×

เช็กข้อมูล ‘เดลตาครอน’ (Deltacron) สายพันธุ์ลูกผสมหรือปนเปื้อนในแล็บ

09.01.2022
  • LOADING...
Deltacron
  1. เดลตาครอน (Deltacron) หรือ ‘สายพันธุ์ลูกผสม’ ระหว่างเดลตา (Delta) กับโอมิครอน (Omicron) ยังไม่ใช่ชื่อสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกตั้งขึ้น แต่เป็นรายงานข่าวที่อ้างถึงการค้นพบไวรัสที่มีสารพันธุกรรมคล้ายกับเดลตาและโอมิครอนในตัวอย่างจากผู้ป่วยจำนวน 25 รายที่ประเทศไซปรัส เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (8 มกราคม)

 

  1. ดร.ลีออนดิออส คอสทริคิส (Leondios Kostrikis) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยไซปรัส ให้สัมภาษณ์สื่อท้องถิ่นว่า “เราพบการกลายพันธุ์ที่จำเพาะกับสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์อื่นตรงที่มีการกลายพันธุ์ 30 ตำแหน่ง โดยในจำนวนนี้ 10 ตำแหน่งพบในตัวอย่างที่เก็บได้ในไซปรัส” สำหรับรายละเอียดผู้ป่วยทั้ง 25 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล 11 ราย และอีก 14 รายมาจากในชุมชน

 

  1. “ความถี่ของการกลายพันธุ์สูงกว่าในผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งอาจหมายความว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างเดลตาครอนกับการรักษาตัวในโรงพยาบาล” ดร.คอสทริคิสให้ข้อมูลเพิ่มเติม และได้ส่งผลการถอดรหัสพันธุกรรมไปยัง GISAID ซึ่งเป็นฐานข้อมูลนานาชาติแล้ว แต่ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อมีมากกว่านี้หรือไม่ หรือผลกระทบที่อาจเกิดจากสายพันธุ์นี้

 

  1. แต่ ดร.ทอม พีค็อก (Tom Peacock) นักไวรัสวิทยาแห่งอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ว่ามีความเป็นได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสารพันธุกรรมของสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอนในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากเมื่อนำข้อมูลมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ (Phylogenetic Tree) พบว่าตัวอย่างทั้งหมดไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน

 

  1. ขณะนี้เรายังมีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับ ‘เดลตาครอน’ คงต้องรอการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติก่อน ซึ่งอาจต้องแยกความเป็นไปได้ 3 กรณีคือ ไวรัสลูกผสม (Hybrid) การติดเชื้อมากกว่า 1 สายพันธุ์ในคนเดียวกัน (Mixed Infection) ซึ่งในประเทศไทยเคยมีรายงานกรณีสายพันธุ์อัลฟาและเดลตาในคนเดียวกัน หรือการปนเปื้อนของสารพันธุกรรมในห้องปฏิบัติการ 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X