×

Deep Research เอเจนต์สายวิจัยเชิงลึกที่เปิดให้ใช้แค่คนที่จ่ายเงิน 200 ดอลลาร์ แถมจำกัดให้ถามได้แค่ 100 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น (ในตอนนี้)

03.02.2025
  • LOADING...
deep-research-agent

OpenAI เปิดตัวฟีเจอร์ AI Agent ใหม่สำหรับช่วยผู้ใช้งานทำการวิจัยหรือค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่ซับซ้อน ซึ่งทำได้ผ่านการใช้งาน ChatGPT โดยฟีเจอร์ที่ออกมาใหม่นี้มีชื่อว่า Deep Research เหมือนกับชื่อของโมเดล Gemini จาก Google ที่ออกมาก่อนหน้านี้

 

OpenAI ระบุในโพสต์บนเว็บไซต์ที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (2 กุมภาพันธ์) ว่า “Deep Research ถูกออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานที่ต้องอาศัยข้อมูลเชิงลึกในด้านต่างๆ เช่น การเงิน วิทยาศาสตร์ การวางนโยบาย และงานวิศวกรรม ที่ต้องรอบคอบ แม่นยำ และน่าเชื่อถือ”

 

นอกจากนี้ OpenAI ระบุเพิ่มเติมว่า Deep Research ยังอาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลรอบด้านเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ เช่น การซื้อรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์

 

Deep Research เป็นฟีเจอร์ที่เน้นจับกลุ่มผู้ใช้งานที่ให้ความสำคัญกับความเร็วของการได้คำตอบหรือผลลัพธ์เป็นปัจจัยรอง แต่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดที่จำเป็นต้องอาศัยการพิจารณาข้อมูลจากหลายเว็บไซต์และแหล่งข้อมูลอย่างถี่ถ้วน

 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทรัพยากรการประมวลผลที่ต้องใช้อย่างมหาศาล OpenAI จึงจะเปิดให้บริการฟีเจอร์ Deep Research เฉพาะผู้ใช้งาน ChatGPT Pro ที่จ่ายเงิน 200 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น นับตั้งแต่วันนี้ (3 กุมภาพันธ์)

 

และยังจำกัดการใช้งานที่ 100 คำถามต่อเดือน โดยบริษัทระบุว่าจะเปิดให้บริการสำหรับผู้ใช้งาน ChatGPT Plus และ ChatGPT Team เป็นลำดับถัดไป ตามด้วย ChatGPT Enterprise

 

กลุ่มผู้ใช้งาน ChatGPT Plus น่าจะสามารถเข้าถึง Deep Research ภายในหนึ่งเดือนนับจากนี้ตามโพสต์บนเว็บไซต์ของ OpenAI และจำนวนการจำกัดคำถามที่กำลังบังคับใช้อยู่ในตอนนี้ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อบริษัทออกโมเดลใหม่ที่มีขนาดเล็กและประหยัดต้นทุนกว่าได้

 

สำหรับการใช้ Deep Research แค่เลือกปุ่ม Deep Research ในกล่องพิมพ์ข้อความเพื่อกรอกคำถาม โดยสามารถแนบไฟล์หรือ Spreadsheets ได้ ซึ่งการค้นข้อมูลด้วย Deep Research อาจใช้เวลาเตรียมคำตอบประมาณ 5-30 นาที (ตามที่ OpenAI ระบุ)

 

แต่คำถามสำคัญคือ Deep Research แม่นยำแค่ไหน?

 

OpenAI ยอมรับว่า AI ยังไม่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้องแบบสมบูรณ์ โดย Deep Research อาจมีข้อผิดพลาด เช่น อาการหลอน (Hallucination) และข้อผิดพลาดอื่นๆ ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุที่งาน Deep Research ทุกชิ้นจะมีเอกสารประกอบ พร้อมแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนเพื่อให้การตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบที่ Deep Research สร้างขึ้นกับแหล่งอ้างอิงทำได้ง่าย

 

“Deep Research ยังไม่อาจแยกแยะข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือออกจากข้อมูลข่าวลือได้ แต่บริษัทคาดว่าปัญหาเหล่านี้จะได้รับการปรับปรุงในเร็ววันเมื่อเวลาผ่านไปและอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้น”

 

นอกจากนี้ฟีเจอร์การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ออกมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2024 อย่าง ChatGPT Search ก็ยังมีข้อผิดพลาดและให้คำตอบที่ผิดในบางคำถาม

 

โดยสำนักข่าว TechCrunch ได้ทดสอบและพบว่า ChatGPT Search ให้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์น้อยกว่าการค้นข้อมูลบน Google ในบางคำถาม แต่ OpenAI ยืนยันว่า Deep Research มีโอกาสสร้างคำตอบที่ผิดน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบโมเดลก่อนๆ ของบริษัท

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising