×

เรียนรู้วิถีนักสำรวจจากคนบ้านปูมองโกเลีย ความสำเร็จเริ่มต้นด้วย ‘แพสชันและพลังใจ’ [ADVERTORIAL]

08.12.2023
  • LOADING...
บ้านปูมองโกเลีย

เป้าหมายที่ท้าทาย และเส้นชัยที่ยังมองไม่เห็น สำหรับคนทำงานแล้ว เชื้อเพลิงชั้นดีที่ช่วยผลักดันให้มุ่งไปข้างหน้า หนึ่งในนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า ‘แพสชัน’ (Passionate)

 

ไม่นานก่อนหน้านี้ทีมงานฝ่ายบุคคลของบ้านปู (Banpu) ได้มีไอเดียที่อยากจะบอกเล่าประสบการณ์ วิถีการทำงาน และพลังงานของ ‘คนบ้านปู’ ที่ทำงานอยู่ในหลากหลายประเทศ

 

จนเกิดเป็นสารคดีที่ชื่อว่า The Stories of Banpu People (Voices of Dedication) เพื่อถ่ายทอดให้กับคนในบ้านปู รวมถึงคนภายนอก ได้รับรู้ถึงพลังของคนบ้านปูที่หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวผ่านวัฒนธรรมองค์กรที่เรียกว่า ‘บ้านปู ฮาร์ท (Banpu Heart)’ ซึ่ง ‘หัวใจ’ ที่ว่านี้ถูกสร้างขึ้นมาผ่านการทำงานอย่างมี ‘ใจรัก (Passionate) สร้างสรรค์ (Innovative) และมุ่งมั่นยืนหยัด (Committed)’

 

THE STANDARD มีโอกาสได้รับชมเนื้อหาบางตอน พูดคุยกับบางคน และอยากนำเสนอเรื่องราวบางอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับคนทำงานทั่วไป เรื่องราวที่ว่านี้แบ่งออกเป็น 4 ตอน ผ่านมุมมองและความคิดของ ‘คนบ้านปู’ ใน 4 ประเทศ คือ มองโกเลีย อินโดนีเซีย จีน และออสเตรเลีย

 

สำหรับตอนแรกเป็นเรื่องราวของคนบ้านปูมองโกเลีย ผู้คนที่มีจิตวิญญาณของความเป็น ‘นักสำรวจ’ (Explorer) อยู่ในตัว แม้ว่าโดยตำแหน่งแล้วบางคนอาจจะไม่ได้ชื่อว่าเป็นนักสำรวจก็ตาม

 

อาจเพราะงานหลักของที่นี่คือการสำรวจทรัพยากรใหม่ๆ ทำให้สิ่งที่คนบ้านปูมองโกเลียมีไม่แตกต่างกันคือ ‘แพสชัน’ และความใจสู้ ที่ช่วยให้แต่ละคนมุ่งหน้าไปสู่เส้นชัย

 

บ้านปูมองโกเลีย

 

เส้นทางสู่เป้าหมายของนักสำรวจ เริ่มต้นด้วยแพสชัน

 

แพสชันคือหนึ่งในสิ่งที่บ้านปูปลูกฝังจนเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญ ซึ่งรวมเป็นสิ่งที่เรียกว่า ‘Banpu Heart’

 

ต้องยอมรับว่างานที่มองโกเลียอาจไม่ได้สะดวกสบายไปเสียหมด ด้วยอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมที่ยากต่อการควบคุม อย่างเรื่องของสภาพอากาศที่หนาวสุดขั้วในบางช่วงเวลา และด้วยข้อมูลด้านธรณีวิทยาที่อาจจะยังมีไม่มาก ทำให้การเดินหน้าสำรวจในมองโกเลียหลายครั้งต้องใช้ใจเข้าสู้และพร้อมที่จะปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพนักงานที่ย้ายมาทำงานที่บ้านปูมองโกเลียจากต่างแดน

 

งานสำรวจที่มองโกเลียจะมีช่วงเวลาทำงานยาวกว่าในฤดูร้อน ส่วนฤดูหนาวจะเป็นการศึกษาอยู่ในอาคารเป็นหลัก เพราะอุณหภูมิในบางช่วงอาจติดลบได้ถึง 40 องศาเซลเซียส

 

บ้านปูมองโกเลีย

 

ตอนนั้น สิทธิชัย เตชาธรรมนันท์, Managing Director – บ้านปูมองโกเลีย ได้รับมอบหมายให้มาทำงานที่เหมือง TU ในมองโกเลีย

 

“ผมเดินทางมาถึงสนามบินช่วงเย็น อากาศค่อนข้างสดใส เราต้องเดินทางอีก 60-70 กิโลเมตร จากสนามบินไปที่เหมือง แต่พอขับไปได้ครึ่งทางปรากฏว่าเจอพายุหิมะ รถออกนอกเส้นทางจนไปติดหล่ม และไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ หลังจากนั้นบริษัทตัดสินใจปรับนโยบายเรื่องการเดินทางใหม่หมด โดยเฉพาะฤดูหนาวที่ต้องมีรถไปด้วยกันอย่างน้อย 2 คัน ต้องมีอุปกรณ์และเสบียงพร้อมอยู่เสมอ”

 

บ้านปูมองโกเลีย

สิทธิชัย เตชาธรรมนันท์, Managing Director – บ้านปูมองโกเลีย

 

ช่วงเวลาของการเริ่มต้น เส้นทางที่ต้องมุ่งไปมักจะไม่ได้ราบเรียบไปเสียหมด นอกจากความสามารถในการทำงานแล้ว พลังใจที่ไม่ยอมแพ้ก็เป็นหนึ่งในกุญแจแห่งความสำเร็จที่ช่วยให้บ้านปูมองโกเลียเติบโตขึ้นมา

 

Usukhbayar Jamts (Tom), Legal and Complianc – บ้านปูมองโกเลีย เล่าว่า “ย้อนไปเมื่อปี 2011 ตอนนั้นบ้านปูมองโกเลียโตเร็วมาก แต่ยังมีนักบัญชีเพียงแค่ 2 คน  จึงต้องรับผิดชอบงานหลายๆ ด้าน ถือเป็นช่วงเวลาที่เหนื่อยมากจนเกิดความรู้สึกท้อ แต่ผมพูดกับตัวเองว่านี่ยังไม่ใช่เวลาที่จะถอดใจ ผมอยากเห็นว่าเหมืองแห่งนี้จะพัฒนาไปได้แค่ไหน”​

 

บ้านปูมองโกเลีย

Usukhbayar Jamts (Tom), Legal and Compliance – บ้านปูมองโกเลีย

 

สิ่งที่ควบคู่ไปกับเป้าหมายของงานคือความห่วงใยและมิตรภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน “ผมได้พบกับคนที่ดีมากมายจากการทำงานที่บ้านปู มีอยู่วันหนึ่งที่ผมทำงานจนเลยเวลา เพราะอยากจะทำงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ แต่หัวหน้าก็เดินมาบอกผมว่าควรจะกลับบ้าน เดดไลน์นั้นไม่ได้สำคัญเกินกว่าสุขภาพของผม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกดีมาก”​ 

 

นอกจากแพสชันต่อเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ แพสชันในการเรียนรู้สิ่งใหม่ก็เป็นสิ่งที่โดดเด่นไม่แพ้กันของคนบ้านปู

 

Sergelen Narangerel (Seko), Senior Officer Assistance in Top Management – บ้านปูมองโกเลีย บอกว่า “ระหว่างการทำงานที่บ้านปูเราต้องเติมความรู้ใหม่ให้กับตัวเองอยู่เสมอ ตลอดระยะเวลาที่ทำงาน เราจะได้รับมอบหมายงานใหม่ๆ ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการพัฒนาตัวเอง อย่างความรู้ในเรื่องกฎหมาย ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากสำหรับตนเองที่ไม่เคยมีพื้นฐานด้านนี้มาก่อน”​

 

ความสำเร็จของการสำรวจเกิดขึ้นได้จากอะไร

 

ขึ้นชื่อว่าการสำรวจ หมายความว่าผลลัพธ์ในท้ายที่สุดแล้วเราอาจจะค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่เราคาดหวังไว้ หรืออาจจะไม่พบก็ได้ แต่เพื่อเพิ่มโอกาสของความสำเร็จให้มากขึ้น เราจำเป็นจะต้องใส่ ‘ใจ’ ลงไปในงานให้มากที่สุด

 

การจะทำงานสำรวจให้สำเร็จไม่ใช่แค่ความรู้ทางเทคนิค ไม่ใช่แค่เรื่องของอุปกรณ์หรือเทคโนโลยี แต่หัวใจสำคัญคือ ‘การสื่อสาร’ ในความเห็นของ ธัญญาพร จินโต, Senior Geologist – บ้านปูมองโกเลีย “ช่วงแรกที่เริ่มทำงานสำรวจในมองโกเลีย เราคิดว่าปัญหาคือการคุยภาษาอังกฤษไม่ค่อยเข้าใจ แต่ลึกๆ แล้วปัญหาคือเราไม่เริ่มคุยกันมากกว่า มีช่วงหนึ่งบริษัทรับนักธรณีวิทยาจบใหม่ชาวมองโกเลียเข้ามา 7 คน ช่วงแรกทำงานด้วยกันค่อนข้างลำบาก เพราะเรื่องของกำแพงภาษาและวัฒนธรรมการทำงาน แต่เมื่อเปิดใจคุยกันมากขึ้น ปัญหาก็ค่อยๆ คลี่คลาย”

 

บ้านปูมองโกเลีย

ธัญญาพร จินโต, Senior Geologist – บ้านปูมองโกเลีย

 

นอกจากเรื่องการสื่อสาร ประสบการณ์จากการเดินทางสำรวจทั่วประเทศมองโกเลียยังช่วยบอกอีกว่าการวางแผนคือสิ่งสำคัญ

 

“การสำรวจที่มองโกเลียต้องวางแผนอย่างดี หลายพื้นที่ถนนไม่ดี ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ เสี่ยงจะเจอพายุทราย พายุหิมะ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำงานอะไร เราจะเขียนแผนทั้งหมดออกมา เพื่อดูความเสี่ยงที่เราอาจจะต้องเจอและเตรียมรับมือ”

 

อีกปัจจัยแห่งความสำเร็จในความเห็นของธัญญาพร คือการสนับสนุนจากบ้านปู

 

“บ้านปูมองว่าพนักงานคือทรัพยากรที่สำคัญ และช่วยเทรนนิ่งทั้ง Soft Skills และ Hard Skills การทำงานกับบ้านปูมีความเป็นครอบครัวที่พร้อมรับฟังความคิดเห็นกันอยู่เสมอ ซึ่งช่วยให้เราเกิดไอเดียและนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้”​

 

ในมุมมองของ Seko เชื่อว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จของคนบ้านปูมองโกเลียมาจาก 3 ส่วน คือ ความมุ่งมั่น (Commitment) ความสามารถ (Ability) และความเข้าใจความรู้สึกของผู้ร่วมงาน (Empathy)

 

“ความมุ่งมั่นและความพยายามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับใช้เทคโนโลยีและกลยุทธ์ใหม่ๆ จะช่วยให้เราเข้าใกล้ความสำเร็จได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเราก็ต้องสื่อสารกันให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด รวมทั้งการเข้าใจอารมณ์และมุมมองของเพื่อนร่วมงาน”

 

Seko บอกว่า สิ่งหนึ่งที่เธอเห็นได้จากคนบ้านปูผ่านการทำงานร่วมกับบ้านปูมองโกเลียมาตลอด 12 ปี คือการทำงานด้วยใจ ซึ่งมาพร้อมกับความมุ่งมั่นและความสร้างสรรค์

 

“เรื่องของวัฒนธรรมการทำงาน ฉันคิดว่าคนบ้านปูแต่ละประเทศก็มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ในครอบครัวบ้านปูเรามีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน คือสิ่งที่เรียกว่า Banpu Heart ที่เป็นความเชื่อ สัญลักษณ์ และวิธีปฏิบัติ ที่เป็นเหมือนแนวทางการทำงานและเสียสละเพื่อส่วนรวมของพวกเราทุกคน”

 

บ้านปูมองโกเลีย

Sergelen Narangerel (Seko), Senior Officer Assistance in Top Management – บ้านปูมองโกเลีย

 

หัวใจนักสำรวจกับเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในทุกวัน

 

วิถีการทำงานของบ้านปู โดยเฉพาะบ้านปูมองโกเลีย มีสิ่งที่เรียกได้ว่า ‘จิตวิญญาณของนักสำรวจ’ แทรกซึมอยู่ ดำรง ชันทอง, Country Head – บ้านปูมองโกเลีย บอกว่า “ไม่มีคำว่าเส้นชัยในประวัติศาสตร์บ้านปู เส้นชัยของบ้านปูขยับไปเรื่อยๆ จากโอกาสใหม่ๆ ที่เข้ามา”

 

หากจะมองหากุญแจแห่งความสำเร็จของบ้านปูตลอดช่วงเวลาของการออกไปสำรวจและเสาะหาโอกาสที่ต่างประเทศ จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือ ‘คน’ Ulziikhutag Janchiv, Health Safety Environment and Community Development บอกว่า “ถ้าถามผมว่าคนบ้านปูเป็นคนแบบไหน คงบอกได้ผ่าน 3 คำ คือ Great Learners, Open-minded และ Supportive”​

 

บ้านปูมองโกเลีย

ดำรง ชันทอง, Country Head – บ้านปูมองโกเลีย

 

และที่สำคัญไปมากกว่านั้นคือวัฒนธรรมองค์กรของบ้านปูที่ช่วยหลอมรวมความแตกต่างจากพนักงานกว่า 6,000 คน ใน 9 ประเทศทั่วโลก ให้เป็นหนึ่งเดียว

 

นอกจากเรื่องราวของคนบ้านปูมองโกเลีย ทีมงานของบ้านปูยังได้นำเรื่องราวและพลังของคนบ้านปูจากประเทศอื่นๆ มาถ่ายทอดให้กับคนในบ้านปูได้ชมไปพร้อมๆ กัน จากงาน The Stories of Banpu People (Voices of Dedication) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเบื้องหลังความสำเร็จของบ้านปูตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ด้วยความเชื่อที่ว่าพนักงานทุกคนเป็นคนสำคัญ และช่วยให้ทุกๆ คนในองค์กร รวมทั้งคนภายนอก ได้รู้จักกับคนบ้านปูในหลากหลายแง่มุมจากหลากหลายประเทศ

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising