×

BIS เตือน รัฐบาลทั่วโลกควรขึ้นภาษี-ลดรายจ่ายไม่จำเป็น เพื่อช่วยธนาคารกลางคุมเงินเฟ้อและลดความเสี่ยงวิกฤตการเงินครั้งใหม่

26.06.2023
  • LOADING...
BIS เตือน

ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements: BIS) กล่าวว่า รัฐบาลทั่วโลกควรขึ้นภาษีหรือลดการใช้จ่ายสาธารณะ เพื่อช่วยธนาคารกลางควบคุมอัตราเงินเฟ้อและลดความเสี่ยงของวิกฤตการเงินครั้งใหม่ เนื่องจากการรัดเข็มขัดทางการคลังจะช่วยลดความจำเป็นที่ธนาคารกลางต้องคงอัตราดอกเบี้ยระดับสูงไว้เป็นเวลานาน

 

BIS ระบุอีกว่า รัฐบาลทั่วโลกกำลังทดสอบขอบเขตของสิ่งที่เรียกว่า ‘ภูมิภาคแห่งความมั่นคง’ (Region of Stability) ผ่านการใช้นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายต่อไปในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงและอัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

“การรัดเข็มขัดทางการคลัง (Fiscal Consolidation) จะเป็นการสนับสนุนการต่อสู้กับเงินเฟ้อที่สำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังช่วยลดความจำเป็นในการใช้นโยบายการเงินหรือการคงอัตราดอกเบี้ยระดับสูงไว้เป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงิน” BIS กล่าวในรายงานประจำปีที่เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (25 มิถุนายน)  

 

BIS กล่าวอีกว่า ปัจจุบันโอกาสของการเกิดวิกฤตการเงินรอบใหม่อยู่ในระดับมีนัยสำคัญ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงและยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถลดลงได้หากรัฐบาลใช้นโยบายการคลังที่รัดกุมและทำให้การคลังของประเทศแข็งแกร่งขึ้น

 

ในปีที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยที่สูงทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเงินอย่างรุนแรง โดย BIS ได้กล่าวอ้างถึงวิกฤตพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษและกองทุนบำเหน็จบำนาญเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว รวมถึงการล่มของธนาคารภูมิภาคในสหรัฐฯ และ Credit Suisse เมื่อฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา

 

เอกัสติน คาร์เตนส์ ผู้นำ BIS กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงในประเทศส่วนใหญ่ของโลก แต่ช่วงท้ายๆ มักจะเป็นเวลาที่เงินเฟ้อลดลงยากที่สุด”

 

BIS เตือนอีกว่า ในระยะยาวรัฐบาลและธนาคารกลางควรหลีกเลี่ยงการพยายามแก้ปัญหาทั้งหมดของสังคมด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

โดยที่ผ่านมาธนาคารกลางต่างๆ ได้คงอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานเกินไปในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าเป้าหมาย เป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชนก่อหนี้ก้อนใหญ่ และเพิ่มความเสี่ยงให้กับภาคการเงินในที่สุด

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X