×

ราคาน้ำมันดิบ WTI พุ่งแตะ 124 ดอลลาร์ ป่วนตลาดหุ้นโลก ดัชนี Nikkei 225 เปิดตลาดร่วงกว่า 3.26%

07.03.2022
  • LOADING...
ราคาน้ำมันดิบ

ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกยังคงพุ่งทะยานต่อเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยล่าสุดเช้าวันนี้ (7 มีนาคม) เวลา 08.05 น. ตามเวลาประเทศไทย สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนเมษายน พุ่งขึ้น 8.62 ดอลลาร์ หรือ 7.45% แตะที่ 124.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้าวันนี้ส่วนใหญ่เปิดตลาดในแดนลบ โดยดัชนี Nikkei 225 เปิดตลาดร่วงลงกว่า 3.26% หรือราว 800 จุด มาเคลื่อนไหวที่ระดับ 25,137 จุด ส่วนดัชนี Dow Jones Futures ร่วงลง 1.16% มาเคลื่อนไหวที่บริเวณ 33,193 จุด

 

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวในรายการ State of the Union ของสถานีโทรทัศน์ CNN ในวันอาทิตย์ (6 มีนาคม) ว่า สหรัฐฯ และชาติพันธมิตร อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะระงับการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย เพื่อตอบโต้รัสเซียที่ใช้กำลังทหารบุกโจมตียูเครน 

 

CNN ยังรายงานด้วยว่า นับตั้งแต่ที่รัสเซียบุกยูเครนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยในสหรัฐฯ ก็ขยับปรับขึ้น 47 เซนต์ หรือ 13% ทำให้ราคาขายโดยเฉลี่ยของน้ำมันในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นแตะระดับ 4 ดอลลาร์ต่อแกลลอนเรียบร้อยแล้วในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำสถิติแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 และมีสิทธิ์ขยับขึ้นแตะระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 4.11 ดอลลาร์ต่อแกลลอนภายในเร็ววันนี้

   

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญมองว่า ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องเผชิญอยู่แล้วท่ามกลางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว เนื่องจากความต้องการบริโภคพลังงานของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ปีนี้มีแนวโน้มฟื้นกลับมา แต่การผลิตและการนำเข้ายังเท่าเดิม โดย ทอม โคลซา หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์พลังงานระดับโลกจาก Oil Price Information Service กล่าวว่า ต่อให้ไม่มีมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ราคาน้ำมันในสหรัฐฯ ก็มีโอกาสขยับแตะ 4.25-4.50 ดอลลาร์ต่อแกลลอนอยู่แล้ว

 

โคลซาย้ำว่า สหรัฐฯ แทบไม่ได้นำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเลย ดังนั้นมาตรการคว่ำบาตรจึงไม่กระทบต่อสหรัฐฯ อีกทั้งราคาเฉลี่ยของน้ำมันเมื่อ 1 ปีที่แล้วลดลงมาอยู่ที่ 2.76 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เพราะเศรษฐกิจเพิ่งจะฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด และผู้คนกับภาคธุรกิจส่วนใหญ่ยังล็อกดาวน์หรือชัตดาวน์อยู่

 

ทั้งนี้ ครัวเรือนโดยเฉลี่ยของสหรัฐฯ จะใช้น้ำมันอยู่ที่ราว 90 แกลลอนต่อเดือน ซึ่งหมายความว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.25 ดอลลาร์ ทำให้ผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอยู่ที่ประมาณ 105 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือเกือบ 1,300 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งยังอยู่ในขอบเขตที่ชนชั้นกลางชาวอเมริกันส่วนใหญ่แบกรับได้

 

อ้างอิง: 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X