ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ การระบาดของโควิด อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และความผันผวนของหุ้น ผู้บริโภคยังยินดีจ่ายเพื่อความสุขในรูปแบบน้ำหวานๆ ซ่าๆ อย่าง Coca-Cola
Coca-Cola เพิ่งรายงานผลประกอบการและยอดขายไตรมาสแรกซึ่งอยู่เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์เป็นอย่างมาก โดยยอดขายเพิ่มขึ้น 16% เป็น 1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.4 แสนล้านบาท สูงกว่าที่ Wall Street คาดการณ์ไว้ที่ 9.8 พันดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มีกำไร 2.8 พันดอลลาร์สหรัฐ หรือ 64 เซนต์ต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 24% จากปีที่แล้ว
‘การขึ้นราคา’ เป็นหัวใจหลักในการทำให้รายได้เติบโต โดย Coca-Cola กล่าวว่าราคาของส่วนผสมเพิ่มขึ้น 7% ทั่วโลก และ 11% ที่อเมริกาเหนือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
สำหรับสินค้ายอดนิยมก็คือ Coke Zero ที่มียอดขายเพิ่มขึ้น 14% ขณะที่ยอดขายเครื่องดื่มทั่วไปเพิ่มขึ้น 6%
นอกจากนี้ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้ยอดขายน้ำผลไม้, นม, เครื่องดื่มวิตามิน และเครื่องดื่มที่สกัดจากพืชเพิ่มขึ้น 12% และเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และเกลือแร่ เพิ่มขึ้น 10 %
ข่าวดีนี้ทำให้หุ้นของ Coca-Cola ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงวันจันทร์ (25 เมษายน) แม้ตลาดจะผันผวนอย่างหนักในวันศุกร์ ขณะที่ Coca-Cola ยังคงเชื่อมั่นภาพรวมในช่วงที่เหลือของปีแม้ภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลให้ราคาอะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Coca-Cola สูงขึ้น
“ภาวะเงินเฟ้อโดยรวมแล้วจะอยู่กับเราอีกหลายขณะ แต่ยังไม่แน่ชัดว่านานแค่ไหน” จอห์น เมอร์ฟี ประธานฝ่ายการเงินของ Coca-Cola กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ CNN Business
แรงกดดันต่อราคาผลิตภัณฑ์และค่าแรงจะยังคงดำเนินต่อไป เมอร์ฟีกล่าว แต่เขาเสริมว่าบริษัทมี ‘ความยืดหยุ่น’ ในเรื่องราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมมากขึ้น
ขณะเดียวกัน Coca-Cola รู้ดีว่ามีผู้บริโภคบางกลุ่มรู้สึกไม่ดีกับราคาที่สูงกว่าเจ้าอื่นๆ ดังนั้น Coca-Cola จึงได้ลองบรรจุภัณฑ์แบบรีฟิลในลาตินอเมริกาและแอฟริกา และขวดแก้วที่ส่งคืนได้ในพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
ด้าน Coke ได้หันไปพัฒนารสชาติที่แปลกใหม่ และนำรสชาติยอดนิยมเก่าๆ ออกเช่น TaB ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายร้อยแบรนด์ของ Coke ที่ได้ปิดตัวลงในช่วงสองปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องการรักษาความสัมพันธ์กับผู้บริโภคที่อายุน้อยกว่า
ทิศทางดังกล่าวทำให้นักลงทุนพอใจกับกลยุทธ์นี้ ในปัจจุบันหุ้น Coca-Cola เพิ่มขึ้น 11% ในปี 2022 ทำให้เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีผลงานดีขึ้นในดัชนีดาวโจนส์ซึ่งร่วงลง 7% ในปีนี้
นักลงทุนต่างแห่ไปซื้อหุ้นของบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคอย่าง Coca-Cola เพราะพวกเขาเชื่อมั่นในเสถียรภาพในการหารายได้ ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง มีความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ โดย Coca-Cola ยังจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอซึ่งให้ผลตอบแทนเกือบ 3%
โดย Berkshire Hathaway ของมหาเศรษฐีนักลงทุนอย่าง ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ ถือเป็นแฟนตัวยงของ Coca-Cola โดยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ด้วยสัดส่วนที่มากกว่า 9%
Coke ยังทำผลงานได้ดีสำหรับยอดขายทั่วโลกแม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อโควิดที่เพิ่มขึ้นจะทำให้นักลงทุนกังวล โดยยอดขายของ Coca-Cola เพิ่มขึ้น 34% ในลาตินอเมริกาและ 13% ในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
อย่างไรก็ตามในเดือนที่เหลือของปีนี้ ผู้ผลิตเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ได้ตั้งความหวังไว้มากนัก เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้นทุนวัตถุดิบทุกอย่างตั้งแต่อะลูมิเนียม น้ำตาล และค่าขนส่ง มีแนวโน้มปรับตัวแพงขึ้นจนกระทบต่อรายได้โดยรวมของ Coca-Cola
ภาพ: Artur Widak / NurPhoto via Getty Images
อ้างอิง: