New Normal หรือความปกติใหม่ กลายเป็นคำที่มาแรงอย่างมากหลังจากการระบาดของโรคโควิด ที่ได้เข้ามาเป็นปัจจัย ‘เร่ง’ ให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงทำให้โลกดิจิทัลกลายเป็น New Normal ในชีวิตประจำวัน
ข้อมูลจาก Nielsen ระบุว่า ช่วงสถานการณ์โควิดส่งผลให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ผู้บริโภคใช้โซเชียลมีเดียเเละแอปพลิเคชันเเชตเป็นช่องทางหลักเพื่อรับข่าวสารมากขึ้น
สิ่งที่น่าสนใจคือ สถานการณ์โควิดได้ทำให้ธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลมากยิ่งขึ้น จึงมีธุรกิจมากมายที่ตัดสินใจลงทุนเพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับโลกออนไลน์มากขึ้น
ไม่เพียงแต่การใช้เทคโนโลยีเท่านั้น สิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการเลือกสินค้าและแบรนด์ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
มีการสำรวจพบว่าร้อยละ 43 ของผู้บริโภคชาวอเมริกันที่เปลี่ยนแบรนด์ในช่วงสถานการณ์โควิดได้ระบุสาเหตุการเปลี่ยนแบรนด์ไว้ว่าเกี่ยวกับเป้าหมายหรือความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร (Purpose Driven) โดยผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z และ Millennials (ร้อยละ 42) มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแบรนด์ด้วยสาเหตุนี้มากกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่นที่มีอายุมากกว่า
ด้วยเหตุนี้ McKinsey & Company จึงได้ระบุว่า ผลจาก New Normal ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวในยุคหลังโควิดใน 5 ด้านด้วยกัน คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (Resolve) การปรับธุรกิจให้มีความยืดหยุ่นทันต่อสถานการณ์ (Resilience) การกลับไปดำเนินธุรกิจตามปกติอีกครั้ง (Return) การคิดใหม่ (Reimagination) และการปฏิรูปเพื่อก้าวสู่อนาคตที่ดีกว่า (Reform)
ในวงเสวนาออนไลน์ ‘New Normal ปรับไลฟ์สไตล์ภายหลังวิกฤต COVID-19’ ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ‘รวิศ หาญอุตสาหะ’ ซีอีโอบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า ในวิกฤตโควิดนี้ไม่เพียงทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความสำคัญและความจำเป็นของการทำหรือไม่ทำอะไรแล้ว
สิ่งสำคัญคือยังสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ ปรับตัวเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซมากขึ้น ติดต่อลูกค้า B2B (Business-to-Business) กันมากขึ้นด้วยออนไลน์ สามารถสั่งของ เช็กสต๊อกผ่านระบบดิจิทัล เพียงแค่ระบบหลังบ้านต้องเชื่อมต่อข้อมูลกันเท่านั้นเอง ทำให้ธุรกิจมีความโปร่งใสมากขึ้น
“ดังนั้นเครื่องมือสำคัญที่จะนำพาเราออกจากวิกฤตนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ เทคโนโลยีดิจิทัลและ Mindset ของคนในองค์กร”
แต่การปรับตัวนอกจากจะเกิดขึ้นจากกลยุทธ์ภายในองค์กรแล้ว การมีทุนทรัพย์ที่เพียงพอก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะจะเป็นการนำเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ มาช่วยให้การปรับตัวเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น
เพื่อเสริมศักยภาพให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืนและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่ถูกเร่งตัวขึ้น ‘ธนาคารออมสิน’ จึงได้มี ‘โครงการสินเชื่อ Soft Loan ธปท. เพื่อการปรับตัว’ ขึ้นมา
สินเชื่อนี้เหมาะกับใคร? คำตอบคือ ธุรกิจที่อยากลงทุน ปรับปรุง หรือพัฒนา ในเรื่องของเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนระบบหรือกระบวนการต่างๆ ที่เป็นการเสริมศักยภาพธุรกิจให้สามารถแข่งขันและดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยสอดรับกับบริบทโลกใหม่ (New Normal) ดังนี้
- กระแสดิจิทัลเทคโนโลยี เช่น การติดตั้งระบบซื้อขายผ่าน Online Marketing หรือการติดตั้งระบบเส้นทางและ QR Code ในการคัดแยกพัสดุหรือขนส่ง (Smart Logistic) ฯลฯ
- การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) หรือการติดตั้งระบบการจัดการขยะ ฯลฯ
- นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต เช่น การทำ Smart Farming หรือการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชแทนเนื้อสัตว์ (Plant-based Food) ฯลฯ
โดยจุดเด่นของสินเชื่อดังกล่าวประกอบด้วย
- ดอกเบี้ยคงที่ 2.00%* 2 ปีแรก (*อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก ร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยรัฐบาลจะชำระดอกเบี้ย 6 เดือนแรก นับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับสินเชื่องวดแรกของการยื่นขอกู้ยืมเงินจาก ธปท.)
- วงเงินสูงสุด 150 ล้านบาท
- ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี
- ปลอดชำระเงินต้นสูงสุด 2 ปี
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
ผู้ที่สนใจสามารถยื่นได้ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 9 เมษายน 2566 หรือจนกว่าวงเงินโครงการจะหมด โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ http://bit.ly/3vXWZFJ
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขา หรือ GSB Contact Center 1115 และติดตามข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ได้ที่ www.gsb.or.th หรือ Facebook: GSB Society
อ้างอิง: