นอกเหนือจากการแข่งขันกันระหว่างสหรัฐฯ และจีนเพื่อผลประโยชน์ด้านการทหาร ความมั่นคงของชาติ และเศรษฐกิจแล้ว ปัจจุบันสภาพอากาศกลายเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ครอบงำเทคโนโลยีและการค้า
สะท้อนจากที่ล่าสุด เจ้าหน้าที่จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาจีนเผยว่า การแข่งขันระหว่างมหาอำนาจของโลกกำลังดุเดือดมากขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น และจีนเห็นชัดว่าวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศเป็นสนามรบทางภูมิรัฐศาสตร์
ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง กล่าวว่า เขาต้องการให้จีนกลายเป็น ‘มหาอำนาจด้านภูมิอากาศ’ และกำหนดให้การที่เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกมีอำนาจในการควบคุมอุตุนิยมวิทยาโลกเป็นประเด็นสำคัญระดับชาติ
และเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว จีนจึงเพิ่มการใช้จ่ายด้านการทูต ด้านภูมิอากาศ เกือบ 500% ตั้งแต่ปี 2013-2023 ตามแนวทางที่ผ่านการทดสอบมาแล้วในการให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศอื่นๆ เพื่อกระตุ้นการใช้งานเทคโนโลยีและบริการของจีน
ทั้งนี้ หลาย 10 ประเทศส่งนักวิทยาศาสตร์ของตนไปรับการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ นับตั้งแต่องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) เริ่มจัดตั้ง International Desks ในปี 1988 จนปัจจุบัน โปรแกรมดังกล่าวกลายเป็นแหล่ง Soft Power ที่สำคัญของสหรัฐฯ ที่ให้ข้อมูลและความเชี่ยวชาญฟรีแก่ประเทศต่างๆ ที่ต้องการการพยากรณ์อากาศคุณภาพสูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้สภาพอากาศเลวร้ายลง
อย่างไรก็ตาม อิทธิพลและเงินทุนของ NOAA ตกอยู่ในความเสี่ยง หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมกลับเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งเปิดช่องทางให้จีนเป็นผู้นำระดับโลกคนใหม่
จีนมุ่งมั่นที่จะทำให้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาของตนเข้าถึงได้มากขึ้น โดยในปี 2022 จีนช่วยติดตั้งสถานีดาวเทียมที่ได้รับการอัปเกรดในฟิลิปปินส์ ทำให้ Pagasa สามารถรับข้อมูลสภาพอากาศได้หลากหลาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจีนจะให้บริการที่มีคุณค่า แต่จีนยังขยายวิสัยทัศน์ของตนเกี่ยวกับระเบียบโลกอย่างแนบเนียน ตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาของเอเชียซ้อนทับด้วยเส้นประ 10 เส้นที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้ง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตที่ปักกิ่งใช้ในการอ้างสิทธิ์อธิปไตยเหนือทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมดของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้หลายประเทศโต้แย้งกันอย่างหนัก
ภาพ: Brownie Harris / Getty Images
อ้างอิง: