×

ในที่สุด ‘บ้านฉันมีเน็ตใช้แล้ว’ เมื่อ ‘ดีแทค’ ลุยเชื่อมต่อเพื่อชีวิตเท่าเทียม นำสัญญาณเน็ตเปิดโลกสู่บ้านใหม่สามัคคี จ.ลำปาง หลังรอมา 18 ปี [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
12.10.2021
  • LOADING...
ดีแทค

HIGHLIGHTS

5 mins. read
  • สำหรับ ชาวชุมชน ‘บ้านใหม่สามัคคี’ พวกเขาเหมือนถูกล็อกดาวน์มาตั้งแต่ปี 2546 หรือยาวนานถึง 18 ปีที่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านแห่งนี้ เพราะระบบสาธารณูปโภคที่ยังเข้าไม่ถึง แค่ระบบโทรศัพท์บ้านพื้นฐานชาวบ้านยังไม่เคยได้ใช้งาน ถึงแม้ชุมชนแห่งนี้จะถูกตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อ 30 สิงหาคม 2562 แล้วก็ตาม
  • หลังจากการลงพื้นที่ทีมงานดีแทคพบว่า ชุมชนแห่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่เคยมีสัญญาณมือถือหรืออินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อสื่อสารมาตลอด ทีมงานจึงได้เร่งติดตั้งนำสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งคลื่น 700 MHz และ 2100 MHz สู่ชุมชนอย่างรวดเร็วและติดตั้งเพียง 2 สัปดาห์ เพื่อรองรับการใช้งานโดยเฉพาะสถานการณ์ที่ถูกล็อกดาวน์จากโควิด การเชื่อมต่อสื่อสารจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
  • นับเป็นการตอกย้ำถึง ‘ดีแทค’ ที่ได้มุ่งมั่นในการนำสัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกภูมิภาคทั่วไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงการใช้งานดิจิทัล

นอกจากอาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย จะเป็น ‘ปัจจัย 4’ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์แล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘การสื่อสาร’ คือปัจจัยที่ 5 ที่ไม่สามารถขาดได้แล้วในวันนี้

 

เพราะการสื่อสารในวันนี้ไม่ได้เป็นการเพียงโทรออกหรือรับสายเท่านั้น แต่เป็นการเชื่อมให้เราเข้าสู่โลกของข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ตลอดจนเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างราบรื่น

 

ทว่าสำหรับชาวชุมชน ‘บ้านใหม่สามัคคี’ พวกเขาเหมือนถูกล็อกดาวน์มาตั้งแต่ปี 2546 หรือยาวนานถึง 18 ปีที่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านแห่งนี้ เพราะระบบสาธารณูปโภคที่ยังเข้าไม่ถึง แค่ระบบโทรศัพท์บ้านพื้นฐานชาวบ้านยังไม่เคยได้ใช้งาน ถึงแม้ชุมชนแห่งนี้จะถูกตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อ 30 สิงหาคม 2562 แล้วก็ตาม

 

สุพัด อาลา ผู้ใหญ่บ้านของบ้านใหม่สามัคคี (ห้วยวาด) หมู่ 7 ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เล่าให้ฟังว่า ชุมชนแห่งนี้ปัจจุบันมีประชากร 495 คน จาก 136 ครัวเรือน ประกอบอาชีพหลักด้านเกษตรกร ปลูกข้าวโพด หมู และชาวบ้านพอจะมีอาชีพเสริมได้บ้างคือ เลี้ยงไก่ หมู เพื่ออุปโภคบริโภค จำหน่ายในชุมชน 

 

ส่วนกลุ่มผู้หญิงจะปักผ้าพื้นบ้านด้วยมือ ทำกระเป๋า ผ้าพันคอ หรือผ้ากระโปรง แถวนี้จะกันดารแห้งแล้งมาก น้ำประปายังมาไม่ถึง จะอาศัยน้ำกินน้ำใช้จากแม่น้ำวัง น้ำฝน และบ่อน้ำบาดาล 

 

 

ขณะเดียวกันนอกจากจะเพิ่งมี ‘ไฟฟ้า’ ใช้เมื่อกันยายน 2559 ในส่วนของการติดต่อสื่อสารเป็นปัญหาใหญ่ที่หมู่บ้านแห่งนี้เหมือนถูกตัดขาดกับโลกภายนอก เพราะเมื่อต้องการจะใช้มือถือได้ต้องเดินไปหาสัญญาณตามสันเขาห่างจากหมู่บ้านไปราว 1.5-2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าและต้องเดินเท้า แน่นอนว่าถ้ายิ่งเป็นผู้สูงอายุก็ยิ่งไม่สะดวก รวมถึงสภาพอากาศที่อาจจะเจอทั้งแดดร้อนหรือฝนตก รวมถึงอาจจะเจอภัยอื่นในป่า และถ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนในเวลากลางคืนแทบจะเป็นไปไม่ได้ในการติดต่อกับใคร

 

เมื่อการติดต่อสื่อสารคือสิ่งที่ ‘จำเป็น’

ผู้ใหญ่บ้านของบ้านใหม่สามัคคีเล่าให้ฟังถึงวิกฤตคุณภาพชีวิตที่ประสบมาจากการตามหาสัญญาณมือถือเพื่อสื่อสารเพราะความจำเป็นว่า สิ่งที่พวกเราเผชิญมาและจำกันฝังใจ คือเมื่อเดือนกันยายน 2559 คนในหมู่บ้านของเรามีความจำเป็นต้องใช้มือถือ จึงได้เดินไปตามแนวป่าเพื่อหาสัญญาณมือถือใช้ 

 

“แต่โชคร้ายโดยไม่รู้ตัว มีชาวบ้านของเราถูกยุงกัด ซึ่งกลายมาเป็นพาหะของไข้เลือดออก ทำให้ต่อมาคนทั้งหมู่บ้านเกือบทั้งหมด 250 คน ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ เกือบทุกคนเป็นไข้เลือดออกร้ายแรงนอนซมกันทั้งหมู่บ้าน ต้องไปรักษาตัวกันที่โรงพยาบาลแจ้ห่มราว 4-7 วัน” 

 

การติดต่อสื่อสารยังเป็นปัญหาใหญ่ชองชุมชนแห่งนี้เรื่อยมาจนมาถึงวิกฤตโควิดที่ทำให้พื้นที่ต่างๆ ทั่วไทยต้องล็อกดาวน์ เด็กๆ ไปโรงเรียนไม่ได้อย่างเดิม โดยโรงเรียนต่างๆ จะปรับมาสู่การเรียนการสอนผ่านออนไลน์ ซึ่งเด็กนักเรียนจะเรียนจากที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด

 

ซึ่งปัญหาของเด็กนักเรียนที่บ้านใหม่สามัคคีนั้น ด้วยความที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร จึง ‘ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต’ ที่จะเชื่อมต่อออนไลน์สู่การเรียนกับครูได้เหมือนกับนักเรียนพื้นที่อื่น

 

 

“ในแต่ละวันเด็กนักเรียนที่นี่ต้องเดินขึ้นไปหาสัญญาณเน็ตตามสันเขาเพื่อเรียนออนไลน์ช่วงที่ปิดโรงเรียนเพราะล็อกดาวน์ ซึ่งถ้าเป็นเด็กโตประมาณ ป.3 ถึงมัธยมก็จะพอเดินไปได้ แต่ถ้าเป็นเด็กเล็กจะลำบากและไม่มีทาง ถ้ามีสัญญาอินเทอร์เน็ตในหมู่บ้านชีวิตของพวกเราทั้งเด็กและชาวบ้านจะดีขึ้นกว่านี้ โดยเฉพาะเรื่องข่าวสารความช่วยเหลือตามมาตรการต่างๆ กว่าพวกเราจะรู้ก็แทบจะสายไปทุกครั้ง” สุพัด ผู้ใหญ่บ้านแห่งนี้เล่าให้ฟังถึงความลำบากของเด็กนักเรียน

 

ดีทั่ว ดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม ดีแทคนำ ‘สัญญาณเน็ต’ เปิดโลกสู่บ้านใหม่สามัคคี

เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นดั่งกำแพงขวางกั้นชุมชนบ้านใหม่สามัคคี ‘ดีแทค’ ซึ่งเชื่อมต่อสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้บริการ พร้อมกับมุ่งสร้างสังคมไทยให้แข็งแกร่งด้วยเทคโนโลยีโทรคมนาคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

 

และหลังจากการลงพื้นที่ทีมงานดีแทคพบว่าบ้านใหม่สามัคคี (ห้วยวาด) หมู่ 7 ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่เคยมีสัญญาณมือถือหรืออินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อสื่อสารมาตลอด ทีมงานจึงได้เร่งติดตั้งนำสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งคลื่น 700 MHz และ 2100 MHz สู่ชุมชนอย่างรวดเร็วและติดตั้งเพียง 2 สัปดาห์ เพื่อรองรับการใช้งานโดยเฉพาะสถานการณ์ที่ถูกล็อกดาวน์จากโควิด การเชื่อมต่อสื่อสารจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

 

 

“นี่คือสิ่งที่ชาวบ้านรอคอยมา 18 ปี โอกาสในชีวิตที่หล่นหายได้คืนกลับมา” สุพัดในฐานะผู้ใหญ่บ้านกล่าวถึงความรู้สึกจากการมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้งานครั้งแรกในหมู่บ้าน “จากนี้ไปคนในหมู่บ้านได้เชื่อมต่อกับโลกกว้าง ชาวบ้านได้ติดต่อโทรหาลูกหลานในพื้นที่อื่นหรือจังหวัดต่างๆ หรือใช้อินเทอร์เน็ตติดต่องาน ทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ เด็กนักเรียนของเราก็ไม่ต้องเดินหาสัญญาณเสี่ยงต่อการหลุดออกนอกระบบการศึกษาเพราะเรียนออนไลน์ไม่ได้อีกต่อไป ชีวิตของพวกเราทั้งชุมชนพลิกเปลี่ยนจากเดิมสู่คุณภาพที่ดีขึ้นมาก”

 

ขณะที่ ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “เราเชื่อว่าเด็กๆ จะใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงหมู่บ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการค้นหาความรู้และจากการตั้งใจเรียนออนไลน์ ส่วนผู้ใหญ่ในหมู่บ้านก็จะสามารถใช้งานติดต่อสื่อสาร โทรหาลูกหลานในพื้นที่อื่นๆ ชุมชนจะสามารถเรียนรู้สู่แอปพลิเคชันออนไลน์เพิ่มขึ้น รวมถึงใช้อินเทอร์เน็ตมาพัฒนาอาชีพและเป็นช่องทางการซื้อขายสินค้าออนไลน์ เหนืออื่นใดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจะเป็นการปลดล็อกชุมชนสู่โลกภายนอกให้ดีทั่ว ดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม”

 

 

นับเป็นการตอกย้ำถึง ‘ดีแทค’ ที่ได้มุ่งมั่นในการนำสัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกภูมิภาคทั่วไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงการใช้งานดิจิทัล การพัฒนาโครงข่ายของดีแทคต้องมุ่งสู่การเพิ่มประสบการณ์ใช้งานสู่ชุมชน รวมทั้งสนับสนุนประเทศให้มีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ที่สำคัญสัญญาณอินเทอร์เน็ตต้องสร้างสังคมดิจิทัลสำหรับทุกคน

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X