×

ตามรอยคันนา…ค้นหาวิถีพุทธเกษตร [PR NEWS]

โดย THE STANDARD TEAM
30.07.2019
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • โรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ ไร่เชิญตะวัน เปิดดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2555 มีแกนกลางของหลักสูตรคือเศรษฐศาสตร์วิถีพุทธ หรือพุทธเศรษฐศาสตร์ และการทำเกษตรโดยยึดถือหลักพุทธธรรมอันเรียกว่าพุทธเกษตร ที่เน้นในเรื่องของความยั่งยืน มีหลักคิดสำคัญคือความรับผิดชอบต่อสังคมเริ่มต้นจากข้าวเมล็ดเดียว จึงสอนในเรื่องพุทธเกษตรอินทรีย์ ซึ่งยังผลดีต่อทั้งสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนต่อชุมชนไปจนถึงสังคมโดยรวม
  • บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะภาคเอกชน ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมศักยภาพของชาวนาให้เป็นผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงได้จัดโครงการเชิดชูและส่งเสริมองค์ความรู้ชาวนาผู้เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในทุกด้านแก่ประเทศ โดยให้การสนับสนุนโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ ไร่เชิญตะวัน

เมื่อเร็วๆ นี้ THE STANDARD ได้รับเกียรติให้ร่วมทริปเดินทางไปยังจังหวัดเชียงราย เพื่อไปเยี่ยมชม โรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ ไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย งานนี้นอกจากจะได้สัมผัสกับการเกษตรในวิถียั่งยืนที่นำหลักธรรมะเข้ามาผนวกเป็นแกนกลางแล้ว ยังได้รู้ว่าภาคเอกชนอย่าง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย ยังได้จัดให้มีโครงการดีๆ ที่ช่วยเชิดชูและส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับชาวนาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย 

 

พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) หรือ ว.วชิรเมธี

 

พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) หรือ ว.วชิรเมธี เล่าว่าโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ ไร่เชิญตะวัน เปิดดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2555 โดยได้มีแกนกลางของหลักสูตรคือเศรษฐศาสตร์วิถีพุทธหรือ ‘พุทธเศรษฐศาสตร์’ และการทำเกษตรโดยยึดถือหลักพุทธธรรมอันเรียกว่า ‘พุทธเกษตร’ ที่เน้นในเรื่องของความยั่งยืน มีหลักคิดสำคัญคือ ‘ความรับผิดชอบต่อสังคมเริ่มต้นจากข้าวเมล็ดเดียว’ ดังนั้นหลักสูตรชาวนาของโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์จึงสอนในเรื่อง ‘พุทธเกษตรอินทรีย์’ ซึ่งยังผลดีต่อทั้งสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนต่อชุมชนไปจนถึงสังคมโดยรวม ทั้งนี้โรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ได้มีการอบรมชาวนามาอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรครอบคลุมการทำเกษตรอินทรีย์ การบริหารจัดการผลผลิตการเกษตร การตลาด 4.0 การสร้างแบรนด์ สนทนาภาษาอังกฤษและภาษาจีน การแปรรูป และการตลาดออนไลน์ ฯลฯ และในปีล่าสุดนี้ก็มีนักเรียนมาถึงรุ่นที่ 7 แล้ว 

 

ทั้งนี้นักเรียนของโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์รุ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ พัฒนาเป็นเครือข่าย ‘เชียงรายออร์แกนิก’ เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ 4 จังหวัดภาคเหนือ พัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการอินทรีย์และส่งออก ฯลฯ 

 

บัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เล่าว่าทางบริษัทได้ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สู่ความยั่งยืนภายใต้กรอบการทำงาน 3 เสาหลักคือ มุ่งมั่นทำธุรกิจด้วยใจที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Heart) มุ่งมั่นสร้างสังคมที่ยั่งยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดี (Health) และเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Home) ดังนั้นบริษัทจึงได้ดำเนินงานภายใต้ปณิธาน ‘ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้กับทุกคน’ มาอย่างต่อเนื่อง  

 

ส่วนสาเหตุที่จัดทำโครงการเชิดชูและส่งเสริมองค์ความรู้ชาวนาขึ้นมานั้นเกิดจากแนวคิดของ ธานินทร์ บูรณมานิต กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและต้องการเชิดชูสนับสนุนชาวนาผู้เป็นรากฐานของเศรษฐกิจไทย 

 

บัญญัติ คำนูณวัฒน์ 

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) 

 

“ซีพี ออลล์ ในฐานะภาคเอกชน ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาศักยภาพของชาวนาในการเป็นผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกับขอยกย่องเชิดชูชาวนาผู้ปลูกข้าว ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในทุกด้านแก่ประเทศ เมื่อความคิดนี้เกิดขึ้นจึงมองหาว่ามีโครงการไหนที่เราจะสามารถให้การสนับสนุนได้บ้าง ก็พบว่าโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ของพระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) หรือ ว.วชิรเมธี น่าสนใจมากๆ เพราะมีการส่งเสริมชาวนาอย่างเป็นรูปธรรม คือมีทั้งโรงเรียนที่จัดการศึกษาอย่างเป็นหลักสูตร มีรุ่นปีการศึกษาที่ชัดเจน และมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อเกษตรกรในยุคปัจจุบัน

 

“เราจึงให้การสนับสนุนทั้งด้านทุนและองค์ความรู้ เช่น ชาวนาเขาอาจจะมีความรู้ในเรื่องของการผลิต เรื่องการปลูก เรื่องเมล็ดพันธุ์ดีอยู่แล้ว แต่ซีพี ออลล์ คิดว่าองค์ความรู้ที่เราน่าจะมาช่วยส่งเสริมตรงนี้ได้ก็คือเรื่องของการตลาด ซึ่งเรามีความเชี่ยวชาญพอสมควร พูดง่ายๆ ก็คือเรื่องของการประกอบธุรกิจ เช่น ต้องคำนึงถึงต้นทุนการตลาดไปจนถึงการจัดจำหน่าย ซึ่งก็อาจจะเป็นในรูปแบบของคนในองค์กรของเรามาชี้แนะ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ หรืออาจเชิญวิทยากรจากที่อื่นมาสอนก็ได้ แต่การจะเชิญวิทยากรมาแต่ละครั้งก็จำเป็นจะต้องมีค่าใช้จ่าย​ ซึ่งทางซีพี ออลล์ ก็จะช่วยสนับสนุนตรงนี้ ​นอกจากนี้อาจจะช่วยสนับสนุนในเรื่องทุนการศึกษาให้กับลูกหลานชาวนา ซึ่งเรามีสาขาวิชานวัตกรรมการจัดการเกษตรของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสังคมในกลุ่มบริษัท ซีพี ออลล์ อยู่แล้ว” 

 

นักเรียนชาวนารุ่นที่ 7 

 

พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) หรือ ว.วชิรเมธี ผู้ก่อตั้งโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ ยังเล่าให้ THE STANDARD ฟังอีกว่า “โรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ของเราทำงานกับชาวนาผู้เป็นรากฐานของประเทศโดยตรง โรงเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ ​เป็นสถาบันการศึกษาทางเลือกเพื่อการพัฒนา​ตามปรัชญา​พุทธเศรษฐศาสตร์​ที่ประยุกต์นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร การศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติของเราเน้นทำมาหากิน…คู่ทำมาหาธรรม ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มาเรียนรู้ โดยผู้สนใจมีคุณสมบัติขอแค่เป็น ‘คน’ ก็มาเรียนได้แล้ว 

 

CP ALL

 

ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้พัฒนาระดับประเทศ และยังเปิดกว้างให้สหประชาชาติได้มาเรียนรู้ ตอนนี้โรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ร่วมกับเครือข่ายนักเรียนของเรา สร้างศูนย์การเรียนรู้ดูงานบ้านพักโฮมสเตย์จำนวน 120 แห่ง ซึ่งในจังหวัดเชียงรายน่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปีนี้ประมาณ 70% อีกทั้งยังมีโครงการที่จะขยายขึ้นไปในระดับประเทศ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้พระอาจารย์ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้สนับสนุนในภาคเอกชนอย่างบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งให้การสนับสนุนทางโรงเรียนเป็นอย่างดี

 

ด้านเกษตรกรที่เคยผ่านหลักสูตรของโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์มาล้วนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ยกตัวอย่าง สองสามีภรรยา สมเพชร-เทียบ จันต๊ะนาเขต เกษตรกรจากตำบลดอยลาน ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ รุ่นที่ 1 ซึ่งเล่าให้เราฟังว่า “เมื่อปรับมาทำการเกษตรตามแนวคิดที่พระอาจารย์สอนแล้วความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น เพราะแม้จะผลิตได้ในปริมาณที่น้อยลง แต่เมื่อเป็นผลผลิตเกษตรอินทรีย์ก็สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งจะมีความลำบากแค่ช่วง 3 ปีแรกที่จะต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่เท่านั้น แต่หลังจากนั้นเมื่อดินและน้ำดี เมื่อมีใบรับรองเกษตรอินทรีย์ เราก็สามารถขายผลผลิตข้าวอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้ในราคาที่ดีขึ้น นอกจากนี้การมาเรียนที่โรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ยังทำให้เรามีความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างยาสมุนไพรอินทรีย์ การทําบรรจุภัณฑ์ให้น่าซื้อ การทำการตลาด อีกทั้งเรายังมีได้มีเพื่อนๆ เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ ซึ่งจะช่วยเหลือกันในเรื่องช่องทางของการจัดจำหน่ายอีกด้วย”  

 

CP ALL

สมเพชร-เทียบ จันต๊ะนาเขต 

เกษตรกรจากตำบลดอยลาน นักเรียนโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ รุ่นที่ 1

 

เมื่อได้มาเยือนโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ ไร่เชิญตะวัน ยิ่งทำให้เราตระหนักว่าช่างดีเหลือเกินที่มีสถานศึกษาทางเลือกเช่นนี้ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชาวนา การนำหลักพุทธธรรมมาผนวกกับการทำเกษตรช่างเป็นเนื้อนาบุญที่ยั่งยืนต่อทั้งสังคมและโลกใบนี้ และช่างน่าชื่นชมจริงๆ ที่มีภาคเอกชนอย่าง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญและให้การสนับสนุนโครงการดีๆ ที่สนับสนุนและเชิดชูชาวนาอันเป็นรากฐานของประเทศไทยเช่นนี้ 

 

CP ALL

CP ALL

CP ALL

กิจกรรมดีๆ ทีมงานและผู้บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) 

ร่วมทำนาโยนร่วมกับนักเรียนชาวนา

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

FYI

 

นอกจากให้การสนับสนุนโรงเรียนชาวนาแล้ว โครงการส่งเสริมองค์ความรู้ชาวนาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ยังมีโครงการที่จะขยายความสนับสนุนไปยังศูนย์ความรู้อื่นที่เกี่ยวกับข้าวและชาวนาในประเทศไทย เช่น สมาคมไทบ้าน วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดมหาสารคาม อีกด้วย 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X