×
SCB Omnibus Fund 2024

จัดพอร์ตแบบ Core-Satellite ชิงโอกาสระยะสั้น สร้างผลตอบแทนระยะยาว

16.09.2021
  • LOADING...
Core-Satellite

จากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิดที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการลงทุนอย่างมาก นักลงทุนหลายท่านคงมองหาวิธีการจัดพอร์ตเพื่อให้เหมาะกับทุกสภาวะตลาด และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการลงทุนระยะสั้นด้วย การจัดพอร์ตที่ตอบโจทย์แบบนี้เรียกว่า ‘การจัดพอร์ตแบบ Core-Satellite Portfolio’ ซึ่งสามารถใช้ได้กับการลงทุนแบบทั้งก้อน หรือแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging: DCA) ได้ด้วยเช่นกัน

 

การจัดพอร์ตแบบ Core and Satellite คือ การจัดพอร์ตลงทุนเป็นส่วนหลักและส่วนเสริม เพื่อลดความผันผวนด้วยการลงทุนระยะยาว และเสริมโอกาสรับผลตอบแทนเพิ่มจากการจับจังหวะลงทุนตามธีม โดยแบ่งพอร์ตเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหลัก (Core) ซึ่งสัดส่วนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 70-90% โดยมีเป้าหมายการลงทุนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป และมีกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น กองทุนดัชนี (Index Fund) เนื่องจากช่วยประหยัดต้นทุน ลดความเสี่ยงตลาด และให้ผลตอบแทนเทียบเคียงตลาดในระยะยาว 

 

นอกจากนี้ ยังสามารถลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลกได้อีกด้วย สำหรับการดูแลพอร์ตส่วนนี้จะเป็นการบริหารแบบ Passive เน้นการซื้อสินทรัพย์แล้วถือครองไว้ยาวๆ ไม่มีการขายออก (Buy and Hold) สำหรับส่วนนี้นักลงทุนควรลงทุนอย่างมีวินัย เพราะเป็นการลงทุนระยะยาว 

 

ส่วนที่ 2 คือ ส่วนเสริม (Satellite) โดยสัดส่วนจะอยู่ที่ประมาณ 10-30% มีเป้าหมายการลงทุนในระยะกลาง-สั้น โดยมีระยะเวลาการลงทุน 6 เดือน – 3 ปี สามารถเลือกลงทุนได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้, Active Fund, Sector Fund หรือ Thematic Fund หรือตามเทรนด์ของตลาดในช่วงนั้นๆ ซึ่งในส่วนนี้มักจะเป็นการลงทุนแบบกระจุกตัวกว่าการลงทุนส่วนหลัก

 

อย่างไรก็ตาม การจัดพอร์ตแบบ Core-Satellite Portfolio นักลงทุนควรคำนึงถึงความเสี่ยงที่รับได้ของตนเองเป็นสิ่งสำคัญด้วย

 

Core-Satellite

 

เนื่องจากการจัดพอร์ตแบบนี้เป็นกลยุทธ์การลงทุนแบบยืดหยุ่น ไม่มีกฎตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนได้ตามเป้าหมายของเรา ที่สำคัญควรติดตามและพิจารณาปรับสัดส่วนการลงทุน (Rebalance) เพื่อหาจังหวะทำกำไรเพิ่มเติม ทั้งสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตหลักและพอร์ตเสริม เพื่อช่วยให้พอร์ตหลักมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับที่เรายอมรับได้ เช่น ถ้าช่วงเวลาไหนพอร์ตส่วนเสริมทำผลตอบแทนได้ดี โตได้มากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ ก็อาจสามารถขายทำกำไรแล้วนำกลับไปลงทุนในพอร์ตหลักเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ในขณะเดียวกัน ถ้าหากสัดส่วนในพอร์ตเสริมปรับลดลง ก็อาจจะขายส่วนหลักมาลงทุนในส่วนเสริมได้เช่นกัน

 

โดยข้อดีของการจัดพอร์ตแบบ Core and Satellite นั้นคือ การที่นักลงทุนได้ลงทุนในระยะยาว และก็ไม่พลาดโอกาสทำกำไรในระยะสั้น ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการลงทุนแบบ Active และ Passive โดยการบริหารแบบนี้เป็นการสร้างโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนในพอร์ตหลักตามตลาดอย่างเดียว ทั้งยังลดความเสี่ยงถ้าเทียบกับคนที่ลงทุนแบบเก็งกำไรเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่านักลงทุนบางท่านอาจจะพึ่งเคยได้ยินหลักการนี้ แต่วิธีการนี้ได้รับความนิยมมานานแล้วทั้งจากนักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างประเทศ รวมถึง Private Wealth ต่างๆ 

 

อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนรู้สึกว่าการบริหารพอร์ตแบบ Core and Satellite เองนั้นยากเกินไป แต่ยังต้องการลงทุนด้วยกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ Core Fund และ Satellites Funds ทาง บลจ.ไทยพาณิชย์ ขอแนะนำ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Experts (SCB Global Experts Fund: SCBGEX) มีกลยุทธ์การลงทุนเชิงรุก โดยกระจายการลงทุนในกองทุนหุ้นทั่วโลกที่มีผลงานโดดเด่น ทั้งยังแสวงหาธีมหรือเทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจพร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ด้วยการผสานการลงทุนในกองทุนหลัก (Core Fund) และกองทุนเสริม (Satellites Funds) โดยกองทุนหลักจะลงทุนผ่านกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity Fund เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพดีทั่วโลกที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง มีอัตรากำไรสูง และมีสถานะทางการเงินดีเยี่ยม พร้อมทั้งมีกระบวนการลงทุนที่มีวินัย และมีมุมมองการลงทุนในระยะยาว อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นกับกองทุนเสริมในการลงทุนในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก เช่น Digital Health, Future Mobility และ Arising Asia เป็นต้น

 

กองทุน SCBGEX เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่ลงทุนในตราสารทุน เช่น หน่วย CIS, หน่วย ETF เป็นต้น ส่งผลให้มี Net Exposure ในตราสารทุนเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน 

 

ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนต่างประเทศอย่างน้อย 2 กองทุน โดยจะลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมี Net Exposure ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีลักษณะดังกล่าวเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ตามความเหมาะสมสำหรับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการลงทุน

 

นอกจากนี้ กองทุน SCBGEX ได้บริหารจัดการการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ โดยบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด ทำให้กองทุนได้มีโอกาสเข้าถึงความเป็นเลิศในการบริหารเงินลงทุนของจูเลียส แบร์ ซึ่งเป็นบริษัทบริหารจัดการความมั่งคั่งและการลงทุนระดับพรีเมียมจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ Aa3 (Moody’s rating) ทั้งยังเป็น 1 ใน Top 5 ของผู้ให้บริการด้าน Wealth Management ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย อีกทั้งกองทุน SCBGEX ยังได้มีการลงทุนในกองทุนที่บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนระดับ Private Wealth ที่มีความเชี่ยวชาญในการคัดสรรกองทุนชั้นนำอีกด้วย   

 

กองทุนรวมนี้บริหารจัดการการลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างประเทศโดยบริษัท หลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด ภายใต้สัญญาแต่งตั้งรับมอบหมายงานด้านการจัดการลงทุน เป็นไปตามที่ระบุในโครงการจัดการกองทุนโดย บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันกับ บลจ.ไทยพาณิชย์ และมีผู้ถือหุ้นหลักได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกันกับ บลจ.ไทยพาณิชย์ | กองทุน SCBGEX มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของ Bank Julius Baer & Co. AG ซึ่งเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นหลักได้แก่ Julius Baer Group Ltd. เช่นเดียวกันกับบริษัท หลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising