×

ดูแลตัวเองดีแค่ไหน ก็อาจหนีไม่พ้น ‘โรคหัวใจ’ ภัยเงียบของวัยทำงาน [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
24.07.2020
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 20,855 คน หรือพูดให้เห็นภาพชัดๆ คือ ในทุกๆ 1 ชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 2 คน
  • ทั้งที่ผู้คนยุคใหม่จะตื่นตัวกับการดูแลสุขภาพ แต่ก็ยังไม่อาจลดทอนจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจลงได้
  • ต่อให้เราดูแลตัวเองดีแค่ไหน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ก็ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมของคนในยุคนี้ ที่อาจเป็นชนวนก่อให้เกิดโรคหัวใจโดยไม่ทันตั้งตัว
  • ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจอะไรมา ศูนย์หัวใจบำรุงราษฎร์ จะเยียวยาคุณเอง

ถ้าให้บอกว่าอวัยวะใดในร่างกายทำงานหนักที่สุด ก็คงต้องยกตำแหน่งนั้นให้ ‘หัวใจ’ อวัยวะที่ไม่เคยหยุดพัก จนกระทั่งวันที่เราหมดลมหายใจ 

 

เราทุกคนสัมผัสหัวใจอย่างใกล้ชิด เพราะเมื่อแตะหน้าอกข้างซ้าย จังหวะที่เต้นของมันบอกเราถึงการมีชีวิต แต่อันที่จริงหัวใจต้องการการดูแลมากกว่านั้น

 

จากสถิติการครองแชมป์มัจจุราชพรากชีวิตคนทั่วโลกเป็นอันดับ 1 (ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก) แม้แต่ในเมืองไทย สถิติของโรคหัวใจก็ไม่ได้ยิ่งหย่อน รายงานจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า พ.ศ. 2561 มีจำนวนคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 432,943 คน มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 20,855 คน หรือพูดให้เห็นภาพชัดๆ คือ ในทุกๆ 1 ชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 2 คน และดูท่าว่าสถิตินี้จะมีแต่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งสาเหตุหลักมักมาจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

 

 

ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนบอกเราว่า ทั้งที่ผู้คนยุคใหม่ตื่นตัวกับการดูแลสุขภาพ ดังจะเห็นได้จากเทรนด์การออกกำลังกาย เทรนด์การกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ค่อนข้างคึกคักมาแรง แต่ก็ยังไม่อาจลดทอนจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจลงได้ ซึ่งเมื่อมองเจาะลึกลงไปจึงได้พบว่า ต่อให้เราดูแลตัวเองดีแค่ไหน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ก็ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมของคนในยุคนี้ ที่อาจเป็นชนวนก่อให้เกิดโรคหัวใจโดยไม่ทันตั้งตัว 

 

ลองมาเช็กไปพร้อมๆ กันว่าคุณและคนใกล้ชิดเข้าข่ายมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจหรือไม่ 

 

 

 

  • พักผ่อนน้อย นอนหลับไม่ถึง 6 ชั่วโมงต่อคืนเป็นประจำ ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนอาจทำให้โรคหัวใจถามหา

 

  • กินไม่เลือกจนน้ำหนักเกินมาตรฐาน เรื่องนี้อย่ามองว่าเป็นการบูลลี่ แต่ให้มองลึกถึงสุขภาพ หากเป็นคนที่มีความสุขกับการกิน เราจะไม่บอกให้คุณเลิกทำ แต่จะให้หมั่นสังเกตตัวเอง ถ้าเป็นผู้หญิงก็ระวังอย่าให้รอบเอวเกิน 32 นิ้ว ส่วนผู้ชายก็อย่าให้รอบเอวเกิน 36 นิ้ว เพราะนั่นอาจส่งผลถึงการทำงานของหัวใจด้วย

 

  • ดื่มแอลกอฮอล์จนเป็นนิสัย สัญญาณแรกที่เจอคือความดันโลหิตและไตรกลีเซอไรด์จะพุ่งสูง แล้วก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในเวลาต่อมา อีกทั้งฤทธิ์ของแอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจได้ด้วย

 

  • สูบบุหรี่จัด นั่นคือคันเร่งที่จะนำพาคุณไปสู่โรคหัวใจได้เร็วขึ้นถึง 2 เท่า

 

  • เครียดสะสมเป็นเวลานาน เพราะ ‘โรคหัวใจเป็นโรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้บริหารที่มักจะมีความเครียดสูง’ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด ‘โรคหลอดเลือดหัวใจ’ 

 

หากสำรวจพบว่า ตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจ อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป ศูนย์หัวใจบำรุงราษฎร์ ช่วยคุณได้

 

 

ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เชี่ยวชาญให้บริการดูแลด้านหัวใจอย่างครบวงจร ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยขั้นต้น การรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัวใจสาขาต่างๆ ทั้งอายุรแพทย์ด้านหัวใจ, ศัลยแพทย์หัวใจ, แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ ผู้ผ่านการศึกษาอบรมจากสถาบันชั้นนำทั่วโลก ผนึกกำลังกับบุคลากรทางการแพทย์สหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ ทั้งพยาบาล, เภสัชกร, นักโภชนาการ และนักกายภาพบำบัด พร้อมด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ครอบคลุมการรักษาได้แทบทุกกลุ่มโรคหัวใจ เช่น กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ, หัวใจพิการแต่กำเนิด, ระบบลิ้นหัวใจ, มีระบบกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือในกรณีที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 90 นาทีตามมาตรฐานสากล ทำให้นอกเหนือจากศูนย์หัวใจหลักแล้ว จึงมีศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ศูนย์ลิ้นหัวใจบำรุงราษฎร์ และศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน รวมอยู่ในที่เดียวกันด้วย 

 

 

ที่สำคัญคือ ศูนย์หัวใจฯ แห่งนี้เป็นดั่ง One Stop Service เรื่องโรคหัวใจ ที่พร้อมปฏิบัติการรักษาตลอด 24 ชั่วโมง พูดง่ายๆ ว่า ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจอะไรมาตอนไหน ศูนย์หัวใจบำรุงราษฎร์ จะเยียวยาคุณเอง

 

 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X