×

แบงก์ชาติศึกษาวิธีคุมบาทแข็ง เพิ่มโอกาสบาทอ่อนถึง 30.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

11.10.2019
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

2 MINS. READ
  • จากข่าวเมื่อวานนี้ที่แบงก์ชาติกำลังศึกษานโยบายเพื่อดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าเกินไป ส่งผลให้ค่าเงินบาทยังทรงตัวอยู่ที่ 30.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ไม่แข็งค่าขึ้นในภาวะที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง
  • จับตาการเจรจา Trade war ระหว่างจีนและสหรัฐฯ คืนนี้ หากใช้ ‘หยวน’ ต่อรองอาจทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกสิ้นปีนี้

แบงก์ชาติศึกษามาตรการคุมบาทแข็ง เพื่อโอกาสบาทอ่อนค่าแตะ 30.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

 

จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้านักกลยุทธ์ตลาดทุนสายงานธุรกิจตลาดเงินทุน ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เช้าวันนี้ (11 ตุลาคม) ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 30.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากการปิดสิ้นวันเมื่อวานนี้ 

 

ทั้งนี้แม้ค่าเงินบาทช่วงวันที่ 10 ตุลาคมจะผันผวนสูง เพราะช่วงเช้าเงินบาทแข็งค่าลึกแตะระดับ 30.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นจุดต่ำสุดใหม่ของปี แต่ช่วงบ่ายเงินบาทกลับตัวอ่อนค่าอย่างรวดเร็วทะลุ 30.44 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่ากำลังศึกษานโยบายที่จะนำมาใช้เพื่อดูแลค่าเงินที่แข็งค่าเกินไปอยู่

 

ทางธนาคารมองว่า ข่าวความเห็นของ ธปท. อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าได้ถึง 30.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันยังสร้างแนวรับทางจิตวิทยาใหม่ที่ระดับ 30.25 บาทต่อดอลลาร์ไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม มองว่ากรอบค่าเงินบาทวันนี้จะอยู่ที่ 30.38-30.48 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

 

ปัจจัยท้าทายเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่อาจทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ยังมาจากทิศทางของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนในคืนนี้ โดยนักลงทุนในตลาดยังมีความหวังว่าทั้งสองประเทศอาจหาข้อตกลงการค้าได้ หนุนให้ตลาดอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk On) 

 

แต่สถานการณ์ปัจจุบันกดดันเงินดอลลาร์สหรัฐให้อ่อนค่าลง (อาจส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น) และยังกดดันต่อตราสารหนี้ทั่วโลก (บอนด์) ล่าสุดผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (บอนด์ยีลด์สหรัฐ) อายุ 10 ปี ขยับขึ้นมาที่ระดับ 1.67% ส่วน บอนด์ยีลด์ของเยอรมนี อายุ 10 ปี พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดของเดือนนี้ที่ 0.46% และบอนด์ยีลด์ที่ปรับตัวขึ้นแรงที่สุดคือของอังกฤษ เพิ่มขึ้น 12.7 bps เป็นผลจากทั้งภาวะ Risk On และความหวังจากการเจรจา Brexit

 

แต่ในระยะยาวเชื่อว่าทิศทางนโยบายการเงินของกลุ่มธนาคารกลางใหญ่ทั่วโลกจะชี้นำตลาดได้มากกว่าการดูแลตลาดเงินและเศรษฐกิจในประเทศ 

 

ทั้งนี้ค่าเงินบาทและสกุลเงินเอเชียมีโอกาสสูงที่จะทยอยแข็งค่าในช่วงท้ายปี หากการเจรจาการค้าใช้ ‘เงินหยวน’ เป็นส่วนหนึ่งในการเจรจา Trade war หรือกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ใช้นโยบายเพิ่มขนาดงบดุล หรือ ‘QE’ 

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising