×

ปชป. ย้ำจุดยืนร่วมผลักดันแก้รัฐธรรมนูญ เป้าหมายเพื่อสร้างการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตย

โดย THE STANDARD TEAM
25.08.2021
  • LOADING...
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ

วันนี้ (25 สิงหาคม) ชินวรณ์ บุณยเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราาฎร (ส.ส.) นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ และในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 83 และ 91 แถลงแสดงจุดยืนการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขเพิ่มเติมเป็นไปตามข้อบังคับและรัฐธรรมนูญ ข้อ 114 และ 124 ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง 4 มาตราเท่านั้น ได้แก่ มาตรา 83 ระบบการเลือกตั้ง บัตร 2 ใบ มี ส.ส. เขต 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน โดยเพิ่มเติมคำว่าการเลือกตั้งต้องเป็นแบบโดยตรงและเปิดเผยเท่านั้น ส่วนมาตรา 86 เป็นการกำหนดเขตการเลือกตั้งที่ให้มี ส.ส. 400 เขตให้มีความชัดเจนขึ้น ขณะที่มาตรา 91 ที่ให้คำนวณสัดส่วน ส.ส. บัญชีรายชื่อโดยคิดฐานรวมจากคะแนนทั้งหมด โดยใช้ฐาน 100 เพื่อมาคิดคำนวณเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 และการแก้ไขบทเฉพาะกาลในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการเลือกตั้งทั่วไป หากมีการเลือกตั้งซ่อมก็ให้ดำเนินการตามกฎหมายเดิม โดยทั้งหมดนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการตามมติของพรรคและจุดยืนของพรรคอย่างชัดเจน ในความต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งด้วยระบบบัตร 2 ใบเป็นการส่งเสริมเสรีภาพของประชาชน และการคํานวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อแบบฐาน100 ไม่ใช่สัดส่วนผสมแบบเดิม จะตัดปัญหาในเรื่องการปัดเศษที่ถูกกล่าวหาและที่ถูกกล่าวหาว่ามีการซื้อเสียงเป็นจำนวนมาก โดยหวังว่าสมาชิกรัฐสภาจะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 

 

ชินวรณ์ยืนยันว่า ไม่ได้ดำเนินการตามอำเภอใจ หรือทำให้ไม่สามารถออกเสียงอย่างเปิดเผยได้ แต่เป็นการแก้ไขโดยเปิดเผยและตรงไปตรงมา ขณะที่การลงมติเป็นสิทธิของสมาชิก ซึ่งมีความเห็นพ้องต้องกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ชั้นรับหลักการจนถึงขณะนี้ หลังจากนี้ต้องทิ้งไว้ 15 วันก่อนโหวตลงมติในวาระที่ 3 

 

ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ให้ต้องมีเสียงฝ่ายค้าน 20% และเสียง ส.ว. 1 ใน 3 ซึ่งมั่นใจว่าทุกฝ่ายจะเห็นชอบ ส่วนญัตติที่ถูกเสนอมาเมื่อวานนี้เป็นเรื่องที่สมาชิกไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขระบบการเลือกตั้ง จนต้องยื่นให้รัฐสภาตีความ หรืออาจต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในฐานะที่เป็นผู้เสนอร่างและกรรมาธิการ ก็ยังมีความมั่นใจว่าจะได้รับเสียงสนับสนุน เนื่องจากดำเนินการถูกต้องตามข้อบังคับและรัฐธรรมนูญ 

 

ส่วนการแก้ไขใน 4 มาตราดังกล่าว เกี่ยวเนื่องกับหลักการชัดเจน และได้สอบถามไปทางฝ่ายกฎหมายของรัฐสภา ถามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว  

 

ส่วนการประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวานนี้เป็นการประชุมโดยอนุโลมให้สามารถดำเนินการได้ โดยกรรมาธิการเสียงข้างมากก็เห็นด้วย ในเรื่องที่จะไม่ทำให้มีญัตติขอให้รัฐสภาตีความ โดยการตัดมาตราอื่นออกให้เหลือเพียง 4 มาตราดังกล่าวเท่านั้น

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X