×

รื้อตะกร้าของเล่น! สำรวจแรร์ไอเท็ม Barbie ตุ๊กตาขวัญใจเด็กสาวทั่วโลกที่ราคาพุ่งแรง

โดย THE STANDARD TEAM
14.08.2021
  • LOADING...
Barbie

ในขณะที่ธุรกิจอื่นซบเซาจากมาตรการล็อกดาวน์ในหลายๆ ประเทศ แต่ธุรกิจของเล่นกลับทำยอดขายได้มากขึ้น เพราะผู้ปกครองแห่กักตุนของเล่นให้กับลูกๆ ในช่วงที่เด็กๆ ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน โดยเฉพาะตุ๊กตาบาร์บี้มียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 16% ทำรายได้ไปถึง 4.5 หมื่นล้านบาทในปี 2020 มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา

 

บาร์บี้ถือได้ว่าเป็นตุ๊กตาที่โด่งดัง ทรงอิทธิพล และถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในแง่การสร้างมาตรฐานความงามเพียงรูปแบบเดียวให้กับเด็กสาวทั่วโลก ทั้งที่จุดเริ่มต้นมาจากความตั้งใจสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้หญิงที่เคยถูกมองว่าเป็นได้แค่แม่และเมีย 


โดย Ruth Handler ผู้ให้กำเนิดบาร์บี้เล็งเห็นว่าตุ๊กตาของเด็กผู้หญิงในยุค 50 ถ้าไม่เป็นรูปเด็กทารกก็เป็นตุ๊กตาแม่บ้าน เธอจึงคิดค้นตุ๊กตาสวมชุดว่ายน้ำ กรีดอายไลเนอร์ดำ ทาปากแดง มีให้เลือกทั้งแบบผมสีทองและน้ำตาล แล้วใส่กลยุทธ์ทางการตลาดด้วยการตั้งราคาที่ไม่แพงแต่เน้นขายเสื้อผ้าเครื่องประดับ เรียกได้ว่าเป็นตุ๊กตาสายแฟชั่นก็ว่าได้

ยุค 80-90 ถือว่าเป็นยุคทองของบาร์บี้ ภาพลักษณ์ความงามแบบสาวแคลิฟอร์เนียได้เผยแพร่ไปทั่วโลกพร้อมกับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอเมริกา ตุ๊กตาบาร์บี้กลายเป็นของเล่นขวัญใจเด็กผู้หญิงทั่วโลก ทาง Mattle บริษัทผู้ผลิตก็ขยันผลิตบาร์บี้ในคอลเล็กชันต่างๆ ให้เด็กสาวได้สะสมกัน อีกทั้งยังร่วมมือกับแบรนด์แฟชั่นชั้นนำผลิตบาร์บี้คอลเล็กชันพิเศษออกมา ไม่ว่าจะเป็น Coach, Escada, Calvin Klein, Monique Lhuillier, De Beers ฯลฯ รวมถึงทำคอลเล็กชันเฉพาะในประเทศที่คลั่งไคล้บาร์บี้อย่างญี่ปุ่น เช่นคอลเล็กชัน Trace of Lace ที่ผลิตเพียง 500 ตัว วางจำหน่ายที่ญี่ปุ่นโดยเฉพาะ, Spanish Ball Gown บาร์บี้แรร์ไอเท็มที่ปัจจุบันราคาสูงถึง 150,000 บาท เป็นต้น


ท่ามกลางความสำเร็จของบาร์บี้ตามมาด้วยคำครหาถึงการสร้างรูปแบบความงามสูงเกินเอื้อมและจำกัดอยู่แค่สาวผมบลอนด์ตาสีฟ้าเท่านั้น ตลอดระยะเวลา 62 ปี บาร์บี้ค่อยๆ พัฒนาให้มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เช่นการสร้างบารบี้ผิวดำตัวแรกในยุค 60 หรือการปรับหน้าตาให้เข้ากับภูมิภาคที่ไปวางจำหน่าย แต่ก้าวที่พลิกโฉมบาร์บี้เกิดขึ้นในปี 2016 ด้วยแนวคิด Barbie: You Can Be Anything สร้างสรรค์ตุ๊กตาที่มีใบหน้าที่แตกต่างกันถึง 14 แบบ สีผม 30 เฉด ทรงผม 24 ทรง สีตา 22 สี สีผิวที่ต่างกัน 7 สี และยังเพิ่มรูปร่างเป็น 4 แบบ คือ รูปร่างมาตรฐาน หุ่นเจ้าเนื้อ (Curvy) รูปร่างผอมบาง (Petite) และรุ่นสูงกว่าปกติ (Tall) อีกทั้งยังผลิตซีรีส์เกี่ยวกับอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นหมอ พยาบาล นักบิน นักดับเพลิง นักกีฬา ฯลฯ รวมถึงคอลเล็กชัน Role Model เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กผู้หญิงอย่างเช่นบาร์บี้ Naomi Osaka นักเทนนิสลูกครึ่งญี่ปุ่น-เฮติ, บาร์บี้ใส่ฮิญาบตามแบบนักกีฬาฟันดาบอเมริกัน Ibtihaj Muhammad และล่าสุดก็คือบาร์บี้ Sarah Gilbert หนึ่งในผู้คิดค้นวัคซีน AstraZeneca เป็นต้น ทั้งหมดก็เพื่อให้บาร์บี้เป็นตัวแทนของผู้หญิงทุกรูปแบบในโลกนี้ และตราบใดที่ความนิยมของบาร์บี้ยังคงอยู่ คอลเล็กชันแรร์ไอเท็มก็ยังจะเป็นที่ต้องการของแฟนๆ นักสะสมทั่วโลกแน่นอน 

 

 

 

ของเล่น Must Have ของเด็กสาวในยุค 90 วางจำหน่ายในปี 1995 มาในสไตล์สาวเซิร์ฟจากแคลิฟอร์เนียทางใต้ ในชุดว่ายน้ำปักเลื่อมสีน้ำเงิน ซึ่งถ้าอยู่ในแพ็กเกจแบบยังไม่เคยเปิดออกมาเล่นเลย ราคาอาจจะสูงได้ถึง 66,000 บาท

 


 

 

บาร์บี้สาวแอฟริกันอเมริกันตัวแรกๆ ของโลก ผลิตขึ้นในปี 1960 ทาลิปสติกสีส้มปะการัง เข้ากับชุดว่ายน้ำสีสันสดใส มาพร้อมกับขนตางอนงาม และผมลอนปลายสไตล์สาวผิวสี 

 


 

 

บาร์บี้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากดีไซเนอร์ผู้ล่วงลับ Karl Lagerfeld โดยนำเอาลุคที่น่าจดจำของเขามาใส่ไว้บนตัวตุ๊กตาทั้ง กระเป๋าหนัง ถุงมือไร้นิ้ว และเครื่องประดับเงิน ซึ่งถ้ายังอยู่ในกล่องไม่เคยเปิดใช้งานราคาอาจจะพุ่งไปถึง 200,000 บาท 

 


 

 

Barbie in Midnight Red เปิดตัวครั้งแรกในปี 1965 เป็นส่วนหนึ่งของคอลเล็กชันตุ๊กตา 4,000 ตัวที่ประมูลที่ Christie’s ในปี 2006 ได้รับการประมูลไปในราคา 570,000 บาท 

 


 

 

ตุ๊กตาบาร์บี้เอดิชันแรกที่วางจำหน่ายในปี 1959 มีราคาเพียง 3 ดอลลาร์ หรือประมาณร้อยกว่าบาทเท่านั้น แต่อาจทำราคาได้สูงถึง 915,000 บาทในยุคนี้ โดยในปีเดียวกันก็มีการผลิตบาร์บี้แบบเดียวกันออกมา ซึ่งถ้าอยากสังเกตว่าเป็นเอดิชันแรกหรือไม่ต้องสังเกตที่รูใต้เท้าของตุ๊กตา

 


 

 

เหตุผลที่บาร์บี้ตัวนี้แพงโดดกว่าตัวอื่น เพราะเธอใส่เครื่องประดับเพชรของจริง! เป็นผลงานการออกแบบของดีไซเนอร์เครื่องประดับชื่อดังของออสเตรเลีย Stefano Canturi โดยประดับด้วยเพชรสีชมพูออสเตรเลีย 1 กะรัต และเพชรสีขาว 3 กะรัต แล้วนำออกประมูลโดยสถาบัน Christie’s นิวยอร์ก รายได้มอบให้กับมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านม

 

ภาพประกอบ: ธิดามาศ เขียวเหลือ

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X