×

เชียงใหม่ยกระดับแก้ปัญหา PM2.5 ดูแลเชิงรุกตั้งจุดแจกหน้ากาก N95 ใน 7 จุดสำคัญ

โดย THE STANDARD TEAM
30.03.2023
  • LOADING...
เชียงใหม่ PM2.5

วันนี้ (30 มีนาคม) จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่ที่สูงเกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยว ทางหน่วยงานในจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ (ศชฝ.ชม.) จึงได้จัดจุดแจกจ่ายหน้ากาก N95 ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จำนวน 7 แห่งได้แก่ 

 

  1. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่
  2. พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ตรงข้ามอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ 
  3. ด้านหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (อบจ.) 
  4. ที่ว่าการอำเภอเชียงดาว
  5. ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ 
  6. ที่ว่าการอำเภอฮอด 
  7. ที่ว่าการอำเภอฝาง 

 

นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อขอรับหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 ได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ทุกแห่ง โดยในช่วงเช้าของวันนี้ บริเวณพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ตรงข้ามอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 

 

ด้าน นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านมาสามารถควบคุมการเผาได้แล้ว 

 

ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ มีจำนวนการเผาอยู่ในลำดับที่ 6 จากทั้งหมด 17 จังหวัดภาคเหนือ พื้นที่ซึ่งมีปัญหาฝุ่นควันสูง ได้แก่ อำเภอเชียงดาว, เวียงแหง, ฝาง และแม่อาย 

 

ดังนั้น จังหวัดเชียงใหม่จึงได้มีการตั้ง ศชฝ.ชม. เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพ ช่วยเหลือประชาชนเทียบเท่ากับการประกาศภาวะวิกฤต โดยระดมความคิดเห็นและทีมแพทย์ดูแลสุขภาพของประชาชน ซึ่งนับเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทยที่เดินหน้าเชิงรุกช่วยเหลือประชาชน และให้ทุกหน่วยงานเข้าช่วยเหลือประชาชนให้เร็วที่สุด

 

ด้าน อัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่จะไม่มีจุดความร้อนเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะเทศบาลนครเชียงใหม่มีการเก็บขยะประเภทกิ่งไม้ ใบไม้ ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาการเผา เพื่อนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์

 

เชียงใหม่ PM2.5

 

เรื่องและภาพ: พงศ์มนัส ทาศิริ

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X