×

ยอดล้มละลายบริษัททั่วโลกพุ่งอีกระลอก! ผู้เชี่ยวชาญเตือนสถานการณ์อาจเลวร้ายยิ่งขึ้น

11.07.2023
  • LOADING...
ล้มละลาย

ยอดการล้มละลายของบริษัททั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นอีกระลอก โดยในบางประเทศตัวเลขดังกล่าวได้แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2008 ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมองปัญหาดังกล่าวอาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทต่างๆ ท่ามกลางสถานการณ์อุปสงค์ที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อ ยอดหนี้ และต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น

 

การล้มละลายของบริษัททั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปี

 

ตามรายงานของ S&P Global Market Intelligence ระบุว่า ยอดล้มละลายของบริษัทในสหรัฐฯ ที่ S&P ดูแลในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2010

 

ขณะที่อังกฤษและเวลส์ยอดการล้มละลายของภาคธุรกิจก็ใกล้แตะสูงสุดในรอบ 14 ปี ส่วนทางฝั่งยุโรปยอดการล้มละลายของบริษัทในสวีเดนก็สูงสุดในรอบทศวรรษ ขณะที่ยอดการล้มละลายในเยอรมนีเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาก็เพิ่มขึ้นเกือบ 50% จากปีก่อน นับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2016

 

และในญี่ปุ่น ยอดการล้มละลายในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ก็เพิ่มขึ้น 32.1% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 4,042 แห่ง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี

 

โดยปกติแล้วยอดการล้มละลายของบริษัทมักจะพุ่งสูงขึ้นเมื่อเศรษฐกิจกำลังอยู่ในภาวะถดถอย อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้กำไรของบริษัทต่างๆ และตลาดแรงงานกำลังฟื้นตัว ทำให้หลายฝ่ายมองว่าปัญหาการล้มละลายในระยะนี้เป็นเรื่องที่ ‘ไม่ธรรมดา’

 

สำหรับหนึ่งในคำอธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์นี้คือ การย้อนกลับไปในช่วงที่เกิดการระบาด ที่รัฐบาลหลายประเทศได้ออกโครงการความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมาก และบางประเทศก็ได้ผ่อนคลายกฎหมายหรือกฎระเบียบสำหรับบริษัทที่ต้องยื่นฟ้องล้มละลาย นำไปสู่การระงับความล้มเหลวขององค์กรต่างๆ ไว้อย่างผิดปกติ ระหว่างปี 2020-2021 ดังนั้นเมื่อความช่วยเหลือหมดลง บริษัทที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาตัวเองได้จึงเข้าสู่กระบวนการล้มละลายเมื่อเร็วๆ นี้

 

นอกจากนี้จำนวนบริษัทที่ยื่นขอล้มละลายตามกฎหมาย Chapter 11 ของสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 2 ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน เป็นสัญญาณว่ากลุ่มบริษัทเหล่านี้ก็ควรได้รับการปรับโครงสร้างอย่างครอบคลุมมากขึ้น

 

สถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นกำลังจะมาถึง

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับโครงสร้างคาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก แตกต่างจากช่วงวิกฤตการเงินเมื่อปี 2008 ที่วิกฤตผิดนัดชำระเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ เนื่องจากในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน และธนาคารกลางต่างๆ พยายามที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ไม่สูงจนเกินไป

 

Navid Mahmoodzadegan ผู้ร่วมก่อตั้ง Moelis & Co. วาณิชธนกิจในสหรัฐฯ กล่าวเตือนว่า กำแพงครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Walls) กำลังจะมาถึงในปี 2024, 2025 และ 2026 พร้อมระบุอีกว่าน่าเสียดายที่บริษัทจำนวนมากอาจจะไม่สามารถรีไฟแนนซ์ได้เมื่อระยะเวลาครบกำหนดดังกล่าวมาถึง

 

ดังนั้นเขาจึงคิดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวจะนำมาสู่เหตุการณ์อีกหลายอย่างที่ไม่ใช่แค่การล้มละลาย แต่รวมถึงการปรับโครงสร้างงบดุล การเพิ่มทุนโดยใช้วิธีต่างๆ มากมาย

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

X
Close Advertising