ตามที่กรมธนารักษ์เปิดจองเหรียญที่ระลึกในโอกาสการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้จัดทำเหรียญที่ระลึกทั้งหมด 4 ประเภท มียอดสั่งจองกว่า 10 ล้านเหรียญ
ผู้ที่สั่งจองเหรียญรอบแรกที่หน่วยงานของกรมธนารักษ์ทั่วประเทศ และธนาคาร 19 แห่งทุกสาขาทั่วประเทศนั้น ผู้จองสามารถรับเหรียญที่ระลึกตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2561 เป็นต้นไป ณ สถานที่สั่งจอง ดังต่อไปนี้
- ผู้สั่งจองที่กรมธนารักษ์ และสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ 76 พื้นที่
- กรณีรับด้วยตนเอง ให้นำใบเสร็จรับเงิน (ตัวจริง) พร้อมบัตรประชาชน (ตัวจริง)
- กรณีให้บุคคลอื่นรับแทน ผู้รับมอบต้องนำใบเสร็จรับเงิน (ตัวจริง) โดยให้ผู้สั่งจองลงลายมือชื่อมอบอำนาจด้านหลังใบเสร็จรับเงิน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ (ตัวจริงและสำเนา)
- กรณีใบเสร็จรับเงินสูญหาย ผู้สั่งจองเหรียญต้องนำใบแจ้งความ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) หากมอบอำนาจให้บุคคลอื่นรับแทนจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ใบแจ้งความ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ (ตัวจริงและสำเนา)
- ผู้ที่สั่งจองที่ธนาคาร
- กรณีรับด้วยตนเอง ให้นำใบยืนยันการรับจองเหรียญของธนาคาร (ตัวจริง) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
- กรณีให้บุคคลอื่นรับแทน ผู้รับมอบต้องนำใบยืนยันการรับจองเหรียญของธนาคาร (ตัวจริง) พร้อมหนังสือมอบอำนาจและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ (ตัวจริงและสำเนา)
- กรณีใบยืนยันการสั่งจองเหรียญของธนาคารสูญหาย ผู้สั่งจองเหรียญต้องนำใบแจ้งความพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) หากให้บุคคลอื่นรับแทนต้องนำหนังสือมอบอำนาจ ใบแจ้งความ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ (ตัวจริงและสำเนา)
และหากผู้สั่งจองไม่ได้ติดต่อขอรับเหรียญที่ระลึกทั้ง 4 ประเภทเกิน 6 เดือน หลังจากวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 สามารถนำใบยืนยันการรับจองเหรียญมาติดต่อขอรับเหรียญได้ ณ กรมธนารักษ์ หรือ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ในเขตจังหวัดที่จองเหรียญฯ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม
“กรณีที่ผู้สั่งจองเหรียญเสียชีวิต ทายาทที่เป็นผู้จัดการมรดกสามารถมารับเหรียญแทนได้ โดยต้องมีใบจองใบจริง และใบมรณบัตรมาแสดงด้วย โดยเหรียญที่ไม่มารับภายใน 6 เดือน กรมธนารักษ์ต้องเก็บรักษาเหรียญดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปี หลังจากนั้นจะมาพิจารณาว่าจะนำไปทำอย่างไรต่อ”