×

นักลงทุนคนธรรมดาบอบช้ำ! Bitcoin ร่วงต่อเนื่อง ต่ำกว่าระดับ 35,000 ดอลลาร์ ครั้งแรกในรอบ 10 เดือน

08.05.2022
  • LOADING...
Bitcoin

ตลาดคริปโตเคอร์เรนซียังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยช่วง 7 วันที่ผ่านมา มูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap) หายไปแล้วเกือบ 8% ขณะที่ Bitcoin ร่วงลงต่ำกว่าระดับ 35,000 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน

 

สำหรับนักลงทุนคนธรรมดาที่ลงทุนในตลาดคริปโตยังคงต้องพบความยากลำบากอย่างต่อเนื่องในการลงทุน เพราะในช่วง 7 วันที่ผ่านมา Market Cap ของตลาดคริปโตร่วงลงไปแล้วเกือบ 8% หรือลดลงจากระดับ 1.70 ล้านล้านดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1.57 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน

 

ในวันนี้ (8 พฤษภาคม) ราคาเหรียญคริปโตต่างๆ ยังคงร่วงลงต่อเนื่อง นำโดย Bitcoin ซึ่งเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุด ปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าระดับ 35,000 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 โดยล่าสุด ณ เวลา 10.35 น. ราคา Bitcoin เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 34,437 ดอลลาร์ ลดลง 1,555 ดอลลาร์ หรือ -4.32%

 

ส่วน Ethereum ซึ่งเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสอง ก็ปรับตัวลดลงไม่น้อยเช่นกัน ล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 2,530 ดอลลาร์ ลดลง 5.33% 

 

นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลและเทขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น หุ้นและคริปโต ซึ่งในเวลานี้สหรัฐฯ ไม่ใช่ประเทศเดียวที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน รวมถึงธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ด้วย 

 

สภาวะตลาดที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยงทำให้ตลาดคริปโตมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลง อย่างน้อยก็จนกว่าธนาคารกลางจะสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ แม้ว่าในตอนนี้ตลาดคริปโตจะไม่ได้อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นในทางเทคนิค แต่จากตัวชี้วัดแบบ On-Chain หลายๆ ตัว ยังคงบ่งบอกถึงปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของ BTC ซึ่งนี่อาจเป็นโอกาสในการซื้อและถือครองในระยะยาวได้

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดคริปโตมีความผันผวนที่สูงมาก นักลงทุนจึงควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ และกระจายความเสี่ยงในการลงทุนด้วย

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising