×

การประมูลสิ่งอุทิศให้กับพระบรมสารีริกธาตุเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่

06.05.2025
  • LOADING...
พระบรมสารีริกธาตุ

HIGHLIGHTS

  • Sotheby’s ฮ่องกงเตรียมประมูล ‘อัญมณีในพระบรมสารีริกธาตุ’ วันที่ 7 พฤษภาคมนี้ ซึ่งขุดพบจากสถูปปิประห์วาในอินเดียเมื่อปี 1898 ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุนี้ส่วนหนึ่งยังได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ยังภูเขาทองที่วัดสระเกศอีกด้วย 
  • การประมูลครั้งนี้ก่อให้เกิดเสียงคัดค้านทั่วโลก เนื่องจากถือเป็นการลดคุณค่าทางศาสนา เปลี่ยนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นเพียงสินค้าในตลาดการเงิน

สิ่งอุทิศที่พบร่วมกับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าสามารถประมูลได้หรือไม่?

 

เป็นคำถามที่กำลังถกเถียงและพูดถึงเป็นวงกว้างในหมู่ชาวพุทธและไม่พุทธทั่วโลกว่า ถึงความเหมาะสมต่อบริษัทประมูลชื่อดัง Sotheby’s ว่า อัญมณีและสิ่งอุทิศที่พบร่วมกันกับพระบรมสารีริกธาตุ หรือจริงๆ แล้วเป็นส่วนหนึ่งของพระบรมสารีริกธาตุสมควรถูกตีราคาให้เป็นเงินหรือไม่ เพราะนี่คือการลดทอนคุณค่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นหัวใจของชาวพุทธแบบหนึ่ง

 

พระบรมสารีริกธาตุในโลกนี้มีมากมาย แต่เชื่อกันว่าพระบรมสารีริกธาตุนี้เป็นของแท้ เพราะพบในโกศที่จารึกอักษรพราหมีสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชระบุว่า “พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า” 

 

พระบรมสารีริกธาตุนี้เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอย่างมาก คงต้องขอเล่าสั้นๆ สักนิด กล่าวคือ หลังจาก วิลเลียม เปปเป้ (William C. Peppé) ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุนี้เมื่อ ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) ได้เป็นข่าวใหญ่โตทั่วอินเดีย จนท้ายที่สุดทราบไปถึงพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ซึ่งบวชอยู่ที่ลังกา และเคยรู้จักกับลอร์ดเคอร์ซันข้าหลวงใหญ่แห่งอังกฤษที่ปกครองอินเดีย จึงได้ทูลขอพระบรมสารีริกธาตุนี้ เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงทราบเรื่อง จึงได้ส่งเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ไปอัญเชิญพระบรมธาตุนี้มาเมื่อ พ.ศ. 2442 และได้บรรจุยัง “ภูเขาทอง” หรือ พระบรมบรรพต สืบมาจนถึงทุกวันนี้

 

เรื่องนี้จึงเกี่ยวข้องกับชาวพุทธไทยโดยตรง!

 

สิ่งอุทิศที่พบร่วมที่กำลังจะประมูลโดย Sotheby’s นี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของ “พระธาตุ” นั่นเอง ไม่ใช่ “อัญมณี” เฉยๆ ตามที่บริษัทประมูลพยายามแปลงความหมาย

 

ชาวพุทธไทยควรเพิกเฉยต่อปัญหานี้หรือไม่ในเมื่ออีกไม่กี่วันนี้วันวิสาขบูชากำลังจะมาถึง??? 

 

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังส่งเสียง แต่น่าแปลกใจที่ชาวพุทธไทยและสมาคมพุทธศาสนาในไทยกลับเงียบงัน?

 

การประมูลครั้งนี้ของบริษัทคือการเพิกเฉยและละเลยไม่สนใจศรัทธาของพุทธศาสนิกชนโดยแท้ ไม่สนใจต่อข้อวิพากษ์ของคนทั่วโลก และเป็นเหมือนการปล่อยให้อำนาจของเจ้าอาณานิคมยังคงดำรงอยู่

 

ไม่เพียงเท่านั้น การนำสิ่งอุทิศนี้มาประมูลยังเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาระดับโลกคือ การทวงคืน-ส่งคืนวัตถุ (repatriation) อย่างชัดเจน เพราะเป็นการนำวัตถุจากดินแดนอาณานิคมออกขายทอดตลาด ซึ่งนี่คือการทำให้ “วัตถุศักดิ์สิทธิ์” กลายเป็นเพียง “สิ่งของ” หรือเป็นเพียง “งานศิลปะ” เพื่อการประมูลเท่านั้น 

 

สิ่งอุทิศที่เป็นอัญมณีพบร่วมกับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า (อ้างอิง: www.piprahwa.com/thejewels)

 

โกศทั้งห้าที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า (อ้างอิง: en.wikipedia.org/wiki/Piprahwa#Excavation_by_William_Claxton_Peppé)

 

ต่อประเด็นเรื่องนี้ ศาสตราจารย์แอชลีย์ ทอมป์สัน (Ashley Thompson) แห่งโซแอส มหาวิทยาลัยลอนดอน และ โคนัน จาง (Conan Cheong) นักศึกษาปริญญาเอกที่โซแอส ก็มีทัศนะไม่เห็นด้วยกับการประมูลพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้ ปรากฏอยู่ในบทความเรื่อง Selling the Buddha’s Relics Today ตีพิมพ์ในวารสารจริยธรรมพุทธศาสตร์ (Journal of Buddhist Ethics) ในที่นี้ขอสรุปสาระสำคัญของบทความตามนี้ 

 

ชาวพุทธทั่วโลกต่างวิตกตกใจเมื่อทราบว่า ในวันพุธที่ 7 พฤษภาคมนี้ บริษัท Sotheby’s ฮ่องกง จะทำการประมูล ‘อัญมณีในพระบรมสารีริกธาตุ’ ที่ขุดพบจากสถูปปิประห์วา (Piprahwa) ซึ่งพบในปี 1898 สถูปนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองลุมพินี ในรัฐอุตตรประเทศของอินเดีย แต่พระบรมสารีริกธาตุนี้ได้พบร่วมกับสิ่งอุทิศอันสูงค่าอีกด้วย ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุนี้ส่วนหนึ่งยังได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ยังภูเขาทองที่วัดสระเกศอีกด้วย 

 

สถูปปิประห์วาที่ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า (อ้างอิง: en.wikipedia.org/wiki/Piprahwa#Excavation_by_William_Claxton_Peppé)

 

ย้อนกลับไป พระบรมสารีริกธาตุและสิ่งอุทิศที่ขุดพบในอินเดียนี้ได้พบบรรจุภายในกล่องหินขนาดใหญ่ ซึ่งถูกขุดขึ้นมาจากภายในสถูปตามคำสั่งของเจ้าที่ดินในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ภายในสถูปผู้ขุดค้นได้พบพระบรมสารีริกธาตุและสิ่งอุทิศ (อัฐิธาตุ) ที่ทำจากหินกึ่งรัตนชาติและคริสตัล ซึ่งทั้งหมดบรรจุอยู่ในกล่องหินเดียวกัน หนึ่งในจารึกที่พบบนโกศหินได้ปรากฏจารึกว่าหนึ่งในสมาชิกของศากยะวงศ์ได้เป็นผู้ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชด้วยตนเอง 

 

สิ่งอุทิศที่เป็นอัญมณีที่ถูกนำมาประมูลในครั้งนี้ จึงสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นของถวายอันล้ำค่าแก่พระบรมสารีริกธาตุ หรือเป็นส่วนหนึ่งของพระบรมสารีริกธาตุก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร อัฐิทั้งหมดนี้ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดสำหรับชาวพุทธทั่วโลก เนื่องจากความใกล้ชิดกับร่างของพระพุทธเจ้า

 

อีกทั้งสิ่งอุทิศดังกล่าวยังมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับชาวพุทธไทยอีกด้วย ในช่วงเวลาที่ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุนี้ กฎหมายอาณานิคมของอังกฤษกำหนดให้องค์กรโบราณคดีต้องส่งมอบของโบราณให้กับรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษ เจ้าของที่ดินและผู้ค้นพบร่วมกันตัดสินใจแยก “อัญมณี” ออกจาก “กระดูกและเถ้าถ่าน” โดยมองว่าเฉพาะ “อัญมณี” เท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ชาวยุโรปสนใจ ส่วนหนึ่งของอัฐิบัติอัญมณีถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์อาณานิคมที่กัลกัตตา อีกส่วนหนึ่งได้มอบให้กับเจ้าของที่ดินซึ่งลูกจ้างของเขาเป็นผู้พบ ด้าน “กระดูกและเถ้าถ่าน” ได้ถูกส่งมอบเป็นของขวัญทางการทูตแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ซึ่งเป็นพระภิกษุ ได้เดินทางไปทำพิธีแสวงบุญยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย เมื่อทราบเรื่องพระบรมสารีริกธาตุ พระองค์จึงทรงยื่นหนังสือร้องขอต่อรัฐบาลอังกฤษเพื่อขอให้ส่งอัฐิที่ไม่เป็นที่สนใจของชาวยุโรปกลับมาให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระองค์ทรงบรรจุอัฐิเหล่านี้ไว้ในกรุงเทพฯ และต่อมาได้แจกจ่ายส่วนหนึ่งของอัฐิเหล่านี้ให้กับสถาบันพุทธศาสนาในทั่วโลก

 

เป็นทายาทของเจ้าของที่ดินในอาณานิคมปี 1898 ที่ขณะนี้กำลังพยายามขายสิ่งอุทิศที่เป็นอัญมณีในมูลค่า ประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุด 

 

เรื่องนี้ชาวพุทธจึงควรคัดค้าน! ทำไมในศตวรรษที่ 21 มรดกจากอาณานิคมของอังกฤษถึงสามารถสร้างรายได้หลายล้านจากการขายสิ่งอุทิศร่วมกับพระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้ได้กันนะ? แล้วจะไม่มีกรรมอันน่าหลอกหลอนตามมาสำหรับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายหรือ? พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ศิลปะหรือสินค้าที่ควรเอามาหมุนเวียนในตลาดการเงินโลก การซื้อขายครั้งนี้ภายใต้การประณามของชาวพุทธทั่วโลกจะหยุดยั้งการกระทำครั้งนี้ได้หรือไม่? ในขณะที่เรารอวันวิสาขบูชา 2568 พ.ศ. นี้ เรามามองดูงานเฉลิมฉลองศาสนาของเวียดนามเพื่อเป็นแรงบันดาลใจที่จะแสดงให้เห็นว่าพระบรมสารีริกธาตุจากสารนาถมีคุณค่าเท่าใดต่อผู้แสวงบุญจากทั่วทุกสารทิศเข้ามากราบไหว้ ชาวพุทธไทยควรเรียกร้องให้สิ่งอุทิศร่วมกับพระบรมสารีริกธาตุควรได้กลับมารวมกับพระบรมสารีริกธาตุเพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกสามารถกราบไหว้และนับถือได้

 

ทองคำที่พบร่วมกับพระบรมสารีริกธาตุ (อ้างอิง: www.piprahwa.com/thejewels)

 

ในที่นี้ขอเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นบทความภาษาอังกฤษด้วย เพื่อให้รับรู้ในระดับนานาชาติ

 

Protest Sotheby’s Auction of Buddha Relics

 

Thai Buddhists have been shocked to learn that, on Wednesday, May 7, Sotheby’s Hong Kong is set to sell the ‘gem relics’ of Piprahwa. These relics were found in 1898 in a stupa at Piprahwa, just south of Lumbini, in today’s Uttar Pradesh, India. But they were not found there alone: they were mixed in with the relics now enshrined and venerated atop the Golden Mount of Wat Saket. They were dug up from inside the stupa on the orders of a British colonial landowner. Inside the stupa the diggers found a set of stone and crystal reliquaries, all encased together inside a large stone box. One of the reliquaries bares an inscription which provides incontrovertible evidence that members of the Sakya clan, descendants of the Buddha, deposited these relics of the Buddha himself during the Ashokan era. The ‘gem relics’ now being put up for auction may have been considered Buddha relics, or precious offerings made to the Buddha relics. In any case, all these relics are of the highest sacred order to Buddhists worldwide for their intimate association with the Buddha’s body.

 

They also have a special relationship to Thai Buddhists. At the time of their find, British colonial law required that archaeological finds be transferred to the British colonial government. The landowner-finder and his colonial peers decided to separate the ‘gems’ out from the ‘bones and ash’, determining that only the ‘gems’ were of interest to Europeans. A portion of the ‘gem relics’ were deposited in the colonial museum in Kolkata; another portion was granted to the landowner whose workers had found them. The ‘bones and ash’ were offered as a diplomatic gift to King Chulalangkorn.  Thai royal monastic Prince Prisdang Chumsai was at the time making pilgrimage to sacred Buddhist sites in India. Having seen the relics, he successfully petitioned the British crown government to send to King Chulalangkorn those relics which were deemed of no interest to Europeans. King Chulalangkorn enshrined them in Bangkok and subsequently distributed portions of them to Buddhist institutions around the world. 

 

It is the descendants of the 1898 colonial landowner who are now seeking to make an estimated $10 million in selling the relics to the highest bidder. Thai Buddhists protest! How is it that in the 21st century British colonial inheritors can make millions off the sale of precious relics? Will there not be horrific karmic retribution for both buyer and seller? Buddha relics are neither art nor commodity for circulation on global money markets. Can this sale be stopped in the name of Buddhists worldwide? As we anticipate Vesak Day 2568 B.E, let’s look to the holy celebrations in Vietnam to admire how the relics of Sarnath are made available to pilgrims from far and wide. Thai Buddhists demand that the ‘gem relics’ be reunited with the other relics to be made available for veneration to Buddhists everywhere.

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising