×

‘แสงสีฟ้า’ นอกจากจะทำร้ายดวงตาแล้ว อาจทำให้แก่เร็วขึ้น

17.08.2022
  • LOADING...
แสงสีฟ้า

HIGHLIGHTS

  • แสงสีฟ้าเป็นแสงพลังงานสูงสุดในสเปกตรัมที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งเจ้าแสงสีฟ้าสามารถเจาะเข้าไปถึงผิวหนังชั้น ‘หนังแท้’ ได้ดีกว่าความยาวคลื่นที่มีพลังงานต่ำ 
  • ในการศึกษาพบว่าแสงสีฟ้าสามารถทำให้เกิดออกซิเจนชนิดปฏิกิริยาได้ เป็นออกซิเจนโมเลกุลที่ไม่เสถียร โดยโมเลกุลที่ไม่เสถียรเหล่านี้สามารถทำลายเซลล์ผิว ซึ่งส่งผลให้แก่เร็วขึ้น เนื่องจากไปสลายคอลลาเจนและอีลาสติน

ในยุคนี้การหลีกเลี่ยง ‘แสงสีฟ้า’ จากหน้าจอดูเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการใช้ชีวิตเกินครึ่งวันเราต่างต้องจดจ่ออยู่กับจอคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงจอโทรศัพท์ และอย่างที่ทราบกันดีว่าอันตรายจากเจ้าแสงสีฟ้านั้นได้ส่งผลโดยตรงกับดวงตา ทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมามากมาย ไม่ว่าจะทำให้ตาล้า ปวดหัว หรือทำให้หลับยากขึ้น

 

ยิ่งนานไปจำนวนเวลาที่ผู้คนใช้กับหน้าจอยิ่งเพิ่มมากขึ้น ผู้ใหญ่กว่า 43% ต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือแท็บแล็ตในการทำงาน และเด็กที่มีอายุระหว่าง 8-12 ปีในสหรัฐอเมริกา ใช้เวลา 4-6 ชั่วโมงต่อวันไปกับหน้าจอ 

 

ผู้เชี่ยวชาญเริ่มกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของแสงสีฟ้าต่อผิวหนัง และพบว่าแสงสีฟ้าได้ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งใบหน้า

 

Dr. Michele Farber จาก Schweiger Dermatology Group ในนิวยอร์กกล่าวว่า แสงสีฟ้าเป็นแสงพลังงานสูงสุดในสเปกตรัมที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งเจ้าแสงสีฟ้าสามารถเจาะเข้าไปถึงผิวหนังชั้น ‘หนังแท้’ ได้ดีกว่าความยาวคลื่นที่มีพลังงานต่ำ โดยส่วนใหญ่จะเป็นแสงที่เปล่งออกมาจากหน้าจอ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บแล็ต หรือแม้แต่โทรทัศน์

 

การวิจัยเกี่ยวกับแสงสีฟ้าและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผิวหนังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ในการศึกษาพบว่าแสงสีฟ้าสามารถทำให้เกิดออกซิเจนชนิดปฏิกิริยาได้ เป็นออกซิเจนโมเลกุลที่ไม่เสถียร โดยโมเลกุลที่ไม่เสถียรเหล่านี้สามารถทำลายเซลล์ผิว ซึ่งส่งผลให้แก่เร็วขึ้น เนื่องจากไปสลายคอลลาเจนและอีลาสติน

 

Dr. Marie Hayag แพทย์ผิวหนังด้านการแพทย์และเครื่องสำอางในนิวยอร์ก กล่าวถึงอันตรายจากแสงสีฟ้าว่าพวกมันจะไปกระตุ้นความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งอาจนำไปสู่การอักเสบและการเสื่อมสภาพของคอลลาเจน ขัดขวางการทำงานของเมลาโนไซต์ ทำให้ผิวไม่สม่ำเสมอ เกิดริ้วรอยจากคลื่นแสงเช่นเดียวกับเวลาที่อยู่กลางแดด

 

โดยวิธีการป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้าง่ายๆ อาจเริ่มจากใส่แว่นตากรองแสงสีฟ้า หากใครที่ใช้งานจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ อาจเปิดโหมดกลางคืนเพื่อลดการปล่อยแสงสีฟ้าได้ ที่สำคัญอย่าลืมทากันแดดเป็นประจำทุกวัน

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X