เริ่มต้นปีใหม่นี้ นักลงทุนทั้งหลายต่างมีเป้าหมายจะสร้างพอร์ตการลงทุนให้แข็งแกร่งต้อนรับปีมังกร การเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมตามสถานการณ์ตลาดจึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ ซึ่งนอกเหนือจากการสร้างผลตอบแทนที่ดีแล้ว ยังช่วยรักษาเสถียรภาพให้พอร์ตการลงทุน หากตลาด (ทุน) มีความผันผวนเกิดขึ้น
และสินทรัพย์การลงทุนที่จะกล่าวถึงในครั้งนี้นั่นก็คือ ‘ตราสารหนี้’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ได้รับอานิสงส์โดยตรงจากการสิ้นสุดของวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
ที่คาดการณ์กันไว้ว่าปีนี้จะเป็นปีทองของตราสารหนี้ เนื่องจากแรงดึงดูดของอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเกิดจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้นมาอย่างแรงและเร็วในช่วงก่อนหน้า และเพื่อการเตรียมพร้อมและคว้าโอกาสลงทุนก่อนที่นโยบายอัตราดอกเบี้ยจะกลับทิศเป็นขาลง และหนุนให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวขึ้น การเข้าลงทุนตราสารหนี้ในช่วงเวลานี้จึงมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก
ถ้าจะย้อนกลับไปในปี 2566 ผลตอบแทนของการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ต่างได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ การปรับตัวขึ้นของราคากลุ่มพลังงาน ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) รวมถึงปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วโลก นั่นคือแรงกดดันจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อควบคุมตัวเลขเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยมีการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปอยู่ที่ระดับ 5.50% ถือเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 22 ปี
ซึ่งวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยนี้ได้เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2565 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสกัดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อที่เคยสูงถึง 8% ในช่วงก่อนหน้า ก่อนที่จะลดระดับลงแตะ 3.2% ในช่วงปลายปี ถือเป็นข่าวดีต่อตลาดการลงทุนและส่งผลให้ Fed เริ่มส่งสัญญาณที่ผ่อนคลายต่อการขึ้นดอกเบี้ย สังเกตได้จากการตรึงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันถึง 2 ครั้งในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับนโยบายการเงินของประเทศไทยที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% หลังจากที่มีการทยอยปรับขึ้นในปี 2566 โดย กนง. มองว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยมีโอกาสที่จะฟื้นตัวต่อได้จากอุปสงค์ของภาคการท่องเที่ยว การบริโภค และแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากนโยบายของภาครัฐ
อย่างไรก็ดี แม้การดำเนินนโยบายทางการเงินดังกล่าวได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่สำหรับภาคธุรกิจเองกลับได้รับผลกระทบเชิงลบต่อภาระต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
เห็นได้จากข่าวของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้หลายรายที่ประสบปัญหาในการชำระหนี้ มีความจำเป็นในการขอขยายระยะเวลาการชำระเงินคืน และนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ในที่สุด
แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ความเสียหายต่อมูลค่าเงินลงทุนของนักลงทุน ผลกระทบมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามสัดส่วนการลงทุน ซึ่งทางเลือกที่สามารถลดทอนหรือจำกัดความเสี่ยงจากการลงทุนลักษณะนี้คือ การเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวม เนื่องจากกองทุนรวมจะใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญของทีมผู้จัดการกองทุนและนักวิเคราะห์การลงทุนในการวิเคราะห์ รวมทั้งคัดเลือกตราสารที่มีคุณภาพดี มีความมั่นคงและปลอดภัย รวมถึงกระจายความเสี่ยงในแง่รายอุตสาหกรรมรายประเทศ อันดับความน่าเชื่อถือ และอายุตราสารอย่างเหมาะสม ผ่านพอร์ตการลงทุนที่ออกแบบและบริหารโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่มีประสบการณ์สูง
ปัจจุบัน บลจ.ไทยพาณิชย์ฯ (SCBAM) มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินในรูปแบบกองทุนรวมตราสารหนี้ที่หลากหลาย ตอบโจทย์เป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการพักเงินระยะสั้นแบบกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น หรือเพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะกลางถึงยาว เช่น กองทุน Term Fund, กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ระยะยาว หรือเพื่อกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ก็มีกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศจำนวนมากหลากหลายนโยบายให้นักลงทุนสามารถเลือกสรรจัดพอร์ตการลงทุนของตนเองได้
ซึ่งล่าสุด SCBAM ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ใหม่คือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Dynamic Bond (SCBDBOND) กองทุนตราสารหนี้ที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบเชิงรุกและมีความยืดหยุ่นสูง กระจายการลงทุนทั้งในด้านดูเรชัน ด้านผู้อออกตราสารที่เป็นภาครัฐและเอกชน จากภายในไทยและต่างประเทศ พร้อมปรับเปลี่ยนพอร์ตเพื่อหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าโดยไม่ยึดติดกับน้ำหนักดัชนีอ้างอิงใด มีทีมผู้จัดการกองทุนคอยดูแลพอร์ตให้ เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายการลงทุน
นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ในทุกสภาวะทิศทางดอกเบี้ยได้
กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ และผลการดำเนินงานในอดีตมิได้ยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุนได้ที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ โทร. 0 2777 7777 หรือเว็บไซต์ www.scbam.com