ภาพบรรยากาศของสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค ทั้ง 5 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกร, สถานีสามยอด, สถานีสนามไชย, สถานีอิสรภาพ และสถานีท่าพระ
โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจากสถานีวัดมังกรถึงสถานีท่าพระ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 28 กันยายน 2562 โดยไม่คิดค่าโดยสาร
ในช่วงแรกจะเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. มีรถไฟฟ้าให้บริการ 3 ขบวน วิ่งไป-กลับจากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีท่าพระ มีระยะห่างระหว่างขบวนประมาณ 8 นาที
ขบวนรถไฟกำลังวิ่งเข้าสถานีท่าพระ ระหว่างการทดสอบเดินรถ สถานีท่าพระเป็นสถานีที่เชื่อมต่อระหว่างเส้นทางในสายเดียวกันคือสายเฉลิมรัชมงคล เป็นสถานีที่ยกระดับคร่อมอุโมงค์ลอดถนนจรัญสนิทวงศ์และสะพานข้ามแยกท่าพระของถนนเพชรเกษม และเป็นสถานีเชื่อมต่อที่สำคัญของฝั่งธนบุรี
รถไฟฟ้าวิ่งเข้าสถานีท่าพระระหว่างการทดสอบระบบ โดยรถนี้เป็นรุ่นใหม่ นำมารองรับการให้บริการส่วนต่อขยายที่จะมีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น ผลิตโดยบริษัท ซีเมนส์ จากโรงงานที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย
รถไฟฟ้าวิ่งทดสอบระบบ ขณะกำลังวิ่งผ่านชุมชนย่านท่าพระ ก่อนที่จะเข้าไปยังสถานีรถไฟฟ้าท่าพระ เป็นสถานีที่เชื่อมต่อทั้งสองส่วนของสายเฉลิมรัชมงคลเข้าไว้ดัวยกัน ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนภายในเขตกรุงเทพมหานครชั้นกลางและชั้นใน
นักท่องเที่ยวนั่งตุ๊กตุ๊กผ่านสถานีวัดมังกร ซึ่งเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค
สถานีวัดมังกรอยู่ใจกลางย่านธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายจีน บนถนนเจริญกรุง บริเวณสี่แยกแปลงนาม
สถานีวัดมังกร มีการออกแบบตัวสถานีทั้งภายนอกบริเวณระดับดิน และภายในมีรูปแบบสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ
สัญลักษณ์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถูกประดับบนกำแพงของสถานีวัดมังกร บนถนนเจริญกรุง บริเวณสี่แยกแปลงนาม
สถานีสามยอดเป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ภายในอาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์รอบนอก ในแนวถนนเจริญกรุงตัดกับถนนมหาไชยที่แยกสามยอด จนถึงถนนเจริญกรุงตัดกับถนนอุณากรรณและถนนบูรพาที่แยกอุณากรรณ
สถานีสามยอดได้รับการออกแบบจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ต้องการให้คงความเป็นย่านวังบูรพาเอาไว้ ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ควบคู่กับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส
สถานีสามยอด ได้รับการออกแบบจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ มีการใช้ประตูบานเฟี้ยมซึ่งเป็นรูปแบบของประตูในสมัยเก่ามาปรับใช้ ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ควบคู่กับสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส
สถานีสามยอด เป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ภายในอาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์รอบนอก ในแนวถนนเจริญกรุงตัดกับถนนมหาไชยที่แยกสามยอด จนถึงถนนเจริญกรุงตัดกับถนนอุณากรรณและถนนบูรพาที่แยกอุณากรรณ
ทางขึ้นลงของสถานีสนามไชยที่ตั้งอยู่บริเวณมิวเซียมสยาม เป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ในแนวถนนสนามไชย บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินจากสถานีหัวลำโพง ผ่านพื้นที่เมืองเก่าก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด ไปยังฝั่งธนบุรี และยกระดับขึ้นสู่สถานีท่าพระต่อไป
ทางขึ้นลงของสถานีสนามไชย ตั้งอยู่ข้างโรงเรียนวัดราชบพิธ ตัวสถานีอยู่ใจกลางพื้นที่ชั้นในของเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในขอบเขตระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา
ทางขึ้นลงของสถานีอิสรภาพบริเวณซอยอิสรภาพ 34 เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีแรกและสถานีเดียวของสายเฉลิมรัชมงคล ที่มีเขตที่ตั้งในพื้นที่ฝั่งธนบุรีในแนวตัดขวางกับถนนอิสรภาพ
สถานีอิสรภาพเป็นสถานีสุดท้ายของส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค ที่เป็นสถานีใต้ดิน ก่อนยกระดับเข้าสู่สถานีท่าพระ อีกทั้งยังเป็นสถานีที่เชื่อมต่อไปยังอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อข้ามไปฝั่งพระนครคือ สถานีสนามไชยอีกด้วย