×

‘ความพยาบาทเป็นของหวาน’ ทำความรู้จัก ‘ล่า’ ละครระดับตำนานจากปลายปากกา ทมยันตี

โดย สะเลเต
13.12.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 Mins. Read
  • ล่า ว่าถึงเรื่องราวของสองแม่ลูกที่ใช้ชีวิตอยู่ในสลัม จนกระทั่งวันหนึ่งพวกเธอเข้าไปพัวพันกับแก๊งนักเลง 7 คนจนพวกนั้นถูกจับ การแก้แค้นของพวกมันคือการดักฉุดเธอและลูกไปข่มขืน เหตุการณ์นั้นทำให้ลูกสาวของเธอเสียสติ ส่วนกลุ่มนักเลงที่ติดคุกแค่ไม่กี่ปีก็ออกมาเพราะผู้มีอิทธิพลคุ้มหัว สุดท้ายคนเป็นแม่เลยต้องตั้งตนเป็นศาลเตี้ยหาทางล่าทรชนเหล่านั้นเอง
  • แม้จะถูกสร้างเป็นหนังในเวอร์ชันแรก แต่ ล่า ที่ตราตรึงแฟนๆ คงเป็นฉบับละครเมื่อปี 2537 ซึ่งเอ็กแซ็กท์หยิบมาทำ โดยได้นก-สินจัย เปล่งพานิช รับบทแม่ผู้แบกรับความแค้น ส่วนลูกที่ถูกกระทำ งัด-สุพล วิเชียรฉาย ผู้กำกับ ชักชวนเด็กสาววัย 13 ปี ทราย เจริญปุระ เข้าสู่งานแสดงเป็นครั้งแรก และแจ้งเกิดได้เป็นอย่างดี

 

ที่มาของเรื่องนี้ว่ากันว่า เมื่อปี 2517 ทมยันตีได้ไปพบเด็กหญิงคนหนึ่งวัย 13-14 ปี ที่โรงพยาบาล เด็กคนนั้นไม่รับรู้เรื่องราวอะไร มีเพียงรอยยิ้มและดวงตาใสซื่อบริสุทธิ์ เมื่อสอบถามญาติก็ได้ความว่า เด็กหญิงถูกคนร้ายในละแวกบ้านข่มขืนอย่างทารุณ จากนั้นจึงกลายเป็นคนบ้า

 

“ล่า” คือละครตีแผ่มุมมืดของสังคมไทยที่หลายคนยังคงติดตากับความเครียด หดหู่ แม้จะผ่านมา 23 ปีแล้วก็ตาม

 

ทำไมต้อง ‘ล่า’ ?

คอวรรณกรรม หรือคนที่อายุ 30 ขึ้นไปอาจจะคุ้นเคยกันดีกับ ล่า แต่สำหรับคนไม่เข้าข่ายนั้นคงสงสัยอยู่บ้างว่าทำไมละครเรื่องหนึ่งจึงกลายเป็นประเด็นตั้งแต่ยังไม่ทันออนแอร์

 

ถ้าจะให้บอกคงเป็นเพราะ ล่า ไม่ใช่ละครทั่วไปที่จบด้วยความแฮปปี้เอ็นดิ้งของพระ-นาง และไม่ใช่ละครที่แปะยี่ห้อ ‘สะท้อนสังคม’ ไว้เพื่อเป็นข้ออ้างในการนำเสนอฉากแรงๆ เพื่อเรียกเรตติ้ง   

 

ล่า ว่าถึงเรื่องราวของสองแม่ลูกที่ใช้ชีวิตอยู่ในสลัม จนกระทั่งวันหนึ่งพวกเธอเข้าไปพัวพันกับแก๊งนักเลง 7 คนจนพวกนั้นถูกจับ การแก้แค้นของพวกมันคือการดักฉุดเธอและลูกไปข่มขืน เหตุการณ์นั้นทำให้ลูกสาวของเธอเสียสติ เมื่อเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาก็กลับกลายเป็นคนไร้ความรู้สึก ไร้ความทรงจำ ส่วนกลุ่มนักเลงที่ติดคุกแค่ไม่กี่ปีก็ออกมาเพราะผู้มีอิทธิพลคุ้มหัว สุดท้ายคนเป็นแม่เลยต้องตั้งตนเป็นศาลเตี้ยหาทางล่าทรชนเหล่านั้นเอง ให้สมกับประโยคสำคัญของเรื่องที่ว่า ‘ความพยาบาทเป็นของหวาน’  

 

     

นวนิยายแนวดราม่าเรื่องนี้ ประพันธ์โดย ทมยันตี หรือคุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์  ซึ่งความที่เนื้อหาพูดถึงหญิงสาวที่ถูกข่มเหงทำร้ายแล้วลุกมาล้างแค้น ทำให้หลายคนอดนึกถึง I Spit on Your Grave หนังอันโด่งดังของผู้กำกับ มีเออร์ ซาร์ชี (Meir Zarchi) เมื่อปี 1978 ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันไม่ได้ ซึ่งทมยันตีก็เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า

 

“ตอนเขียนดิฉันอยู่เมืองไทย เชิด ทรงศรี อยู่เมืองนอก เขากลับมาก็บอกว่ามีหนังเรื่องหนึ่งคล้ายเรื่อง ล่า มาก ชื่อเรื่อง I Spit on Your Grave ดิฉันถามว่าเคยเป็นนิยายไหม เขาบอกไม่เคย เป็นหนังเลย ก็แปลก ทำไมละม้ายกัน เราก็เออๆ ออกมาจากไหนก็ช่างมัน เราจะเขียนนวนิยายของเรา ถ้าเหมือนกันก็ช่างเขา”

 

     

อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้วที่มาของเรื่องนี้ว่ากันว่า เมื่อปี 2517 ทมยันตีได้ไปพบเด็กหญิงวัย 13-14 ปีคนหนึ่งที่โรงพยาบาล เด็กคนนั้นไม่รับรู้เรื่องราวอะไร มีเพียงรอยยิ้มและดวงตาใสซื่อบริสุทธิ์ เมื่อสอบถามญาติก็ได้ความว่า เด็กหญิงถูกคนร้ายในละแวกบ้านข่มขืนอย่างทารุณ จากนั้นจึงกลายเป็นคนบ้า อารมณ์ร้าย ตกใจ หวาดกลัว และหวีดร้องเมื่อเจอผู้ชาย แม้กระทั่งกับหมอที่รักษา เจอทีไรก็มักจะวิ่งไปซ่อนตัวในมุมมืด ในที่สุดหมอจึงตัดเส้นประสาทส่วนความจำของเด็กคนนั้นเพื่อขจัดความกลัว

 

ฟังแล้วนักเขียนดังสะเทือนใจ จึงเขียนเป็นนวนิยายสะท้อนความรู้สึกของผู้เป็นแม่ว่าเป็นอย่างไรหากลูกโดนเช่นนั้น โดยตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารลลนา ของสุวรรณี สุคนธา เมื่อปี 2519 และถูกสร้างเป็นหนังเมื่อปี 2520 นำแสดงโดย อรัญญา นามวงศ์, สมบัติ เมทะนี, ลลนา สุลาวัลย์  

การแสดงของนก สินจัย เป็นที่กล่าวขวัญมาก เพราะเธอทำการบ้านหนักจนเข้าถึงตัวละครได้เป็นอย่างดี ถึงขนาดว่าเมื่อแสดงเสร็จก็ไม่สามารถสลัดคาแรกเตอร์นี้ออกได้ ต้องให้แม่ชีเทศน์เพื่อให้หลุดจากตัวละคร

Photo: th.13322.com

 

ล่า’ รางวัล

แม้จะถูกสร้างเป็นหนังในเวอร์ชันแรก แต่ ล่า ที่ตราตรึงแฟนๆ คงเป็นฉบับละครเมื่อปี 2537 ซึ่งเอ็กแซ็กท์หยิบมาทำ โดยได้นก-สินจัย เปล่งพานิช รับบทแม่ผู้แบกรับความแค้น ส่วนลูกที่ถูกกระทำ งัด-สุพล วิเชียรฉาย ผู้กำกับ ชักชวนเด็กสาววัย 13 ปี ทราย เจริญปุระ เข้าสู่งานแสดงเป็นครั้งแรก และแจ้งเกิดได้เป็นอย่างดี

 

     

นอกจากเนื้อหาละครที่ถือว่ารุนแรงมากในยุคนั้น การแสดงของนก สินจัย ยังเป็นที่กล่าวขวัญมาก เพราะเธอทำการบ้านหนักจนเข้าถึงตัวละครได้เป็นอย่างดี ถึงขนาดว่าเมื่อแสดงเสร็จก็ไม่สามารถสลัดคาแรกเตอร์นี้ออกได้ ต้องให้แม่ชีเทศน์เพื่อให้หลุดจากตัวละคร โดยผลของความทุ่มเททำให้เธอคว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงดีเด่นจากเวทีโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2537 ไปครอง พร้อมกับปรากฏการณ์ที่นักแสดงและผู้ร่วมงานในหอประชุมแทบทุกคนลุกขึ้นปรบมือให้

 

 

ส่วน ล่า เวอร์ชัน 2017 ที่ผู้จัด กล้วย-ปรารถนา บรรจงสร้าง มารีเมกให้เอ็กแซ็กท์นั้น เดาไว้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะส่งให้ หมิว-ลลิตา ปัญโญภาส นางเอกในตำนานซึ่งมารับบทแม่ได้ขึ้นไปยืนบนเวทีประกาศรางวัลในฐานะผู้เข้าชิงนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมในหลายเวทีแน่นอน

 

 

ล่า’ อย่างลงลึก

ไม่เพียงแค่เหล่านักแสดงอย่างหมิว ลลิตา, แท่ง-ศักดิ์สิทธิ์  แท่งทอง, เต๋า-สมชาย เข็มกลัด, ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, รัดเกล้า อามระดิษ ฯลฯ ที่น่าจับตา ในส่วนของตัวบทก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะนอกจาก 4 นักเขียนบทมือดีของเอ็กแซ็กท์ คือพิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, วรรณถวิล สุขน้อย, พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข, วีรพล บุญเลิศ ยังมีเซอร์ไพรส์อีก

 

 

นั่นคือได้คณะแพทย์ นำทีมโดย นพ. วิทวัส ศิริประชัย หรือจ่าพิชิต ขจัดพาลชน แห่งแฟนเพจเฟซบุ๊ก Drama Addict มาเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาของโรคจิตเวช อาการต่างๆ รวมถึงการรักษาให้สอดคล้องกับปัจจุบัน

 

“พล็อตจะลงถึงเรื่องการข่มขืน ภาวะบาดแผลในจิตใจหลังถูกข่มขืน ภาวะซึมเศร้า อาการทางจิตเวช การฆ่าตัวตาย บลาๆ ประเด็นหนักมาก และคนเขียนบทเขาก็ทุ่มเทแก้ไขบท เพื่อให้ละครมันออกมาดี เพื่อสื่อให้คนดูเข้าใจว่าการข่มขืนมันเลวร้ายและสร้างผลกระทบกับแม่ลูกคู่หนึ่งได้รุนแรงแสนสาหัสขนาดไหน คือกรูกับเพื่อนไม่ได้เสนอตัวไปเป็นที่ปรึกษา แต่คนเขียนบท ทีมละครเขาติดต่อมาเอง เพราะเขาอยากทำละครเรื่องนี้ให้ออกมาดีที่สุด มีประโยชน์กับประชาชนที่สุด มีความถูกต้องของข้อมูลทางการแพทย์มากที่สุด” จ่าพิชิตระบุไว้ในเพจ เพื่ออธิบายถึงความตั้งใจให้ละครไทยจะช่วยปรับเปลี่ยนสังคมให้ดีขึ้นโดยสอดแทรกค่านิยมดีๆ ไปกับละคร

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising