×

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายแพ่งฯ ม.1448 ที่กำหนดการสมรสเฉพาะชาย-หญิง ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

โดย THE STANDARD TEAM
17.11.2021
  • LOADING...
BREAKING_NEWS

วันนี้ (17 พฤศจิกายน) ศาลรัฐธรรมนูญมีกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ที่กำหนดการสมรสเฉพาะชาย-หญิง ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

 

สำหรับที่มาของคดีนี้ สืบเนื่องจาก เพิ่มทรัพย์ แซ่อึ้ง และ พวงเพชร เหมคำ คู่รักซึ่งมีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิง ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 แต่ถูกนายทะเบียนปฏิเสธ ทั้งคู่จึงแต่งตั้งทนายความให้ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนสมรส หากนายทะเบียนปฏิเสธ ก็ขอให้ศาลส่งคำร้องโต้แย้งประเด็นข้อกฎหมายไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามกลไกรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว

 

 

ล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 4 และมาตรา 5 เป็นบททั่วไปที่วางหลักการคุ้มครองเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคล และความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญไว้ โดยมิได้มีข้อความใดที่คุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ ไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนนี้

 

 

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 25, มาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม

 

 

โดยมีข้อสังเกตว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สมควรดำเนินการตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อไป

 

 

สำหรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 บัญญัติไว้ว่า การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X