×

นักเศรษฐศาสตร์ชาวจีนที่มีชื่อเสียง 6 คน เรียกร้องให้ผ่อนคลายกฎโควิด เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

04.12.2022
  • LOADING...
นักเศรษฐศาสตร์

นักเศรษฐศาสตร์ชาวจีนที่มีชื่อเสียง 6 คน รวมถึง หวงยี่ผิง อดีตที่ปรึกษาธนาคารกลาง และ ศาสตราจารย์เหยาหยาง จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เรียกร้องให้ผ่อนคลายกฎโควิด เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

ข้อเรียกร้องที่เผยแพร่ผ่าน WeChat เผยว่า การกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้งควรมีความสำคัญสูงสุดของประเทศในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญต่อการแก้ปัญหา รวมถึงต้านแรงกดดันภายนอกจากประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา

 

นักเศรษฐศาสตร์ยังเรียกร้องให้กำหนดเป้าหมายการเติบโตในปี 2023 ให้สูงกว่า 5% เพื่อส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรัฐบาล พวกเขาแนะนำให้เพิ่มการขาดดุลงบประมาณในปีหน้า เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อผลักดันอุปสงค์


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ก่อนหน้านี้ Bloomberg ออกรายงานที่ระบุว่า ธนาคารประชาชนจีนออกคำแนะนำที่มองว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตมากกว่า 5% ในปีหน้าหากการหยุดชะงักของโควิดสิ้นสุดลงและรัฐบาลออกนโยบายเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นและการบริโภค

 

“จีนมีเงื่อนไขที่จะบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 5% ในปี 2023” หวังอี้หมิง ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารประชาชนจีน กล่าว โดยเขาอ้างถึงนโยบายล่าสุดในการจัดการกับทั้งการควบคุมโควิดและการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

 

นักเศรษฐศาสตร์ที่สำรวจโดย Bloomberg คาดว่า GDP ของจีน จะขยายตัว 3.3% ในปีนี้ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในระดับที่อ่อนแอที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นต่ำกว่า 5% ในปีหน้า แม้จะมีการออกนโยบายด้านอสังหาริมทรัพย์ที่อาจเข้ามาเปลี่ยนเกม แต่ยังมีความเสี่ยงอยู่

 

ขณะเดียวกันหวังให้ความเห็นว่า ปัญหาที่ใหญ่กว่าสำหรับเศรษฐกิจจีนคือ การเผชิญความต้องการทางการเงินที่อาจไม่เพียงพอ นอกจากนี้รัฐบาลยังจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยให้การบริโภคฟื้นตัว โดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ภายนอกที่อ่อนแอลง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอาจชะลอตัวจากปีนี้เช่นกัน

 

หวังกล่าวว่า รัฐบาลควรดำเนินการขาดดุลงบประมาณให้มากขึ้นในปี 2023 ในขณะเดียวกันก็ปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมสำหรับรัฐบาลท้องถิ่น นอกจากนี้เขายังสนับสนุนการปฏิรูปโครงสร้าง เช่น การจัดโครงการสวัสดิการสาธารณะที่ดีขึ้น เพื่อรับมือกับความท้าทายระยะยาว เช่น ประชากรสูงอายุ

 

ภาพ: Kevin Frayer / Getty Images

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising