งยาก พร้อมใช้งานได้ทันที

 

“ที่ผมเล่ามาทั้งหมด ผมไม่ได้หมายความว่า Eatable จะเข้ามาแทนพนักงานได้ 100% เพราะธุรกิจร้านอาหารต้องยอมรับว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ‘ความรู้สึกที่ลูกค้าได้รับการบริการจากพนักงาน’ ดังนั้นเรือนเพชรสุกี้จึงมอง Eatable เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข่วยให้เกิดประสบการณ์ที่ครบวงจรมากขึ้น” พงศ์ธรรศกล่าว

 

 

“เป้าหมายของเราคืออยากให้ร้านอาหารชนะไปด้วยกัน” ความในใจจากผู้อยู่เบื้องหลัง

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป กล่าวในระหว่างแถลงข่าวและให้ข้อมูลกับสื่อมวลชน โดยบอกว่าความตั้งใจของทีมงาน KBTG ที่พัฒนา Eatable ขึ้นมานั้นก็เพื่อต้องการช่วยให้ผู้ประกอบการเจ้าของร้านอาหารไทยกลายเป็น ‘ผู้ชนะ’ ที่สามารถปรับตัวและอยู่รอดในการทำธุรกิจยุคนี้ โดยเฉพาะการต้องรับมือกับความท้าทายจากโควิด-19 และดิจิทัล ดิสรัปชัน

 

“Eatable เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกในยุคหลังโควิด-19 และ New Normal ได้ ทุกอย่างที่ทำ เราทำด้วยใจ ไม่ได้นั่งอยู่บนหอคอยงาช้างแล้วบอกว่าอยากทำแอปพลิเคชันใหม่ๆ ออกมา 

 

“การที่เราทำเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาก็เพื่อช่วยเหลือลูกค้าของเราให้กลายเป็นผู้ชนะให้ได้ ในตอนนี้เรามองว่ายิ่งมีผู้ใช้บริการและร้านอาหารมาอยู่บน Eatable มากเท่าไรก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี เราอยากเป็นผู้ช่วยการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลให้กับพวกเขา

 

 

เรืองโรจน์ย้ำว่าตอนนี้ทีมของเขาและ KBTG ยังไม่ได้มองถึงโมเดลการทำเงิน (Monetize) แต่อย่างใด เนื่องจากความตั้งใจหลักๆ ในการสร้าง Eatable ขึ้นมาก็เพื่อต้องการช่วยลูกค้าและผู้ใช้งานที่เป็นลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยให้ได้เสียก่อน และเมื่อมีผู้ใช้งานในสัดส่วนที่มากพอแล้ว สุดท้ายโมเดลธุรกิจก็จะเกิดขึ้นตามมาเองในภายหลัง

 

“วันนี้คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว คุณมี KBank มีพลังอำนาจด้านเทคโนโลยีของ KBTG ที่จะทุ่มเทลงไป สู้ด้วยใจไปกับคุณ อยากขอเชิญผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและทุกๆ คนมาร่วมสัมผัสประสบการณ์จากร้านอาหารที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”  ประธาน บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป กล่าวทิ้งท้าย

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X