×

Science

ESA
8 กันยายน 2023

ESA พบดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเฉียดใกล้ที่ระยะ 4,000 กิโลเมตร

เมื่อเวลา 21.25 น. ของคืนวันที่ 7 กันยายน องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA ระบุว่ามีดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลกที่ระยะห่าง 4,000 กิโลเมตร และผ่านพ้นไปอย่างปลอดภัย   ฝ่ายพิทักษ์ดาวเคราะห์ของ ESA ตรวจพบดาวเคราะห์น้อยที่มีชื่อชั่วคราวว่า C9FMVU2 เพียงไม่กี่ชั่วโมงล่วงหน้า เข้ามาเฉียดใกล้ที่ระยะห่างเพียง 4,000 กิโลเมตรจากพื้นโลก หรือใกล้กว่าวงโคจรของดา...
ประชาชนที่มาดูการปล่อยยานลงจอดดวงจันทร์ของญี่ปุ่น
7 กันยายน 2023

ญี่ปุ่นส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ และยานลงจอดดวงจันทร์ เดินทางสู่อวกาศได้สำเร็จ

เมื่อเช้าวันที่ 7 กันยายน ญี่ปุ่นได้ปล่อยจรวด H-IIA ขึ้นจากฐานปล่อยที่ศูนย์อวกาศทาเนกาจิมะ โดยมีกล้องโทรทรรศน์อวกาศ XRISM และยานลงสำรวจดวงจันทร์ SLIM เป็นสองภารกิจที่ร่วมเดินทางขึ้นสู่อวกาศ   ยานสำรวจทั้งสองมีภารกิจที่แตกต่างกัน โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ XRISM หรือ X-ray Imaging and Spectroscopy Mission มีเป้าหมายเพื่อศึกษาจักรวาลในช่วงรังส...
Crew-6
4 กันยายน 2023

ภารกิจ Crew-6 กลับมาลงจอดบนโลก หลังเสร็จสิ้นการทำงานบนสถานีอวกาศนานาชาติ

เมื่อเวลา 11.17 น. ยาน Crew Dragon ‘Endeavour’ ของบริษัท SpaceX ได้พานักบินอวกาศ 4 คน ผู้เป็นลูกเรือของภารกิจ Crew-6 กลับจากการทำงานนาน 186 วัน บนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS มาลงจอดในมหาสมุทรแอตแลนติกได้อย่างปลอดภัย   ลูกเรือทั้งสี่ประกอบด้วยสองนักบินอวกาศชาวอเมริกัน นำโดยผู้บัญชาการ สตีเฟน โบเวน กับ วู้ดดี โฮเบิร์ก และนักบินอวกาศชาวรัสเ...
การลดจำนวนของมนุษย์
3 กันยายน 2023

พบหลักฐานว่า บรรพบุรุษ​มนุษย์เคยลดจำนวนจนเกือบสูญพันธุ์​จาก​โลก

จำนวนประชากรมนุษย์บนโลก​ล่าสุด​นั้นทะลุ 8 พันล้านคนไปแล้ว ก่อให้เกิดปัญหา​ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านมลพิษหรือการแย่งชิงและทำลายทรัพยากร​ธรรมชาติ​ ส่งผลต่อจำนวนสัตว์​และพืชบนดาวเคราะห์บ้านเกิดดวงนี้ แต่ใครจะรู้ว่าครั้งหนึ่งในอดีต​ ประชากร​มนุษย์​เคยลดจำนวนลงอย่างน่าตกใจจนเหลือเพียง 1,280 คนเท่านั้น เรียกได้ว่าเกือบสูญพันธุ์​กันเลยทีเดียว  ...
ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์
2 กันยายน 2023

‘อาทิตยา’ ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ครั้งแรกของอินเดีย

เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังการลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย หรือ ISRO ได้ส่งอีกหนึ่งภารกิจขึ้นสู่อวกาศอีกครั้ง โดยรอบนี้มีเป้าหมายสำคัญคือ การศึกษาดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์หนึ่งเดียวในระบบสุริยะ   ยานลำนี้มีชื่อว่า ‘อาทิตยา-แอล 1’ ซึ่งคำว่า อาทิตยา มาจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่าดวงอาทิตย์ และ L1 หมายถึงจุดลากรานจ์ที่ 1 ระ...
นักดาราศาสตร์
2 กันยายน 2023

นักดาราศาสตร์ไทยร่วมใช้กล้องเจมส์ เว็บบ์ ศึกษาคุณสมบัติกาแล็กซียุคแรกของเอกภพ

คณะนักวิจัยจากนานาประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ศึกษากาแล็กซี MACS1149-JD1 หรือ JD1 พบว่ามีมวลค่อนข้างน้อย และอยู่ห่างจากโลกไปราว 13,300 ล้านปีแสง หรือเทียบเท่ากับ 4% ของอายุเอกภพในปัจจุบัน   การศึกษาหากาแล็กซียุคแรกของเอกภพเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของกล้องเจมส์ เว็บบ์ ที่สำรวจจักรวาลในช่วงรังสีอินฟราเรด โดย...
1 กันยายน 2023

กล้องโทรทรรศน์ในญี่ปุ่นบันทึกวินาทีดาวพฤหัสบดีถูกชนโดยวัตถุบางอย่าง

เมื่อเวลา 23.45 น. ของคืนวันที่ 28 สิงหาคม กล้องโทรทรรศน์หลายแห่งในญี่ปุ่นสามารถบันทึกภาพดาวพฤหัสบดี ขณะถูกวัตถุบางอย่างพุ่งชนเข้ากับผิวดาว   อย่างไรก็ตาม วัตถุดังกล่าวอาจเป็นแค่ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง หรือเศษอุกกาบาต ที่พุ่งชนกับตัวดาวอยู่บ่อยครั้ง จากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดาวพฤหัสบดี ที่ดึงดูดให้วัตถุต่างๆ มาพุ่งชนได้   ในอดี...
Super Blue Moon
31 สิงหาคม 2023

ชมความสวยงาม Super Blue Moon 2023 จากหลากหลายมุมทั่วโลก

เมื่อคืนที่ผ่านมา (30 สิงหาคม) ผู้คนจากหลากหลายมุมทั่วโลกร่วมชมปรากฏการณ์ ‘Super Blue Moon’ ดวงจันทร์เต็มดวงที่โคจรเข้ามาใกล้โลก ซึ่งถือเป็นคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวงเป็นครั้งที่สองของเดือนสิงหาคมปีนี้ โดยทุกคนสามารถรับชมปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ด้วยตาเปล่า และความสวยงามของดวงจันทร์เต็มดวงที่ลอยเด่นอยู่บนท้องฟ้าเมื่อคืนนี้ก็ทำให้ใครหลายคนอดที่จะบันทึกภาพ S...
Super Blue Moon
30 สิงหาคม 2023

ชวนดู Super Blue Moon คืนนี้ ดวงจันทร์ใกล้โลกในคืนจันทร์เต็มดวง

คืนนี้ (30 สิงหาคม) มีปรากฏการณ์ ‘Super Blue Moon’ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก ในคืนจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน สามารถรับชมได้ตลอดคืน พร้อมกับมีดาวเสาร์ใกล้โลกปรากฏอยู่ใกล้เคียง   Super Blue Moon มาจาก Super Full Moon หรือดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี กับคำว่า Blue Moon ที่ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนสีของดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงิน แต่ใช้...
29 สิงหาคม 2023

นักวิทย์ฯ ถอดรหัสพันธุกรรมที่ซับซ้อนที่สุดของมนุษย์ นั่นคือ ‘โครโมโซมเพศชาย’ ได้แล้ว

โครงการถอดรหัสพันธุกรรม​มนุษย์ของ​สมาคม Telomere-to-Telomere (T2T) ร่วมกับทีมนักวิชาการ​นานาชาติ​ ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2000 และประกาศความสำเร็จ​ไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม​ 2022 นั้น ยังขาดโครโมโซม​ที่สำคัญ​และถอดรหัส​ยากที่สุด​ไป 1 ตัว นั่นคือโครโมโซม​ Y​ แต่ในที่สุด​ความพยายาม​ก็พาทีมงาน​มาถึงจุดหมาย​    เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ​2023 ที...

MOST POPULAR


Close Advertising