×

กระทรวง อว. ผนึก ‘didacta asia’ พลิกโฉมอนาคตการศึกษาไทย สร้างกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก ในงานมหกรรมการศึกษา ‘didacta asia 2024’ และการประชุมวิชาการ ‘didacta asia congress 2024’ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
02.10.2024
  • LOADING...
didacta asia

HIGHLIGHTS

6 min read
  • คุยกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะพาร์ตเนอร์สำคัญของ ‘didacta asia 2024’ และการประชุมวิชาการ ‘didacta asia congress 2024’ มหกรรมการศึกษาระดับแนวหน้าที่รวบรวมผลงานและการประชุมด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลกครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
  • นอกจากองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศที่นำไปร่วมแสดงในงาน กระทรวง อว. จะนำแนวทางการผลักดันนโยบายการผลิตกำลังคนเร่งด่วนตามความต้องการของประเทศมานำเสนอผ่านนิทรรศการอีกด้วย
  • กระทรวง อว. ยังมีนโยบายการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและตลาดแรงงานมากมาย ที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing University) และโครงการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox)

คนที่มีทักษะอาชีพสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม และสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของโลกปัจจุบัน ย่อมมีทางเลือกด้านอาชีพมากกว่าอย่างปฏิเสธไม่ได้

 

ข้อเท็จจริงนี้ไม่เพียงสร้างความท้าทายให้กับคนทำงาน แต่ยังส่งผลกระทบกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ‘การศึกษา’ ทั้งระบบ หรือแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้กำลังคนเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กรและสร้างแต้มต่อในตลาดโลก

 

หนึ่งในหน่วยงานที่ขับเคลื่อนพันธกิจ ‘สร้างและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ’ ก็คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

 

 

ที่ผ่านมา กระทรวง อว. มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการพัฒนาประเทศมากมาย แต่การพูดคุยกับ ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอุดมศึกษา วิทยา ศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในครั้งนี้ นอกจากเรื่องแนวทางการสนับสนุนนโยบาย IGNITE THAILAND และโครงการที่กำลังผลักดันตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 ของ อว. THE STANDARD อยากชวนคุยในฐานะพาร์ตเนอร์สำคัญของงาน ‘didacta asia 2024’ มหกรรมการศึกษาระดับแนวหน้าที่รวบรวมผลงานและการประชุมด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลกครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

 

กระทรวง อว. กับบทบาทพันธมิตรสำคัญของการประชุมวิชาการ didacta asia congress 2024 ภายในงาน didacta asia 2024

 

‘didacta asia congress 2024’ จะเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกำหนดทิศทางการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้แนวคิด ‘Rethinking Education Transformation – คิดใหม่ ทำใหม่ สู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญทางการศึกษา’ โดยความร่วมมือจากสมาคมการศึกษา และผู้นำด้านการจัดงานแสดงสินค้าจากประเทศเยอรมนี ได้แก่ Didacta Association, Koelnmesse Thailand / Expolink Global Network Co., Ltd. และ Messe Stuttgart

 

ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของงานประชุมสุดยิ่งใหญ่ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อรวบรวมบุคลากรทางการศึกษา ผู้นำสถานศึกษา องค์กรภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้จัดแสดงสินค้าด้านการศึกษาจากนานาประเทศทั่วโลก มาร่วมสำรวจแนวโน้ม นวัตกรรม และแนวทางการปฏิบัติที่จะช่วยยกระดับการศึกษาไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม และสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของโลกปัจจุบัน

 

“กระทรวง อว. ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ และเป็นหนึ่งในพันธมิตรสำคัญของงาน didacta asia congress 2024 จะทำหน้าที่เชิญสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด 155 แห่ง เข้าร่วมงานเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรม และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับการศึกษาไทย ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำแนวคิดใหม่ๆ มาปรับใช้ในการพัฒนาการศึกษาของไทย เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

 

“นอกจากนี้ เราจะนำองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศไปร่วมแสดงในงาน ไม่ว่าจะแนวทางการผลักดันนโยบายการผลิตกำลังคนเร่งด่วนตามความต้องการของประเทศ เช่น การมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือการพัฒนาหลักสูตรสมัยใหม่ที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาที่เรียกว่า ‘Higher Education Sandbox’ ซึ่งจะเป็นโมเดลการพัฒนากำลังคนรูปแบบใหม่ให้ตอบโจทย์การใช้งานของภาคอุตสาหกรรม”

 

การเข้าร่วมงานประชุมครั้งนี้ยังสอดคล้องไปกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 กระทรวง อว. โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นกรอบแนวทางดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาในการเป็นรากฐานที่สำคัญของการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และนำประเทศไปสู่การหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง (Escaping the Middle-Income Trap) ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘อุดมศึกษาสร้างคน สร้างปัญญา ปลูกฝังคุณธรรม เพื่อพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน’

 

“กระทรวง อว. มองว่ากำลังคนที่ประเทศต้องการมากที่สุดต่อจากนี้จะเป็นบุคลากรในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ งานครั้งนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานของ กระทรวง อว. อย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมา กระทรวง อว. ผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ การทำงานจึงต้องเชื่อมโยงกับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ตอบโจทย์รัฐบาล การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ นักวิชาการและนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ จะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือเพื่อให้เกิดการผลิตกำลังคน การสร้างงานวิจัย และสร้างนวัตกรรมให้มีความเป็นสากล เชื่อว่าจะเป็นแนวทางสำคัญที่เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาก้าวข้ามข้อจำกัดในการจัดการศึกษา สามารถออกแบบและจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่เป็นนวัตกรรมอุดมศึกษาได้”

 

วิถีขับเคลื่อนแนวคิด Lifelong Learning

 

สำหรับธีมงานของปีนี้ ‘Shaping the Future Skills’ ภายใต้แนวคิด ‘Lifelong Learning & Competency-based Learning’ ที่มุ่งเน้นไปที่เรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการใช้กระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ มุ่งเน้นที่การพัฒนาทักษะจุดแข็งของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน ใช้เวลาและวิธีการอย่างยืดหยุ่นตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคน ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ บอกว่า เป็นแนวคิดที่ กระทรวง อว. ขับเคลื่อนมากว่า 10 ปี

 

didacta asia

 

“แนวคิด Lifelong Learning & Competency-based Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะ เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาของไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ตลอดชีวิต และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน เพราะเป็นการเน้นพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน สร้างแรงงานที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เน้นการลงมือทำและการพัฒนาทักษะเฉพาะตัว ยังช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และกล้าคิดกล้าทำ หากเราสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายในศตวรรษที่ 21 และสามารถพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป”

 

ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ ยกตัวอย่าง ระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) ระบบทะเบียนสะสมหน่วยกิตและกลไกในการเทียบโอนความรู้หรือสมรรถนะที่ได้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และจากประสบการณ์บุคคล สำหรับเก็บสะสมไว้ในธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ ซึ่งเชื่อมโยงกับธนาคารหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษา ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนและสะสมหน่วยกิตได้ตลอดชีวิต โดยไม่มีเงื่อนไขของระยะเวลาในการสะสมและระยะเวลาในการศึกษา และสามารถเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาได้

 

“การจัดทำธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ เป็นแนวทางหนึ่งของการขับเคลื่อนแนวคิด Lifelong Learning ที่รองรับการพัฒนากำลังคนทุกช่วงวัยได้พัฒนาและเรียนรู้ทักษะใหม่ที่จำเป็นในโลกยุคปัจจุบัน นำไปต่อยอดการทำงาน พัฒนาตนเอง ตลอดจนสามารถสะสมไว้เพื่อการศึกษาต่อในระดับต่างๆ ได้”

 

ขณะเดียวกันการจะนำแนวคิด Lifelong Learning & Competency-based Learning ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ บอกว่าจะต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ และสามารถประเมินผลผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย การปรับปรุงหลักสูตรโดยเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน และต้องมีการพัฒนาระบบการวัดผลประเมินผลที่เน้นการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน แทนที่จะเน้นเพียงความรู้ที่จำ รวมถึงสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

“การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหากผู้เรียนหรือผู้ใช้แรงงานเองมองเห็นถึงประโยชน์ เพราะการมีทักษะเพิ่มมากขึ้นก็เท่ากับมีทางเลือกในอาชีพมากขึ้น ฟากผู้ประกอบการเอง ยิ่งได้คนที่สามารถเริ่มงานได้ทันทีก็เพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับคู่แข่ง

 

“ภาคเอกชนก็สามารถมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ อาทิ ร่วมกันจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน หรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกงานจริงในองค์กรเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาก็ต้องสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบแอ็กทีฟ และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน”

 

อีกหนึ่งปัจจัยเร่งสำคัญคือ นโยบายภาครัฐที่ชัดเจนในการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ มองว่าที่ผ่านมานโยบายของรัฐบาลยังไม่ชัดเจนว่าต้องการพัฒนาประเทศไปในทิศทางไหน ส่งผลต่อกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม และการจัดสรรงบประมาณของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

 

“ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา นโยบายของรัฐบาลเริ่มมีความชัดเจน อย่างนโยบาย IGNITE THAILAND ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก โดยเฉพาะใน 8 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV), อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, หุ่นยนต์, การบินและอวกาศ, เคมีชีวภาพ, อาหารอนาคต, การแพทย์และสุขภาพ และดิจิทัล”

 

 

แนวทางสนับสนุนนโยบายการผลิตกำลังคนเร่งด่วนตามความต้องการของประเทศ

 

นอกจากสถาบันการศึกษาจะต้องปรับตัวให้ทันตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวง อว. เองก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบายการผลิตกำลังคนเร่งด่วนตามความต้องการของประเทศ

 

“หากดูที่เป้าหมายหลักของนโยบายจะพบว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผ่านการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะสูงและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สร้างรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง แก้ไขปัญหาสังคม เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

 

“ใจความสำคัญคือ การผลิตกำลังคนขั้นสูงที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ซึ่งอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ทำให้ประเทศโตได้ก็คงไม่พ้นเรื่องของกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต กระทรวง อว. เรามีแผนงานในการสร้างและพัฒนากำลังคนที่ครอบคลุมในทุกระดับ ตั้งแต่กำลังคนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม นักวิจัย รวมถึงการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี โท เอก โดยในระยะ 5 ปีข้างหน้าตั้งเป้าผลิตกำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงไว้ที่ 80,000 คน, ด้าน EV 150,000 คน และด้าน AI 50,000 คน และสนับสนุนโครงการในการผลิตกำลังคนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต”

 

ทั้งนี้ โครงการที่ กระทรวง อว. ดำเนินการเพื่อสนับสนุนนโยบาย ได้แก่ โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเซมิคอนดักเตอร์, ด้านยานยนต์ไฟฟ้า และด้านปัญญาประดิษฐ์ ภายในงาน didacta asia 2024 จะได้เห็นการนำเสนอนวัตกรรมการจัดการศึกษาใหม่ ที่มุ่งผลิตกำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ให้พร้อมทำงานทันที

 

สำรวจโครงการพัฒนาทุนมนุษย์ของ กระทรวง อว.

 

กระทรวง อว. ยังมีนโยบายการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและตลาดแรงงานมากมาย ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ ยกตัวอย่าง 2 โครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนขั้นสูง (Reinventing University) และ โครงการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox)

 

 

“Reinventing University เป็นโครงการที่เราทำต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว วัตถุประสงค์หลักคือต้องการปฏิรูปมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ โดยใช้กลไกการพัฒนากำลังคนขั้นสูงเฉพาะทางตามกลุ่มยุทธศาสตร์ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก กลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม กลุ่มที่ 3 กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น กลุ่มที่ 4 กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา และ กลุ่มที่ 5 กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาในแต่ละกลุ่มสามารถสร้างความเป็นเลิศตามความเชี่ยวชาญ และสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาผ่านกลไกการเรียนรู้แบบปฏิบัติจริงเพื่อสร้างความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา

 

“อย่างกลุ่มแรกเรามุ่งไปที่การผลิตกำลังคนระดับปริญญาเอก รองรับอุตสาหกรรมขั้นสูง เช่น ยานอวกาศ การแพทย์ขั้นสูง ในขณะที่กลุ่มที่ 2 จะเน้นเรื่องนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของประเทศ คือกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น การพัฒนากำลังคนด้าน AI จะสนับสนุนเรื่องของ AI Literacy, AI Competency และ AI Ethics and Responsibility”

 

สำหรับโครงการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Sandbox) ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ บอกว่าจะเป็นโครงการที่เข้ามาปลดล็อกข้อจำกัดในการจัดการเรียนการสอน และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษาผ่านการจัดทำหลักสูตรที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox)

 

“เราตั้งเป้าผลิตกำลังคนที่ตรงต่อความต้องการของประเทศในด้านต่างๆ กว่า 20,000 คน ใน 11 สาขา ได้แก่ กำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ในระดับผู้ประกอบโรคศิลป์, กำลังคนที่มีความรู้ Frontier Knowledge ด้านเทคโนโลยี, กำลังคนด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล, กำลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม, วิศวกรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant), บัณฑิตด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้า, บัณฑิตผู้ประกอบการตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG), ผู้นำธุรกิจในอุตสาหกรรมเวลเนส, วิศวกรบูรณาการระบบ (System Integrator) และผู้บริหารระดับต้นและระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบองค์รวม”

 

โดยมีกิจกรรมการเรียนที่ กระทรวง อว. สนับสนุน ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือทำจริง (Outbound Experiential Learning Through Startup Mobilization) ผ่านการแลกเปลี่ยนไปยังต่างประเทศเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสและเรียนรู้รูปแบบการพัฒนาธุรกิจในระดับโลกจากประสบการณ์จริง จากการไปอยู่กับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร ที่มีการดำเนินการพัฒนาธุรกิจหรือสตาร์ทอัพ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ทำการต่อยอดแนวคิดธุรกิจจากรั้วมหาวิทยาลัยในประเทศสู่ตลาดระดับโลก

 

หรือกิจกรรมการแลกเปลี่ยนแนวคิดจากผู้ประกอบการหรือกิจการขนาดใหญ่จากต่างประเทศ (Inbound Experiential Learning Through Startup Mobilization) และ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเข้มข้น (Intensive Workshop) เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการต่อยอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยในเชิงการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ (University Startups) เชื่อมโยงเข้ากับประเด็นปัญหาในตลาดจริง และเตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมายในการต่อยอดธุรกิจสู่ระดับสากล

 

 

ยังมีอีกหลายองค์ความรู้ในระบบการศึกษาที่เชื่อมโยงไปกับการผลิตกำลังคนคุณภาพ ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ บอกว่า การมางาน ‘didacta asia 2024’ และการประชุมวิชาการ ‘didacta asia congress 2024’ จะเอื้อประโยชน์อย่างมากให้กับบุคคลที่กำลังจะก้าวออกไปเป็นแรงงานในตลาดโลก ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

“ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ปกครองและเยาวชนที่กำลังจะศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย จะได้เห็นว่าปัจจุบันหลักสูตรการเรียนรู้มันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อาชีพอะไรกำลังเป็นที่ต้องการในอนาคต และจะเรียนรู้ต่อยอดทักษะที่ตอบโจทย์งานเหล่านี้ได้จากที่ไหน

 

“ฟากผู้ประกอบและนักลงทุน จะได้เห็นศักยภาพของการผลิตกำลังคนของประเทศไทย นอกจากนี้จะได้สัมผัสกับสินค้า นวัตกรรม โซลูชัน และเทคโนโลยีทางการศึกษาจากนานาประเทศอย่างใกล้ชิด ในขณะที่นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา จะได้รับองค์ความรู้และแนวคิดมากมายผ่านเวทีอภิปราย เวทีเสวนา และเวทีพิเศษเปิดให้บุคลากรทางการศึกษาและผู้มีส่วนร่วมทุกท่านเข้ามาแบ่งปันประสบการณ์ แก้ไขปัญหา และสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาแห่งอนาคต เชื่อว่าจะนำไปปรับใช้และสร้างประโยชน์ให้กับงานวิจัยหรือการพัฒนาหลักสูตรต่อไป”

 

‘didacta asia 2024’ และการประชุมวิชาการ ‘didacta asia congress 2024’ มหกรรมการศึกษาระดับแนวหน้าที่รวบรวมนวัตกรรมการศึกษาและการประชุมด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลกครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อร่วมชมงานได้ที่ https://didacta-asia.com/become-a-visitor/ 

 

สำหรับผู้เข้าชมแบบหมู่คณะสามารถติดต่อ ชยาวณิชย์ ตันมาก โทรศัพท์ 0 2469 6698 หรือ [email protected]

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X