×

คู่มือการรับมือและดูแลตัวเองเมื่อติดโอมิครอน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
09.02.2022
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

4 mins. read
  • สถานการณ์การแพร่ของโควิดสายพันธ์ุโอมิครอนกำลังระบาดอยู่ในประเทศไทย ด้วยความที่โอมิครอนลงปอดช้ามาก ทำให้อาการน้อยกว่ามากจนคนส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล ทั้งในกรณีที่หากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากดังที่เคยมีการคาดการณ์ Worst Case Scenario เอาไว้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าการรักษาตัวแบบ Home Isolation อาจมีความจำเป็นมากขึ้นในอนาคต
  • นอกจาก ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจน และยาสามัญประจำบ้านเพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว อีกสองไอเท็มดีๆ ที่เป็นตัวช่วยที่ขอแนะนำคือ ‘สเปรย์พ่นคอเยอรมันคาโมไมล์’ จากสารสกัดธรรมชาติช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ กับอีกหนึ่งไอเท็มอย่าง ‘แนคเม็ดฟู่’ ที่ช่วยละลายเสมหะ เป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูตาไธโอน ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโควิดตามงานวิจัย NAC to Combat COVID-19

ด้วยการมาถึงของไวรัสโควิดสายพันธ์ุโอมิครอน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในประเทศไทยจึงกำลังอยู่ในขาขึ้นและกระจายไปทั่วประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้หลายคนยังอดกังวลใจไม่ได้ เพราะแม้ว่าอาการของคนที่ติดโควิด-19 จากไวรัสจะไม่ร้ายแรงเมื่อเปรียบเทียบกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ เช่น เดลตา หรืออัลฟา แต่โอมิครอนก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วทำให้ติดกันได้ง่ายมากๆ 

 

อาการของไวรัสโควิดสายพันธ์ุโอมิครอน

 

 

แม้โควิดสายพันธุ์โอมิครอนนั้นจะแพร่ได้เร็ว หากด้านอาการไม่ค่อยแตกต่างจากสายพันธุ์อื่นก่อนหน้า สิ่งที่แตกต่างระหว่างโอมิครอนและเดลตาเล็กน้อย คือมีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วม และมีรายงานว่าบางรายอาจรู้สึกเหนื่อยล้าได้ง่าย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ติดโควิดสายพันธุ์โอมิครอน อย่างไรก็ตามหากคนที่เป็นโรคประจำตัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือบูสเตอร์วัคซีนนั้น โอกาสที่ไวรัสจะแพร่กระจายไปยังปอด ทำให้ปอดอักเสบหรืออักเสบเฉียบพลันได้ก็อาจจะยังมีความเสี่ยงอยู่ แต่ด้วยความที่โอมิครอนลงปอดช้ามาก ทำให้อาการน้อยกว่ามากจนคนส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล อีกทั้งการติดง่ายและการคาดการณ์ Worst Case Scenario ที่อาจมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าการรักษาตัวแบบ Home Isolation อาจมีความจำเป็นมากขึ้นในอนาคต

 

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อติดโควิด และต้องทำ Home Isolation 

Home Isolation หรือ ‘การกักตัวที่บ้าน’ คืออีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเขียว ซึ่งไม่มีอาการแสดง หรือแสดงอาการก็เพียงเล็กน้อย สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ประเมินแล้วว่าสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ สามารถปฏิบัติตนได้ง่ายๆ โดยห้ามออกจากที่พักและปฏิเสธให้ใครมาเยี่ยมที่บ้าน เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร แยกห้องพักและของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่นอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากไม่ได้อยู่คนเดียว ควรล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของต่างๆ แยกซักเสื้อผ้า รวมไปถึงควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น ส่วนสิ่งของจำเป็นที่แนะนำให้เตรียมเอาไว้ มีดังต่อไปนี้

 

ไอเท็มจำเป็น! เมื่อต้อง Home Isolation กักตัวอยู่บ้าน

นอกจากสเปรย์และเจลล้างมือที่จำเป็นต้องใช้หลังสัมผัสสิ่งต่างๆ อุปกรณ์รับประทานอาหารส่วนตัวที่ควรแยกกับคนอื่น ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนแล้ว ยาสามัญประจำบ้านเพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ยาลดไข้ เจลลดไข้ รวมถึงวิตามินสำหรับเสริมภูมิคุ้มกัน ก็ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นที่สมควรมีติดเอาไว้ และอีก 2 ไอเท็มตัวช่วยดีๆ ที่เราอยากขอแนะนำก็คือ ‘สเปรย์พ่นคอเยอรมันคาโมไมล์’ ซึ่งทำจากสารสกัดธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ผ่านการศึกษาประสิทธิภาพมาแล้วในผู้ที่มีอาการอักเสบในช่องปากและลำคอ ใช้บ่อยๆ ได้ ปลอดภัย ไม่มีน้ำตาล กับอีกหนึ่งไอเท็มอย่าง ‘แนคเม็ดฟู่’ ที่ช่วยละลายเสมหะ มีคุณสมบัติเป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูตาไธโอน ช่วยต้านอนุมูลอิสระลดการอักเสบ ทั้งยังสามารถปรับภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย

 

 

ทั้ง ‘สเปรย์พ่นคอเยอรมันคาโมไมล์’ และ ‘เม็ดฟู่แนคที่เป็นแบบหลอด’ ไอเท็มทั้ง 2 อย่างนี้หาไม่ยาก ส่วนใหญ่แล้วหมอหรือเภสัชกรมักจะจ่ายให้เวลาที่เราไม่สบายกันอยู่แล้ว อีกทั้งยังสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป นับเป็นตัวช่วยดีๆ ที่ควรมีพกติดตัวติดบ้านเอาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่โควิดสายพันธุ์โอมิครอนกำลังระบาดหนักแบบนี้ ซึ่งเราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนปลอดภัย แล้วอย่าลืมหาไอเท็มทั้ง 2 อย่างนี้เตรียมไว้ดูแลตัวคุณและคนที่คุณรักกันด้วยล่ะ

FYI
  • วิธีการใช้ ‘สเปรย์พ่นคอเยอรมันคาโมไมล์’ ฉีดเข้าไปในช่องปากและลำคอ 2 ครั้ง 
  • NAC สามารถรับประทานได้ทุกวัน: ‘600 mg วันละ 2 ครั้ง’ (1 เม็ด เช้า-เย็น) และควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา
  • สามารถหาซื้อได้ที่ร้านยาทั่วไป หรือปรึกษาเภสัชกรฟรีก่อนซื้อได้ผ่านทางออนไลน์ที่แอป Raksa
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising