×

ตลาดหุ้นกู้เอเชียเสี่ยงวิกฤตหนัก ยอดเบี้ยวหนี้พุ่งทำนิวไฮในรอบ 26 ปี โดนพิษปัญหาอสังหาจีนลาม

13.09.2023
  • LOADING...
หุ้นกู้

จับสัญญาณตลาดหุ้นกู้โลกเสี่ยงเข้าวิกฤต เอเชียมียอดผิดนัดชำระหนี้ Corporate Bonds พุ่ง ขึ้นแท่นอันดับ 1 ของโลกและสูงสุดในรอบ 26 ปี พี่ใหญ่จีนหนักสุดจากความเสี่ยงปัญหาหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์

 

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ออกบทความ Capital Market Snapshot ในหัวข้อเรื่อง ‘อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้ทั่วโลก เริ่มส่งสัญญาณวิกฤต?’ โดยระบุว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้เป็นอย่างมาก โดยในปี 2022 ทั่วโลกมี Default Speculative-Grade Bonds ของหุ้นกู้ (Corporate Bonds) เกิดขึ้นจำนวน 71 ครั้ง  

 

ดังนั้นทำให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้ (Default Rate) ของ Corporate Bonds เมื่อเทียบกับ Speculative-Grade Bonds ทั้งหมดของทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 1.7% ในปี 2021 เป็น 1.9% ในปี 2022 และของเอเชีย-แปซิฟิกเพิ่มขึ้นมากจาก 3.2% ในปี 2021 เป็น 6.4% ในปี 2022 

 

หุ้นกู้เอเชียเบี้ยวหนี้ ‘สูงสุดของโลก’

 

โดยในปี 2022 มูลหนี้ของ Corporate Defaults ทั่วโลกมีมากกว่า 1.07 แสนล้านดอลลาร์ และในภูมิภาคเอเชียมีมูลค่ามากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ โดยเอเชียมี Default Rate สูงสุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น อีกทั้งจำนวนการ Default ของ Bond ในเอเชียสูงสุดตั้งแต่ปี 1997 หรือในรอบประมาณ 26 ปี ซึ่งสวนทางกับทั่วโลก ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากอุตสาหกรรมอสังหาในจีน นอกจากนี้ยังพบว่าในเอเชียมีระยะเวลาเฉลี่ยที่จะผิดนัดชำระหนี้ (Average Time to Default) หุ้นกู้เร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกในทุก Rating 

 

นอกจากนี้พบข้อมูลว่าในวิกฤตเศรษฐกิจแต่ละครั้งจะมีจำนวน Corporate Default สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย โดยระหว่างช่วงปี 1981-2022 ทั่วโลกมี Corporate Default ถึงจำนวน 3,253 ครั้ง แต่ในเอเชียระหว่างปี 1993-2022 มี Corporate Default เพียง 131 ครั้ง

 

ขณะที่สิ้นเดือนสิงหาคม 2023 จากฐานข้อมูล SEC Open Data แสดงข้อมูลตราสารหนี้ของไทย ณ ปัจจุบัน พบว่ามี Investment-Grade Bond มูลค่าสูงถึง 27 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 93% ของตราสารหนี้ทั้งหมด

 

ทั้งนี้ หากแบ่งตามระยะเวลาของตราสารหนี้ สามารถแบ่งเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น 45% หรือมูลค่ากว่า 8.9 ล้านล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 55% หรือมูลค่ากว่า 10 ล้านล้านบาท

 

ขณะที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) คำนวณความน่าจะเป็นที่ตราสารหนี้ในแต่ละ Rating มีโอกาสที่จะ Default โดยที่ Rating ที่สูงกว่า BBB จะถือว่าเป็น Investment-Grade และ Rating ต่ำกว่า BBB จะถือว่าเป็น Speculative-Grade

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X