×

สรุปกรณี 6 บุคลากรทางการแพทย์ใน ASQ ติดเชื้อโควิด-19

10.12.2020
  • LOADING...
สรุปกรณี 6 บุคลากรทางการแพทย์ใน ASQ ติดเชื้อโควิด-19
  1. กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด-19 ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 มีจำนวน 6 ราย (ตรวจพบเพิ่มวันนี้ 1 ราย) ทั้งหมดเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงแรมสถานกักกันแห่งรัฐทางเลือก (ASQ) และโรงพยาบาลเอกชน แต่การแพร่เชื้ออาจเกิดขึ้นทั้งในและนอกเวลาทำงาน 

 

  1. ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นพยาบาลฟูลไทม์ของโรงพยาบาลเอกชนและ ASQ ตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563 (ทำให้ทราบว่ามีเหตุการณ์การระบาดเกิดขึ้น) เริ่มมีอาการวันที่ 3 ธันวาคม แต่จากการสอบสวนโรคพบว่าไม่ใช่ผู้ป่วยรายแรก เพราะเพื่อนเริ่มมีอาการป่วยก่อนหน้านี้

 

  1. ผู้ที่เริ่มป่วยเป็นคนแรก (ผู้ป่วยรายที่ 4) เริ่มมีอาการวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 เป็นพยาบาล Cohort Ward โรงพยาบาลเอกชน วัดไข้ผู้ป่วยโควิด-19 ทุกวัน และเข้าไปในห้องผู้ป่วยระหว่างวันที่ 24-27 พฤศจิกายน จึงน่าจะเป็นแหล่งของการติดเชื้อและแพร่เชื้อต่อให้กับรายอื่น

 

  1. ความเชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วย  
  • ผู้ป่วยบางคนปฏิบัติงานพร้อมกันใน ASQ
  • ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นรูมเมตผู้ป่วยรายที่ 4
  • ผู้ป่วยทุกรายเป็นเพื่อนกับผู้ป่วยรายที่ 1
  • ผู้ป่วยรายที่ 1-2-4 รับประทานอาหารด้วยกัน ดังนั้นการแพร่เชื้อจึงอาจเกิดขึ้นนอกเวลางานก็ได้

 

  1. ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลจำนวน 31 คนได้รับการกักกันตัว และตรวจหาเชื้อครั้งแรกวันที่ 5 ธันวาคม 2563 ทั้งหมดไม่พบเชื้อ แต่ต่อมาวันที่ 8 ธันวาคมตรวจพบเชื้อ 1 ราย (คือผู้ป่วยรายที่ 6) ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำในโรงพยาบาลซึ่งรวมผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจำนวน 745 คน ทั้งหมดไม่พบเชื้อ

 

  1. ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและต่ำในสถานที่อื่น ได้แก่ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมหอพัก ห้องสัมภาษณ์งานที่โรงพยาบาลเอกชน รวม 54 คน ทั้งหมดไม่พบเชื้อ ดังนั้นขณะนี้การระบาดในกลุ่มก้อนบุคลากรทางการแพทย์นี้จึงอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้สัมผัสใกล้ชิดเท่านั้น

 

  1. กรณีที่ผู้ป่วยรายที่ 1 มีประวัติการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในวันที่ 2 ธันวาคม 2563 คือ MRT เวลา 10.00-10.15 น. (ไทม์ไลน์ของกรมควบคุมโรคไม่ระบุสถานี) และ BTS สาทรมาสีลมเวลา 14.00-14.10 น. เป็นช่วงที่ผู้ป่วยยังไม่แสดงอาการและสวมหน้ากากตลอดเวลา

 

  1. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อคือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยในสถานที่และเวลาเดียวกันกับผู้ป่วยเท่านั้น ซึ่งถ้าสวมหน้ากากอนามัยตลอดก็จะถือเป็นผู้สัมผัส ‘เสี่ยงต่ำ’ ให้สังเกตอาการจนครบ 14 วัน หากมีอาการผิดปกติให้ไปพบแพทย์และแจ้งประวัติเสี่ยงเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19

 

เรียบเรียงจาก: การแถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยกรมควบคุมโรค วันที่ 9-10 ธันวาคม 2563

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising