×

เข้าใจความต่าง ร่าง แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 1448 เพื่อ #สมรสเท่าเทียม และร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต

08.07.2020
  • LOADING...

หลังจากช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา #สมรสเท่าเทียม ติดเทรนด์ทวิตเตอร์และปลุกกระแสการพูดถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อความเท่าเทียมสำหรับคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในโลกโซเชียล ซึ่งเกิดจากการเสนอร่างกฎหมายโดย ส.ส. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และคณะฯ จากพรรคก้าวไกล ที่ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ (ป.พ.พ.) จากเดิมที่ ป.พ.พ. มาตรา 1448 อนุญาตการหมั้นและการสมรสเฉพาะชายและหญิง เปลี่ยนเป็นอนุญาตให้ ‘บุคคลทั้งสอง’ นั้น (ซึ่งรวมถึงคู่รัก LGBTQ) สามารถหมั้นและจดทะเบียนสมรสเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิงทั่วไป

 

ในขณะเดียวกันนั้น วันนี้ (8 กรกฎาคม) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต (พ.ร.บ. คู่ชีวิต) และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ที่เสนอโดยกรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แล้ว และจะให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 

 

THE STANDARD รวบรวมสิทธิ หน้าที่บางอย่าง เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างร่างพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 และมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เสนอโดยพรรคก้าวไกล เพื่อการสมรสเท่าเทียม (ร่าง แก้ไข ป.พ.พ. 1448) และร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต เสนอโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ทั้งในช่วงการรับฟังความคิดเห็นในปี 2562 และจากมติ ครม. ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 อย่างไรก็ตาม ร่าง แก้ไข ป.พ.พ. ของพรรคก้าวไกล และร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ยังไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เนื่องจากต้องผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาในลำดับต่อไป

 

ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่าง แก้ไข ป.พ.พ. 1448 เพื่อ #สมรสเท่าเทียม ได้ที่ www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=94

 

ทำความเข้าใจ #สมรสเท่าเทียม เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co/equal-marriage (เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563)

 

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X