โทเคน MANA เพิ่มขึ้นกว่า 60% ในสัปดาห์นี้ จากความเชื่อมั่นเชิงบวกที่เริ่มกลับมาในตลาดเงินสกุลดิจิทัลอีกครั้ง นอกจากนี้ เหรียญ Metaverse อื่นๆ เช่น The Sandbox (SAND) ปรับตัวสูงขึ้นถึง 35% เหรียญ Enjin Coin (ENJ) เพิ่มขึ้น 42.3%
การปรับตัวสูงขึ้นครั้งนี้มีส่วนมาจากราคา Bitcoin ที่สามารถฟื้นตัวขึ้นมาเหนือ 21,000 ดอลลาร์ได้ หลังจากที่เหรียญกลุ่ม Metaverse มีมูลค่าร่วงลง 80-90% ในปี 2022 เนื่องจากตลาดคริปโตซื้อขายในสภาวะตลาดหมี
เหรียญ Decentraland (MANA) ปรับตัวขึ้นกว่า 60% ในสัปดาห์นี้
ย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว เหรียญกลุ่ม Metaverse มีมูลค่าร่วงลง 80-90% เนื่องจากตลาดคริปโตซื้อขายในสภาวะตลาดหมี ซึ่งถูกตอกย้ำด้วยการล่มสลายของเครือข่าย Terra และการล้มละลายของ FTX เว็บเทรดคริปโตชื่อดัง
อย่างไรก็ตาม โทเคน MANA เพิ่มขึ้นกว่า 60% ในสัปดาห์นี้ จากความเชื่อมั่นเชิงบวกที่เริ่มกลับมาในตลาดเงินสกุลดิจิทัลอีกครั้ง โดยราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้คาดว่ามาจากความสนใจในการเก็งกำไรในเหรียญ Altcoin ที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ Bitcoin สามารถฟื้นตัวขึ้นมาเหนือ 21,000 ดอลลาร์ได้
นอกจากนี้ Decentraland ได้ประกาศว่าจะจัดงาน Metaverse Fashion Week 2023 ระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคมนี้ โดยคาดว่าเหตุการณ์นี้อาจดึงดูดผู้ชมจำนวนมากขึ้นสู่โลกเสมือนจริง และนำไปสู่ความสนใจของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น
Decentraland เป็นแพลตฟอร์มแบบกระจายอำนาจที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างประสบการณ์และสร้างรายได้จากเนื้อหาและแอปพลิเคชันภายในโลกเสมือนจริง โดยมีเหรียญ MANA เป็นโทเคนดั้งเดิมของเครือข่ายที่ใช้สำหรับการทำธุรกรรม
นอกจากเหรียญ Decentraland (MANA) ที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 60% ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาแล้ว เหรียญกลุ่ม Metaverse ชั้นนำอย่าง The Sandbox (SAND) ปรับตัวสูงขึ้นถึง 35% เหรียญ Enjin Coin (ENJ) เพิ่มขึ้น 42.3% ทางด้านเหรียญ Axie Infinity แม้ว่าจะปรับตัวขึ้นน้อยกว่าเหรียญอื่นในกลุ่ม แต่ก็ยังสูงขึ้นกว่า 10% เลยทีเดียว ซึ่งผลตอบแทนโดยรวมของเหรียญในกลุ่ม Metaverse อยู่ที่ 25% ใน 1 สัปดาห์
ข้อมูลจาก CoinGecko ยังเปิดเผยว่า เหรียญในกลุ่ม Play to Earn และ Move to Earn ก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยเหรียญ GALA เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 17.3% และเหรียญ STEPN (GMT) ให้ผลตอบแทนที่ 42.8% ในสัปดาห์นี้
เทรนด์ Metaverse กลับมาแล้วหรือยัง
แม้ว่า Metaverse จะเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่กระแสนี้ได้รับความนิยมและถูกพูดถึงอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2021 หลังจากที่บริษัทโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ Facebook เปลี่ยนชื่อเป็น Meta และต้องการเข้าถึงโลกเสมือนจริง
Metaverse เป็นการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของเทคโนโลยี รวมทั้งความเป็นจริงเสมือน (VR) ความเป็นจริงเสริม (AR) และวิดีโอที่ผู้คนใช้ชีวิตภายในโลกดิจิทัล Metaverse จึงเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างโลกความเป็นจริงและโลกเสมือนนั่นเอง
ในช่วงต้นปี 2022 บริษัทต่างๆ ได้จัดสรรเงินทุนจำนวนมากในโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse อย่างไรก็ตาม ตลาดคริปโตที่เป็นขาลง ทำให้ความสนใจและปริมาณการซื้อขายลดลงอย่างมาก ส่งผลให้กิจกรรมในภาคส่วนนี้ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว
การเพิ่มขึ้นของโทเคน MANA และเหรียญ Metaverse อาจไม่ได้บ่งบอกถึงการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมนี้อย่างกว้างขวาง แต่ในระยะยาว Metaverse มีศักยภาพที่จะเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มแบบกระจายอำนาจ (Decentralized) เนื่องจากผู้คนต้องการมีปฏิสัมพันธ์ในโลกเสมือนมากขึ้นในอนาคต
ปัจจุบันผู้คนสามารถเข้าถึง Metaverse ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม กิจกรรมเชิงพาณิชย์ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน รวมถึงเทศกาลและคอนเสิร์ต อีกทั้งหลายประเทศยังเริ่มใช้ Metaverse เพื่อโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวอีกด้วย
การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงและความผันผวนสูงมาก นักลงทุนจึงควรกระจายความเสี่ยง ศึกษาหาข้อมูล และวางแผนในการลงทุนด้วยความรอบคอบ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น
อ้างอิง: