×

‘ผู้หญิงเอเชีย’ ยังไร้ความเสมอภาคในที่ทำงาน และอาจใช้เวลาถึง 15 ปี จึงจะเกิดความเท่าเทียมที่แท้จริง

10.03.2023
  • LOADING...

ผลการวิเคราะห์จาก MSCI และ BofA Securities แสดงให้เห็นว่าความเสมอภาคของผู้หญิงในมิติของการมีส่วนร่วมในบอร์ดบริหารของภูมิภาคเอเชียกำลังตามหลังคู่แข่งในภูมิภาคอื่นอย่างมาก โดยพบว่าผู้หญิงเอเชียเฉลี่ยเพียง 20% เท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมบอร์ดบริหารเพิ่มขึ้นจาก 12 ปีที่แล้วเพียง 7%

 

ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในบอร์ดบริหารยังคงเป็นมาตรวัดสำคัญในการติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันทางเพศทั่วโลก

 

กลุ่มนักวิเคราะห์และนักยุทธศาสตร์ของ BofA ระบุในรายงานว่า แม้สถานการณ์ความเสมอภาคของผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิกจะมีการเติบโตเปลี่ยนแปลงที่น่าประทับใจและมีความโปร่งใสมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคแห่งนี้ก็ยังมีเรื่องที่ต้องจัดการอีกมาก เพื่อที่จะบรรลุความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง

 

รายงานชี้ว่า แม้บริษัทจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในเอเชียเปิดเผยแผนการสนับสนุนการจ้างงานระหว่างชายกับหญิงในสัดส่วนที่สมดุลกัน แต่ช่องว่างด้านค่าจ้าง การจ้างงาน และการเข้าร่วมบอร์ดบริหารระหว่างชายและหญิงยังคงมีอยู่มาก

 

Matty Zhao หนึ่งในนักวิเคราะห์ กล่าวว่า ขณะที่บริษัทต่างๆ เปิดเผยข้อมูลสัดส่วนชายหญิงในทีมผู้บริหารว่ามีผู้หญิงเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนโดยรวมของผู้หญิงในฝ่ายบริหารก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญที่ชัดเจน โดยสัดส่วนของบริษัทที่ลุกขึ้นมาสนับสนุนความหลายหลายทางเพศเพิ่มขึ้นถึง 67% แต่สัดส่วนของพนักงานหญิงในบริษัทเหล่านี้มีเพียง 35%

 

ด้านรายงาน Women on Boards ฉบับล่าสุดของดัชนี MSCI ตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะที่เอเชียมีความก้าวหน้าในด้านความโปร่งใส แต่ก็มีสถิติอื่นๆ ที่ล้าหลังกว่านานาประเทศในภูมิภาคอื่นๆ โดย Carrie Wang และ Tanya Matanda นักวิเคราะห์ของ MSCI เขียนในรายงานว่า ตลาดเอเชียส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาในการดึงดูดและรักษาการจ้างงานแรงงานผู้หญิงไว้ในภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งผู้บริหารและผู้อำนวยการ

 

ข้อมูลของ MSCI ยังชี้ว่า ในบรรดาประเทศเอเชียด้วยกันเอง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่สะท้อนให้เห็นความไม่เท่าเทียมสำหรับผู้หญิงที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง โดยสัดส่วนของตำแหน่งกรรมการทั้งหมดที่ดำรงตำแหน่งโดยผู้หญิงในปี 2022 ของเกาหลีใต้อยู่ที่ 12.8% ส่วนญี่ปุ่นอยู่ที่ 15.5% ซึ่งทั้งสองประเทศต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ MSCI World ที่อยู่ที่ 31.3% อย่างมาก

 

Chitra Hepburn หัวหน้าฝ่าย ESG & Climate เอเชียแปซิฟิกของ MSCI ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงตามหลังคู่แข่งทั่วโลกในการรับเอาหลักการความแตกต่างหลากหลายมาเป็นหลักการสำคัญสำหรับการพัฒนาทุนมนุษย์ แม้จะมีการกำหนดตำแหน่งโควตาสำหรับผู้หญิงไว้แล้วก็ตาม แต่กลายเป็นหลายประเทศที่กำหนดโควตาอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กำลังมีผู้หญิงในบอร์ดบริหารลดลง

 

พร้อมกันนี้ MSCI คาดว่าอาจต้องใช้เวลาอีก 15 ปี หรือจนถึงปี 2038 เพื่อให้ผู้หญิงได้เป็นตัวแทนที่เท่าเทียมกันในบอร์ดบริหารมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยก็มีตัวเลขที่น่าสนใจว่า ในเอเชียมีผู้หญิงที่ได้รับบทบาทผู้นำในการบริหารจัดการในระดับสูงมากขึ้นแล้ว

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising