×

วัคซีนโควิด-19 vs. สายพันธุ์แอฟริกาใต้

24.05.2021
  • LOADING...
โควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้

สายพันธุ์แอฟริกาใต้มีชื่อในระบบ Pango ว่า B.1.351 เริ่มมีการระบาดในมาเลเซียช่วงกลางเดือนเมษายน 2564 สายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง เช่น N501Y (เหมือนสายพันธุ์อังกฤษ) แต่ตำแหน่งที่สำคัญคือ E484K เพราะทำให้มีความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดิมหรือแม้กระทั่งวัคซีน

 

โดยจากการศึกษา #ประสิทธิภาพของวัคซีน พบว่าลดลงทุกยี่ห้อ แต่ไม่เท่ากัน ดังนี้

 

  • วัคซีน Pfizer-BioNTech มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ 75.0% แต่ป้องกันอาการรุนแรง/เสียชีวิต 100.0% (การศึกษาในกาตาร์)
  • วัคซีน Johnson & Johnson มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อระดับปานกลางขึ้นไป 52.0% แต่ป้องกันอาการรุนแรง/เสียชีวิต 73.1% (การศึกษาในแอฟริกาใต้)
  • วัคซีน AstraZeneca มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ 10.4% แต่ไม่สามารถประเมินการป้องกันอาการรุนแรงได้ เนื่องจากไม่มีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง (การศึกษาในแอฟริกาใต้)
  • วัคซีน Sinovac มีผลการศึกษาในห้องทดลองว่าน้ำเหลืองของผู้ที่ได้รับวัคซีนมีความสามารถในการยับยั้งสายพันธุ์แอฟริกาใต้ลดลง 70% เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิม

 

เนื่องจากประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งดื้อต่อวัคซีนหลักของไทย ดังนั้นรัฐบาลจึงควรพิจารณาจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้น เช่น วัคซีน Pfizer-BioNTech หรือเปลี่ยนวัคซีน Moderna (ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอเหมือนกัน) จากวัคซีนทางเลือกมาเป็นวัคซีนหลักในพื้นที่เสี่ยง

 

โควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้

 

 ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising